เอกชนแจงยิบผู้ประกอบการไทยยุคโควิด ต้องควักจ่ายเรื่องอะไรบ้าง?

29 ส.ค. 2564 | 07:03 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ส.ค. 2564 | 14:38 น.

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ตอบคำถาม “ฐานเศรษฐกิจ”ภาคผลิต กาค้า ส่งออกยุคโควิด ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนหนักหนาสาหัสขนาดไหน ใครยังรับไหว ใครใกล้หมดแรง และข้อเสนอขอความช่วยเหลือจากภาครัฐมีอะไรบ้าง เพื่อให้ธุรกิจยังไปได้ต่อ ดังนี้

ทั้งนี้นายวิศิษฐ์ ได้แจกแจงรายละเอียดดังนี้    

 ทั้งนี้ค่าใช้จ่าย ต้นทุนการจัดการการแพร่ระบาดโควิด 19 ในโรงงาน

  • การจัดการการแพร่ระบาดโควิดในโรงงาน ด้วยมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการ Bubble and Seal , การทำ Factory Sand box
  • โรงงานส่วนใหญ่ที่มีความพร้อมทางการเงินปฏิบัติตามแล้ว
  • ซึ่งการดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ล้วนมีค่าใช้จ่าย และ มีต้นทุนสูง

 

  • ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการจัดการการแพร่ระบาดโควิดในโรงงาน ได้แก่

- ต้นทุนด้านการสุ่มตรวจ คัดแยกผู้ติดเชื้อโควิด ทั้งรูปแบบ RT-PCR และ ชุดตรวจ ATK มีค่าใช้จ่าย&ต้นทุนสูงในการตรวจ ซึ่งพนักงานจำนวน 500 คนมีค่าใช้จ่ายเป็นหลักแสน

-ต้นทุนด้านการจัดหาวัคซีนให้พนักงาน (แบบทางเลือก โดยผู้ประกอบการเสียเงินเอง)

 

  • ต้นทุนในการจัดทำ Bubble & Seal

-มีค่าใช้จ่ายค่ารถรับส่งพนักงาน ในการควบคุมการเดินทางของพนักงาน

- จัดสถานที่พักอาศัยให้พนักงานอยู่เพื่อควบคุมการเดินทางของพนักงาน

 

  • ต้นทุนการจัดทำโรงพยาบาล หรือ ศูนย์พักคอย สำหรับแยกผู้ป่วยติดเชื้อ

- Hospitel ค่าใช้จ่าย 1,500 บาทต่อคนต่อวัน

- Factory Isolate ค่าใช้จ่าย 7,000 – 10,000 ต่อเตียง

 

  • ต้นทุนการจัดหาสถานที่กักตัวสำหรับผู้สัมผัสผู้ป่วย

- ค่าเช่าโรงแรม State Quarantine

- หากจัดสถานที่ในโรงงาน มีค่าอุปกรณ์การนอนต่าง ๆ

 

  • ค่าใช้จ่ายอื่นๆในการดูแลพนักงาน

- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำ ค่าไฟ

- ค่าอาหาร ประมาณ 300 บาทต่อคนต่อวัน

- ค่ายา อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์อื่น ๆ ค่าใช้จ่าย

- ค่ากำจัดขยะติดเชื้อ

 

  • มาตรการที่โรงงานจัดทำเพื่อจัดการการแพร่ระบาดโควิด-19 มีค่าใช้จ่ายที่โรงงานต้องแบกรับเพิ่ม
  • รัฐควรเข้ามาช่วยสนับสนุนในด้านการเงิน
  • ตามคาดการณ์ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การจัดทำมาตรการตามโครงการ Factory Sandbox รัฐควรสนับสนุนงบประมาณประมาณ 5,000 ล้านบาท

 

เอกชนแจงยิบผู้ประกอบการไทยยุคโควิด ต้องควักจ่ายเรื่องอะไรบ้าง?

 

 

 

มาตรการการจัดการการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงงาน

  • แนวทางออกของปัญหาที่สำคัญคือการได้รับวัคซีน
  • ผู้ประกอบการบางส่วนจึงจัดสรรหาวัคซีนทางเลือกให้พนักงาน โดยค่าใช้จ่าย ต้นทุนสูง
  • การจัดสรรวัคซีนควรเป็นหน้าที่ของรัฐ เช่น  จัดสรร ผ่าน ม.33 เนื่องจาก พนักงานทุกคนมีการทำประกันสังคม

 

  • มาตรการ Bubble & Seal

-เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน

- Bubble คือ ควบคุมเส้นทางการเดินทางจากโรงงานไปที่พัก-ที่พักไปโรงงาน

- Seal คือ ควบคุมพนักงานไม่ให้ออกนอกพื้นที่โรงงาน

 

เอกชนแจงยิบผู้ประกอบการไทยยุคโควิด ต้องควักจ่ายเรื่องอะไรบ้าง?

