ม.ล.คฑาทอง ทองใหญ่ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ เปิดเผยว่า เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถปรับตัวและพัฒนาธุรกิจให้ก้าวทันการแข่งขันในตลาดโลกท่ามกลางวิกฤติโควิด-19และ พฤติกรรมผู้บรโภคที่เปลี่ยนไป การใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและการตลาดดิจิทัลจะเป็นหนึ่งในเครื่องที่จะสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนันเพื่อให้ผุ้ประกอบการไทยสามารถไปยืนในตลาดโลกได้อย่างเข้มแข็ง กรมฯจัด จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และผลักดันสินค้าภายใต้ แบรนด์ไทยที่มีคุณภาพ T Mark ในการบุกตลาดจีนและอาเซียนอย่างเวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์
โดยเฉพาะการเจาะตลาดออนไลน์ผ่าน KOLs ในแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ อย่าง เถาเป่า จิงตง เฟสบุ๊ค ช้อปปี้ และลาซาด้า ซึ่งจะเป็นการเปิดตลาดใหม่ให้กับสมาชิก T Mark ในประเทศจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งมีความต้องการสินค้าคุณภาพจากไทยได้เพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งตลาดอาเซียนและตลาดจีน ถือเป็นตลาดที่เป็นคู่ค้าสำคัญของประเทศไทย
ด้าน.ส.ประอรนุช ประนุช ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าว จะประชาสัมพันธ์และส่งเสริมกระตุ้นยอดขายให้กับผู้ประกอบการสมาชิก T Mark จำนวน 25 ราย และสินค้ารวมกว่า 66 SKUs โดยในตลาดจีน มีการส่งเสริมการขายผ่านการไลฟ์สด โดย KOLs จำนวน 4 ราย ซึ่งแต่ละรายมีผู้ติดตามรวมทุกช่องทางมากกว่า 4 ล้านคน
โดยไลฟ์สดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ยอดนิยมเถาเป่า (Taobao) และจิงตง (JD) รวมสินค้ากว่า 39 SKUs ซึ่งการ Live-streaming ในกลุ่มประเทศอาเซียน จะจัดขึ้นในวันที่ 8 กันยายน ภายใต้ธีม 8.9 และประเทศจีน ในวันที่ 9 กันยายน ภายใต้ธีม 9.9 ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลชอปปิง คาดว่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายของสินค้า T Mark ให้มากขึ้นในประเทศนั้น ๆ และตลอดทั้งกิจกรรม ประมาณการยอดผู้เข้าชมไลฟ์สด (Impression/Viewers) ไม่น้อยกว่า 40 ล้านครั้ง และคาดว่าว่ามูลค่าการขายทันทีภายในหนึ่งชั่วโมง ณ ช่วงเวลานั้นจะไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท และหลังจากนั้นภายใน 1 เดือน คาดการณ์ว่าจะเกิดยอดขาย ไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท
ทั้งนี้ผู้ประกอบการสมาชิก T Mark ที่เข้าร่วม 25 ราย ได้การสร้างมูลค่าการส่งออกให้กับประเทศไทยในครึ่งปีแรกที่ 4,355 ล้านบาท โดยหวังว่าภายหลังจากกิจกรรมนี้ จะทำยอดขายในตลาดเป้าหมายเพิ่มขึ้น 10 – 20% และช่วยกระตุ้นการสั่งซื้อจากคู่ค้าเพิ่มขึ้น อีกทั้งเป็นหนึ่งกิจกรรมที่เพิ่มมูลค่าการส่งออกในช่วงวิกฤติโควิด 19 ซึ่งจะช่วยพลิกสถานการณ์การส่งออกให้ทะยานขึ้นแตะ 9,000 ล้านบาท ในช่วงสิ้นปี 2564