ศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 ราชบุรี ซึ่งทำหน้าที่ดูแลด้านสุขภาพจิตใน 8 จังหวัดภาคกลางตะวันตก ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี ได้ประเมินสุขภาพจิตแบบ ACTIVE SCREENING ด้วยโปรแกรม MENTAL HEALTH CHECK IN โดยใช้วิธีสแกน QR-CODE หรือ LINK จากกรณีปัญหาการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2564 จากจำนวนผู้ประเมินทั้งหมด 26,567 ราย
ผลสำรวจพบว่า จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม 2 จังหวัด ใน 8 จังหวัดของเขตศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 ฯ คือ นครปฐมและสมุทรสาคร ประชาชนมีปัญหาสุขภาพจิตสูงมากที่สุด โดยจังหวัดนครปฐมมีปัญหาเสี่ยงซึมเศร้าสูงถึงร้อยละ 17.2 มีปัญหาความเครียดสูงถึงร้อยละ 13.59 มีปัญหาเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงถึงร้อยละ 10.6 มีปัญหาภาวะหมดไฟสูงถึงร้อยละ 10.38
ส่วนจังหวัดที่มีปัญหารองลงมาคือ สมุทรสาคร มีปัญหาเสี่ยงซึมเศร้าสูงถึงร้อยละ 13.32 มีปัญหาความเครียดสูงถึงร้อยละ 11.68 มีปัญหาเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงถึงร้อยละ 6.93 มีปัญหาภาวะหมดไฟสูงถึงร้อยละ 3.95
นอกจากนั้นข้อมูลของ 8 จังหวัดในเขตพื้นที่ศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 ณ วันที่ 16 ก.ค. 2564 เช่นกัน ได้มีการแจ้งถึงจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 45,488 คน และมีตัวเลขผู้เสียชีวิตทั้งมด 266 ราย จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสะสมสูงที่สุดคือ 1.จังหวัดสมุทรสาคร 16,767 คน 2.จังหวัดเพชรบุรี 9,992 คน 3.จังหวัดนครปฐม 8,081 คน 4.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3,765 คน 5.จังหวัดราชบุรี 2,866 คน 6.จังหวัดสุพรรณบุรี 1,700 คน 7.จังหวัดกาญจนบุรี 1,271 คน 8.จังหวัดสมุทรสงคราม 1,046 คน
ส่วนจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงที่สุดเรียงตามลำดับคือ 1.จังหวัดนครปฐม 86 ราย 2.จังหวัดสมุทรสาคร 59 ราย 3.จังหวัดราชบุรี 34 ราย 4.จังหวัดเพชรบุรี 27 ราย 5.จังหวัดสุพรรณบุรี 23 ราย 6.จังหวัดกาญจนบุรี 16 ราย 7.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 13 ราย 8.จังหวัดสมุทรสงคราม 8 ราย
นางสาวรัชวัลย์ บุญโฉม ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 ราชบุรี ได้เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ทางกรมสุขภาพจิต โดยทางศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 ฯ และสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ มีความเป็นห่วงต่อตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม และผู้เสียชีวิตในเขตพื้นที่ฯ ซึ่งมีจำนวนสูงมาก จึงได้มีแนวทางการดำเนินงานในสถานการณ์วิกฤตินี้ คือ
1.ได้คอยมอนิเตอร์และติดตาม-เฝ้าระวังปัญหาวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้น
2.จาการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ 8 จังหวัด มีปัญหาเรื่องสภาพเศรษฐกิจ ปัญหาการทำมาหากิน-เลี้ยงชีพ-ปัญหาปากท้อง ด้านผู้ติดเชื้อก็มีความกังวลเรื่องความเจ็บป่วย ในครอบครัวก็มีปัญหาเรื่องรายได้-สภาพเศรษฐกิจฝืดเคือง และกังวลกับปัญหาการติดเชื้อในครอบครัว
3.ประชาชนในเขตพื้นที่ 8 จังหวัด สามารถทำประเมินแบบ ACTIVE SCREENING ด้วยโปรแกรม MENTAL HEALTH CHECK IN โดยใช้วิธีสแกน QR-CODE หรือ LINK เข้าประเมินสุขภาพจิต แบบทราบผลทันที่ หากผู้ที่พบว่าตัวเองมีความเสี่ยง หรือมีความเครียดและมีความกังวลสูง ก็ให้กรอกเบอร์โทรฯ มือถือทิ้งไว้ จากนั้นจะมีทีมสุขภาพจิต โทรฯเข้าไปหา เพื่อให้คำปรึกษา ดูแลจิตใจ (ACTIVE COUSELLING) และเน้นการเสริมสร้างพลังใจ
4.ในช่วงสถานการณ์วิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นี้ เจ้าหน้าที่จะลงทำงานแบบเข้าถึงตัวผู้ป่วยได้ยาก จึงต้องเน้นการติดต่อทางโทรศัพท์ โดยเฉพาะการใช้สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ทำงานดูแลจิตใจ (ACTIVE COUSELLING) คอยให้คำปรึกษาประชาชนทั่วไปทางโทรศัพท์
5.หากพบว่าผู้ป่วยหรือผู้ติดต่อเข้ามาทางสายด่วนรายใดมีความเครียดสูง ก็จะมีทีมเยียวยาจิตใจ หรือทีม MCATT เข้ามารับมือ และโทรศัพท์เข้าไปให้คำปรึกษา ช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหานั้นๆ
6.ทางศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 ฯ ได้ดำเนินงานสุขภาพจิตในโรงพยาบาลสนามและสถานกักตัว เขตสุขภาพที่ 5 ระหว่างวันที่ 21 ก.ค.2564 ที่จังหวัดนครปฐม ช่วงวันที่ 22-23 ก.ค.64 ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ช่วงวันที่ 27 ก.ค.2564 ที่จังหวัดสมุทรสาคร และระหว่างวันที่ 20-29-30 ก.ค. 2564 ที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
7.นอกจากนั้น ทางศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 ฯ ยังได้ร่วมมือกับเครือข่ายสื่อมวลชนในพื้นที่ 8 จังหวัด ทั้งสื่อวิทยุ-โทรทัศน์-สื่อสิ่งพิมพ์-สื่อออนไลน์ ในการในการเผยแพร่สื่อสารความรู้สุขภาพจิตรูปแบบต่างๆ หลากหลายช่องทาง เพื่อสร้างวัคซีนชุมชนในพื้นที่ ได้แก่ สร้างวัคซีนใจ “อึด-ฮึด-สู้” สร้างวัคซีนครอบครัว สร้างวัคซีนใจในชุมชน และให้ความรู้ในการทำแบบประเมินสุขภาพใจ ACTIVE SCREENING ด้วยโปรแกรม MENTAL HEALTH CHECK IN
นางสาวรัชวัลย์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ทางกรมสุขภาพจิต ยังต้องการทำมาตรการชุมชนให้เกิดขึ้น เพื่อให้ชุมชนสามารถช่วยเหลือ-แบ่งปัน และดูแลกันเองได้ โดยให้ชุมชนมี 4 สร้าง และ 2 ใช้ คือ สร้างความปลอดภัย - ความสงบ - ความหวัง - ลดการตีตรา กับ 2 ใช้ - ใช้สัมพันธภาพของชุมชน -ใช้ศักยภาพของชุมชน