สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต./ทูตพาณิชย์) ณ เมืองฮ่องกง รายงานว่า เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2563 นาง Celia Lao Sio Wun, CEO ของสายการบิน Air Asia, สายการบิน Low Cost ชั้นนำได้ร้องขอให้รัฐบาลมาเก๊าดำเนินการเปิด Travel Bubble กับประเทศไทย ผ่านการออกอากาศทางโทรทัศน์ และรายการวิทยุ หลังจากมาเลเซียประกาศเปิดประเทศสำหรับการท่องเที่ยวในวันที่ 31 สิงหาคม 2563
นาง Lao ได้ชี้แนะว่าการเปิด Travel Bubble สามารถดำเนินการได้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของไวรัสโควิด-19 ทั้งในประเทศไทย และมาเก๊าในปัจจุบันสามารถควบคุมได้แล้ว ซึ่งสายการบิน Air Asia มีความพร้อม ในการเปิดเส้นทางการบินไปกลับ มาเก๊า - ไทย เมื่อใดก็ตามที่มาเก๊าเปิด Travel Bubble เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นเมืองยอดนิยมในการไปเที่ยวของชาวมาเก๊า
Travel Bubble คือ การเปิดการเดินทางระหว่างสองประเทศที่สามารถจัดการเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากสถานการณ์การระบาดในประเทศนั้น และความสัมพันธ์ทาง เศรษฐกิจที่มีต่อกัน โดยได้แนวคิดจากการที่นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ซึ่งทั้งคู่ใช้ชื่อการเดินทางแบบนี้ว่า “Tran-Tasman Travel Bubble” ซึ่งประชาชนจากประเทศดังกล่าวสามารถเดินทางไปมาได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องกักตัว 14 วัน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ก่อนหน้านี้ จีน รวมถึงเมืองฮ่องกง และมาเก๊า มีการหารือกับภาครัฐระดับเมืองของจีน และสำนักงานพาณิชย์ของฮ่องกง แสดงความประสงค์ที่จะหารือกับฝ่ายไทยต่อเพื่อให้เกิด Travel Bubble ระหว่างกัน แต่ฮ่องกงเกิด สถานการณ์การระบาดระลอกที่ 3 เสียก่อน รัฐบาลจีนจึงได้ระงับการดำเนินการดังกล่าวไป
อย่างไรก็ดี ในขณะนี้สายการบิน Air Asia ได้วางแผนดำเนินการเปิดเที่ยวบินระหว่าง กัวลาลัมเปอร์ - มาเก๊า อาทิตย์ละ 2 รอบ ในเดือนกันยายน 2563 เป็นต้นไป เนื่องจากมาเลเซียได้ประกาศว่าจะเปิดประเทศสำหรับการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2563 ซึ่งสายการบินคาดหวังว่ารัฐบาลมาเก๊า และไทย จะสามารถหารือร่วมกันเพื่อเปิด Travel Bubbleได้ สำเร็จ
สคต. ณ เมือง ให้ความเห็นว่า 1.จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศในเอเชีย ต้องปิดตัวลง และหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอันดับต้น ๆ คือ ธุรกิจท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม สถานที่ท่องเที่ยว สวนสนุก และสายการบิน สาเหตุหลักมาจากประชาชนไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้นั่นเอง จึงทำให้เกิดแนวคิด Travel Bubble ขึ้น
2. แผนดำเนินการ Travel Bubble นี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งประเทศที่จับคู่เดินทางกันในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว เศรษฐกิจการค้า รวมถึงด้านการขนส่ง ซึ่งจะช่วยฟื้นการท่องเที่ยวท้องถิ่นได้ แต่แม้ว่าจะทำโครงการ ใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าการเดินทางจะกลับไปเหมือนช่วงก่อนเกิดการระบาด ของไวรัสโควิด–19
3. เนื่องจากมาเก๊าไม่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่นานกว่าทุกประเทศ และสถานการณ์การระบาดในเมืองคงที่จึงทำให้รัฐบาลพิจารณาดำเนินการเปิด Travel Bubble ได้