 

  • โครงการนำร่องการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox)

มีแผนการดำเนิน 4 ขั้นตอน

 1. ตรวจดำเนินการตรวจคัดกรองด้วย RT-PCR 100% เพื่อแยกคนป่วยไปรักษาทันทีและดำเนินการตรวจ Self-ATK ทุกสัปดาห์ ·

 2. จัดให้มี FAI, Hospitel, โรงพยาบาลสนาม และ ICU สำหรับผู้ป่วย เขียว เหลือง และแดง

 

3.ดำเนินการฉีดวัคซีนให้แรงงานโดยเน้นกลุ่ม 7 โรคเสี่ยง ออกใบรับรอง “โรงงานสีฟ้า” เพื่อสร้าง ความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน

 4. ควบคุมการแพร่ระบาดโดยดำเนินการตามมาตรการ Bubble and seal และ DMHTT

 

ทั้งนี้ Factory Sand box เป็นโครงการที่ดี แต่รัฐควรสนับสนุนและเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการ  โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก หากไม่มีความพร้อมทางการเงิน การทำมาตรการจะเป็นไปได้ยาก

 

ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

  • การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในสถานประกอบการ(FAI)

-โรงงานหรือสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป หรือมีกำลังเครื่องจักรตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป ควรหรือต้องจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อแยกกักผู้ติดเชื้อโควิด-19 ภายในโรงงาน

  • Company isolation &Factory isolation

-การแยกกักตัวผู้ติดเชื้อในสถานที่ทำงาน หรือโรงงาน

-โดยต้องเฝ้าระวังอาการผู้ติดเชื้อ

-ต้องมีมาตรการดูแลผู้ติดเชื้อ

 

 

ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

มาตรการต่าง ๆ ข้างต้นเป็นมาตรการบังคับ หรือ ผู้ประกอบการปฏิบัติเตรียมการเอง

  • มาตรการบังคับ ขึ้นอยู่กับคำสั่งของจังหวัดนั้น ๆ

-โดยให้ผู้ประกอบการติดตามสถานการณ์และมาตรการของจังหวัดอย่างใกล้ชิด

  • ตัวอย่างมาตรการคำสั่งจังหวัดสมุทรสาคร เช่น

- มาตรการงดการเดินทางเข้าออกจังหวัดสมุทรสาคร เว้นแต่มีความจำเป็นให้แจ้งเจ้าหน้าที่

- โรงงานหรือสถานประกอบการที่มีพนักงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป หรือมีกำลังเครื่องจักรตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไปต้องจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อแยกกักผู้ติดเชื้อโควิด-19 ภายในโรงงาน (Factory Accommodation Isolation: FAI)

-โดยจะต้องมีจำนวนเตียงไม่น้อยกว่า 10 % ของจำนวนพนักงาน และต้องเพียงพอต่อการแยกกักตัว

-ซึ่งต้องจัดตั้งให้เสร็จภายใน 30 กรกฎาคม 2564  หากพบว่าโรงงานใดหรือสถานประกอบการใดดำเนินการไม่แล้วเสร็จในระยะเวลากำหนด ให้เสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเพื่อพิจารณาปิดโรงงาน สถานประกอบการทันที

 

  • มาตรการที่ผู้ประกอบการปฏิบัติเตรียมการเอง เช่น

-สำหรับโรงงานที่มีการแพร่ระบาดโควิดในโรงงาน  ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะปฏิบัติตามแนวทาง Bubble and Seal เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโควิด

- จัดให้มีการการสุ่มคัดแยกผู้ติดเชื้อโดยการตรวจด้วยชุดตรวจ ATK ทุกสัปดาห์

-จัดทำ Factory Isolate , Factory Quarantine

-จัดหาสถานที่ให้ผู้ติดเชื้อ และ ผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อ เช่น Hospitel Community Isolation เป็นต้น 

 

  • มาตรการที่มิใช่มาตรการบังคับจากคำสั่งจังหวัด

-จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละโรงงาน

- ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ประกอบการแต่ละโรงงานนั้น ๆ

 

เอกชนแจงยิบผู้ประกอบการไทยยุคโควิด ต้องควักจ่ายเรื่องอะไรบ้าง?

