จากผลสำรวจ "สถานภาพแรงงานไทย: กรณีศึกษาผู้มีรายได้ ต่ำกว่า 15,000 บาท” ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า สถานภาพหนี้ของแรงงานไทยปี 2564 นั้น มีหนี้สินของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากปี 2562 มาอยู่ที่ 98.1% โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้จากการกู้ยืมเพื่อนำมาใช้จ่ายประจำวัน เพื่อการศึกษาและใช้หนี้บัตรเครดิต
ส่วนใหญ่มีปัญหาการผิดนัดผ่อนชำระหนี้สูงถึง 85.1% เนื่องจากขาดสภาพคล่องทางการเงินจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาระหนี้ครัวเรือนของแรงงานไทยในปีนี้ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เฉลี่ยอยู่ที่ครัวเรือนละ 205,809 บาท หรือเพิ่มขึ้น 29.56%
แน่นอนว่าในภาคอสังหาฯ ที่อยู่อาศัย บ้าน - คอนโดฯ ที่แม้จะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีวิตของผู้บริโภค แต่ก็ถือเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงก็หนีผลกระทบครั้งนี้ไม่พ้นเช่นกัน แม้จะมีความต้องการที่อยู่อาศัยจากผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ก็ตาม
ล่าสุด DDproperty’s Thailand Consumer Sentiment Study เปิดเผยผลสำรวจ ที่พบว่า มากกว่าครึ่ง (60%) ของผู้บริโภคชาวไทยที่ต้องการครอบครองที่อยู่อาศัยมองว่าอุปสรรคหลักในการเข้าถึงสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมาจากอาชีพการงานและรายได้ที่ไม่มั่นคง
ตามมาด้วยประวัติเครดิตที่ไม่ดี 45% และมีเงินดาวน์ไม่เพียงพอ 34% สะท้อนให้เห็นว่าสถานะทางการเงินที่ผันผวนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการมีบ้านของผู้บริโภคในยุคนี้ หรือหากเป็นผู้บริโภคที่มีภาระต้องผ่อนอสังหาฯ อยู่แล้วอาจจะหนักใจไม่น้อย เพราะหากผิดนัดค้างชำระก็จะส่งผลเสียผูกพันตามมา
ทั้งนี้ แนะนำ 5 วิธีการประนอมหนี้ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถประเมินสถานการณ์ทางการเงินของตนเอง และเลือกรูปแบบการประนอมหนี้ที่เหมาะสมมาใช้ได้ตรงกับสถานการณ์ที่เผชิญได้ทันท่วงที
การประนอมหนี้คืออะไร วิกฤติขนาดไหนถึงต้องเลือกใช้
การประนอมหนี้เป็นการขอเจรจาข้อตกลงเรื่องหนี้สินกับเจ้าหนี้ เช่น ลดหย่อน ผ่อนผัน และ/หรือปรับเปลี่ยนข้อตกลง เพื่อช่วยชะลอหรือหยุดการดำเนินการจากเจ้าหนี้อันเนื่องมาจากการผิดนัดชำระหนี้ เช่น ฟ้องร้องและยึดทรัพย์สิน และช่วยลดภาระในการชำระหนี้
โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ลูกหนี้กำลังตกอยู่ในสภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงินและไม่สามารถกลับมาชำระได้ปกติ โดยมีรูปแบบการประนอมหนี้ที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนี้
ข้อมูล : บทวิเคราะห์ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง