หอการค้าฯ เสนอ 6 มาตรการเร่งด่วน แก้ปัญหาแรงงานไทย-ต่างชาติ

25 ส.ค. 2564 | 08:30 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ส.ค. 2564 | 15:39 น.

หอการค้าฯเสนอรัฐ 6 มาตรการเร่งด่วน แก้ปัญหาแรงงานไทย-ต่างชาติช่วงวิกฤติโควิด จีรัฐเร่งฉีดวัคซีนแรงงานที่มีมากกว่า10ล้านคน ทั้งในระบบและนอกระบบ หวั่นกระทบภาคการผลิตหากล่าช้าในการฉีดวัคซีน

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า ประเทศไทยได้เผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มาเป็นเวลานาน และมีสถิติตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20,000 คน/วัน ซึ่งหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศจากการล็อกดาวน์ รวมถึงผลจากการระลอกที่ 3 และระลอกที่ 4 จากเดือน ม.ค.-ส.ค. 64 จะมีมูลค่าประมาณ 8 แสน ถึง 1 ล้านล้านบาท ซึ่งหากประเทศไทยต้องมีการขยายการล็อกดาวน์ต่อไป อาจส่งผลกระทบเกิน 1 ล้านล้านบาทสำหรับปีนี้ ซึ่งจะทำให้ GDP ปี 64 มีโอกาสติดลบ -1.5 ถึง 0%

หอการค้าฯ เสนอ 6 มาตรการเร่งด่วน  แก้ปัญหาแรงงานไทย-ต่างชาติ

ทั้งนี้ แม้กระทรวงแรงงานจะมีมาตรการเยียวยาดูแลประชาชน ผู้ประกันตน และสถานประกอบการอย่างต่อเนื่องแล้ว หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ยังมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ปัจจุบันถึงการดูแลทั้งแรงงานไทย และแรงงานต่างชาติ ในกลุ่มคลัสเตอร์ผู้ประกอบการโรงงานทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งเป็นคลัสเตอร์ผู้ประกอบการโรงงาน ต้องยอมรับว่าเป็นเครื่องจักรสำคัญของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ทั้งภาคการส่งออก ภาคการผลิต การแปรรูปสินค้าวัตถุดิบในประเทศ ซึ่งยังได้รับการจัดการที่ล่าช้า

โดยหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเสนอมาตรการด้านแรงงานในสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันเป็นการเร่งด่วน 6 มาตรการ ดังนี้   1.มาตรการเร่งรัดการจัดสรรวัคซีนให้กับลูกจ้างผู้ประกันตนอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะพื้นที่สีแดง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไปในจังหวัดใกล้เคียงและควบคุมตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไม่ให้มีจำนวนสูงมากไปกว่าสถานการณ์ปัจจุบัน  ซึ่งเรื่องการฉีดวัคซีนและกระจายวัคซันถือเป็นประเด็นใหฯญ่ที่ภาครัฐต้องเร่งจัดสรร เพราะ ปัจจุบันแรงงานที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนมีเพียง2.5ล้านโดสเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อแรงงานที่อยู่ในไทย ทั้งในระบบและนอกระบบ และคนต่างชาติ เพราะแค่แรงงานในมาตรการ33 ก็มี11ล้านคน ดังนั้นภาคเอกชนกังวลว่าหากภาครัฐยังไม่เร่งจัดสรรวัคซันมายังคนกลุ่มนี้อาจจะกระทบต่อภาคการผลิตได้ทั้งในประเทศและการส่งออก ดังนั้นภาคเอกชนหวังว่ารัฐบาล กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งจัดสรรวัคซีนมาให้แรงงานอย่างเพียงพอเพื่อลดการแพร่ระบาดในโรงงานต่างๆ

หอการค้าฯ เสนอ 6 มาตรการเร่งด่วน  แก้ปัญหาแรงงานไทย-ต่างชาติ

2. การสนับสนุนโครงการ Factory Sandbox อย่างต่อเนื่อง โดยต้องเร่งขับเคลื่อนจับคู่ระหว่างสถานประกอบกิจการ โรงพยาบาล และภาครัฐในพื้นที่ ภายใต้แนวคิด "ตรวจ รักษา ควบคุม ดูแล" ซึ่งมีการนำร่องแล้วในจังหวัดสมุทรสาคร   3. เร่งรัดการจัดหาเตียงสำหรับผู้ประกันตนและในกลุ่มแรงงานที่ติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะเตียงสีเหลือง และเตียงสีแดง เพื่อรองรับผู้ป่วยอาการหนัก

4. จัดสรรวัคซีนให้เข้าถึงกลุ่มแรงงานทุกภาคส่วน ทั้งที่ไม่ใช่ผู้ประกันตนมาตรา 33 เช่น แรงงานต่างชาติที่อยู่นอกระบบ หรือเข้ามาทำงานโดยผิดกฎหมายมีจำนวนกว่า 1 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรวัคซีน รวมทั้งแรงงานกลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานสิ้นสุดลง และยังไม่ได้ต่ออายุ  

5. ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้ผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ จำนวน 1.3 ล้านคน ให้สามารถทำงานต่อในราชอาณาจักรไทยได้นั้น จึงขอให้เร่งดำเนินการจัดสรรวัคซีน และจับคู่งานกับนายจ้าง (Matching) เพื่อให้เข้าสู่ระบบโดยเร็ว

และ6. จัดตั้ง Team Thailand เพื่อศึกษาแนวทางการนำเข้า และบริหารจัดการแรงงานต่างชาติใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นจำนวน 500,000 คน และศึกษาแนวทางการนำเข้าแรงงานต่างชาติ MOU แบบบูรณาการตามมาตรการของสาธารณสุข

หอการค้าฯ เสนอ 6 มาตรการเร่งด่วน  แก้ปัญหาแรงงานไทย-ต่างชาติ

ด้านนายวิบูลย์ สุภัครพงษ์กุล รองประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า ความร่วมมือในการผลักดันมาตรการแรงงานกับสถานการณ์การโควิด-19 ที่หอการค้าไทยแ ละสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยร่วมกับกระทรวงแรงงาน ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น มาตรการฉีดวัคซีนให้ผู้ประกันตน โดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กำหนดแนวทางดำเนินการเพื่อเร่งรัดให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงและได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วน   ,มาตรการตรวจคัดกรองเชิงรุก  ,มาตรการเยียวยาผู้ประกันตน , มาตรการบริหารจัดการช่วยเหลือสนับสนุนแรงงานต่างชาติ

หอการค้าฯ เสนอ 6 มาตรการเร่งด่วน  แก้ปัญหาแรงงานไทย-ต่างชาติ

ด้านนายผณิศวร ชำนาญเวช นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้มีการดำเนินโครงการนำร่อง Factory Sandbox ที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นแห่งแรก ซึ่งอยู่ในพื้นที่สีแดง และมีโรงงานตั้งอยู่เป็นจำนวนมากโดยขณะนี้ได้มีการลงนามความร่วมมือกับทั้ง 15 บริษัทในจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อดำเนินโครงการภายใต้แนวคิด ตรวจ รักษา ควบคุม ดูแล คือจะทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในโรงงานที่มีพนักงานจำนวน 500 คนขึ้นไป โดยหากพบเชื้อจะทำการรักษาแบ่งเป็น 3 ระดับตามอาการ คือสีเขียว สีเหลือง และสีแดง นอกจากนี้จะมีการป้องกัน และควบคุมโรคโดยการทำ Bubble and Seal ถ้าไม่พบเชื้อแล้วจะจัดกลุ่มตามความเสี่ยง และประเมินความเสี่ยงของพนักงานทุกวันรวมทั้งจะมีการสุ่มตรวจด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kid (ATK) ทุก 7 วัน สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจะให้ทำการแยกกักตัว และจัดให้มี Factory Quarantine โดยจะประเมินความเสี่ยงของพนักงานทุกวันเช่นกัน และจัดกลุ่มให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงทำงานด้วยกัน (Bubble) ส่วนการดูแลสถานประกอบการ จะต้องฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคเรื้อรัง สตรีตั้งครรภ์ และอื่นๆ เพื่อที่โรงงานนั้นๆ จะได้ใบรับรอง โรงงานสีฟ้า