 

มาตรการใดบ้างที่ภาครัฐช่วยเหลือด้านการเงิน

- ปัจจุบันรัฐยังไม่ได้มีบทบาทเข้ามาสนับสนุนในด้านงบประมาณ การเงิน เพื่อสนับสนุนมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแพร่ระบาดโควิดในโรงงาน

-ปัจจุบันรัฐมีให้ผู้ประกอบการลงทะเบียนเพื่อขอวัคซีนผ่าน ม.33

-การจัดสรรวัคซีนในปัจจุบันยังไม่ทั่วถึงพนักงานทุกคนในโรงงาน

  • ค่าใช้จ่าย หรือ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดในโรงงาน
  • ค่าอาหารและค่ายาสำหรับพนักงานคิดเป็นค่าใช้จ่ายที่มีสัดส่วนมากที่สุด

 

  • เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่คิดต่อจำนวนพนักงาน และต้องจ่ายทุกวัน เช่น

- ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายประมาณ 200-300 บาทต่อวันต่อคน

- ค่ายา อุปกรณ์การแพทย์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000-20,000 ต่อคน ต่อ 14 วัน ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย

 - ต้นทุนการจัดทำ FAI  มีค่าใช้จ่ายสูง 7,000 – 10,000 บาทต่อเตียง

- ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงมีค่าใช้จ่ายในการสร้างถึงหลักล้าน ขึ้นอยู่กับจำนวนพนักงาน ข้อดีคือสามารถใช้ซ้ำได้

 

  • ผลกระทบของผู้ประกอบการ

1. ต้นทุนในการจัดทำมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด ในโรงงานมีค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่สูง

2. การจัดหาสินค้าที่จำเป็นในการจัดทำมาตรการ เช่นสินค้า ยา อุปกรณ์การแพทย์ ชุดตรวจ ให้ได้เพียงพอต่อ ปริมาณพนักงานเป็นเรื่องยาก

3.การขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์ในการเข้ามาดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในโรงงาน

 

4.การขาดแคลนแรงงานเนื่องจากมีการแพร่ระบาดโควิด ในโรงงาน

5.กำลังการผลิตสินค้าลดลงเนื่องจากการขาดแคลนแรงงาน

6. อาจทำให้การส่งมอบสินค้าเกิดความล่าช้าและอาจถูกปรับได้

 

7.บางโรงงานถูกสั่งปิดทำให้เสียรายได้แต่ผู้ประกอบการยังคงมีค่าใช้จ่าย fixed cost เช่นค่าจ้างพนักงานและยังคง ต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ธนาคาร

8.ต้นทุนในการผลิตจากการทำมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด ในโรงงานเพิ่มสูงขึ้นแต่การปรับราคาสินค้า บางรายการอาจไม่สามารถทำได้ทันทีเนื่องจากเป็นสินค้าที่กรมการค้าภายในมีการควบคุมราคาสินค้า

 

 9.สถานการณ์ทางการค้าปัจจุบัน ต่อต้นทุนวัตถุดิบที่มีการปรับราคาสูงขึ้นเช่นค่าระวางเรือ ค่าตู้คอนเทนเนอร์ ค่าบรรจุภัณฑ์โลหะกระป๋อง และ วัตถุดิบอื่น ๆ เมื่อรวมกับต้นทุนในการทำมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด ในโรงงานที่คิดเป็นต้นทุนที่สูง จะส่งผลต่อผู้ประกอบการที่มีความพร้อมทางการเงินไม่เพียงพอ เช่น ผู้ประกอบการ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก อาจทำให้ขาดทุนและปิดกิจการได้

 

  • ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ต่อภาครัฐ

1.ขอให้รัฐเข้ามาสนับสนุนในเรื่องงบประมาณการเงินที่เกี่ยวกับมาตรการการทำ Bubble and seal หรือมาตรการ ที่อยู่ในข้อกำหนดโครงการ Factory sandbox

2. ขอให้รัฐเร่งหาวัคซีนและจัดสรรกระจายสู่พนักงานในโรงงานให้ได้ 100%

 

3.ขอให้เสนอผลกระทบและค่าใช้จ่ายในการทำมาตรการเพื่อให้รัฐเข้าใจถึงอุปสรรคในการดำเนินตามมาตรการ

4.เพื่อให้รัฐหาแนวทางเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการก่อนออกมาตรการได้

5.เสนอให้รัฐออกมาตรการคำสั่งของจังหวัดในแต่ละจังหวัดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

6.ให้รัฐช่วยสนับสนุนจัดหาสินค้าที่จำเป็นต่อมาตรการเช่นยา อุปกรณ์การแพทย์วัคซีน ชุดตรวจ ATK เป็นต้น

7. เสนอให้รัฐช่วยจัดสรรหารายชื่อผู้ผลิตสินค้าที่จำเป็น เพื่อให้ง่ายต่อการเตรียมการทำตามมาตรการโดยอาจให้มีการทำข้อตกลงในการซื้อสินค้ารวมกลุ่มกันในหลาย ๆ โรงงานเพื่อให้ได้สินค้าในราคาที่ถูกลง