แหล่งข่าว สมาคมการค้าพืชไร่ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าได้ทำหนังสือ 3 ฉบับ ถึง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.), ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และ คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.)
เรื่อง ปริมาณการนำเข้าธัญพืชอาหารสัตว์ทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไทยสร้างอุปทานส่วนเกินในข้อสังเกตุในที่ประชุมว่าการนำเข้าวัตถุดิบทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลัก 3 ชนิด (ข้าวสาลีอาหารสัตว์ ข้าวบาร์เลย์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นำเข้า ) รวมกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศ 4.8 ล้านตัน รวมเป็น 9.03 ล้านตัน
ขณะที่อาหารสัตว์ต้องการ 8.4 ล้านตัน ทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน 0.63 ล้านตัน โดยในที่ผู้ร่วมประชุมอ้างว่าข้าวบาร์เลย์มีส่วนหนึ่งเป็นอาหารคน สมาคมการค้าพืชไร่ ขอนำเสนอข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรส่วนใหญ่ในประเทศ ดังต่อไปนี้
1.สถิตินำเข้าข้าวบาร์เลย์รายปี แสดงให้เห็นว่าช่วงปี 2556-2560 ส่วนใหญ่ใช้เป็นอาหารคนปี 2556 นำเข้าเพียง 10,441 ตัน และในปี 2557-2560 นำเข้ามาในแต่ละปีเพียง 18,770 - 22,333 ตันเท่านั้น หลังจากนั้นได้มีการนำมาใช้เพื่อผลิตอาหารสัตว์มากขึ้นในช่วง ปี 2561-ปี ปัจจุบันโดยเฉพาะในปี2563 นำเข้ามารวมถึง 793,890 ตัน ยิ่งหากมาดูเป็นฤดูกาล 63/64 จะพบว่ามากนำเข้าข้าวบาร์เลย์เข้ามาถึง 1,105,606 ตัน
2.สถิติปริมาณนำเข้าธัญพืชทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตามฤดูกาลเพาะปลูก 2563/64 แสดงให้เห็นว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศฤดูกาล2563/64 มีผลผลิต 4.806 ล้านตัน เมื่อรวมกับปริมาณวัตถุดิบทคแทนนำเข้ามาในฤดูกาลเดียวกัน 5.131 ล้านตัน ทำให้มีปริมาณวัตถุดิบอาหารสัตว์หมวดเดียวกับข้าวโพดฯ มากถึง 9.937 ล้านตัน
ขณะที่ความต้องการใช้ในฤดูกาล 2563/64 ปริมาณ 8.34 ล้านตัน ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินถึง 1.596 ล้านตัน(รวมกากข้าวโพดเข้ามาเนื่องจากคุณค่าสารสียังคงอยู่จึงใช้แทนข้าวโพดโดยตรงคำนวณอัตราส่วนการใช้) หากหักปริมาณนำเข้ากากข้าวโพดก็ยังคงมีอุปทานส่วนเกินอยู่ประมาณ 1.076 ล้านตัน
จากตารางเมื่อเทียบโปรตีนในกากข้าวโพด (DDGS) กับกากถั่วเหลืองจะพบว่าโปรตีนในกากถั่วเหลืองสูงกว่ามาก ซึ่งถ้าเทียบต้นทุนต่อเปอร์เซ็นต์โปรตีนโปรตีนจากกาถั่วเหลืองจะถูกกว่าการนำเข้ากากข้าวโพดจึงไม่ใช่เป็นแหล่งโปรดีนที่ถูกประกอบกับกากข้าวโพด (DDGS) เป็นกากขยะอุตสาหกรรมที่ได้จากข้าวโพดโดยตรงและยังคงมีสารสีที่ช่วยให้ไข่แดง
หรือเนื้อสัตว์มีคุณภาพสีที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งพาสีสังเคราะห์และ ไม่ก่อให้เกิดการตกค้างไปยังผู้บริโภคโดยตรงโรงงานผลิตอาหารสัตว์จึงมีโอกาสนำกากข้าวโพดมาเพื่อใช้ทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยตรงร่วมกับการใช้ข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์อาหารสัตว์เพื่อสร้างสีในไข่และเนื้อสัตว์แทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยใช้กากข้าวโพด 1 ตันทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ถึง 1.22 ตัน
จากเหตุผลข้างต้น การนำเข้ากากข้าวโพดย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศโดยตรง และกากข้าวโพดควรคำนวณปริมาณรวมเป็นหมวดเดียวกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
จากการที่สมาคมตั้งข้อสังเกตุการเกิดอุปทานหมวดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส่วนเกินในที่ประชุม แล้วมีผู้เข้าร่วมประชุมให้ข้อมูลว่า "ด้วยการเทียบคุณค่าทางอาหารข้าวบาร์เลย์ไม่สามารถเทียบเท่ากับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอัตราทดแทน 1:1" ได้เพื่อเป็นเหตุผลให้ต้องนำเข้าข้าวบาร์เลย์เข้ามามากขึ้นจนทำให้วัตถุดิบล้นตลาดนั้น จะเห็นว่าหากเทียบข้าวบาร์เลย์กับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
พบว่า ข้าวบาร์เลย์มีโปรตีน มากกว่า,กากใยมากกว่า,ไขมันน้อยกว่า,และให้พลังงานใกล้เคียงกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จึงไม่น่าจะเป็นเหตุผลเพียงพอกับการนำวัตถุดิบทดแทนเข้ามาจนทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินถึง 1.596 ล้านตันเพื่อเป็นการสร้างความอยู่รอด ยั่งยืน และมั่นคงของเกษตรกรผู้ปลูกธัญพืชไทย สมาคมการค้าพืชไร่ ขอให้คณะกรรมการ นบขพ.
1. กำหนดนโยบายปกป้อง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้มีการนำเข้าวัตถุดิบทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไทยทุกชนิดจนเกิดอุปทานส่วนเกิน ทำให้มีผลกระทบต่อราคาและระบบกลไกทางการค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไทยและกระทบต่อโอกาสทางอาชีพของผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และธัญพืชอาหารสัตว์ภายในประเทศได้ในระยะยาว
2. กำหนดนโยบายสนับสนุนการใช้วัตถุดิบธัญพืชอาหารสัตว์ที่ผลิตได้ภายในประเทศ อาทิ ข้าว และ มันสำปะหลัง เป็นต้น ลดการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนจากต่างประเทศ เพื่อป้องกันการนำวัตถุดิบทดแทนจากต่างประเทศมาทุ่มแย่งตลาดธัญพืชวัตถุดิบของเกษตรกรคนไทย
3. กำหนดการแยกพิกัดการนำเข้าธัญพืชอาหารสัตว์ทุกชนิดออกจากพิกัดธัญพืชสำหรับอาหารคนเพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการควบคุมการนำเข้าในอนาคต