เดินหน้า “ 5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย”ปฏิรูปภาคเกษตร

27 ก.ย. 2564 | 10:45 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ก.ย. 2564 | 17:45 น.

“อลงกรณ์”ขับเคลื่อน นโยบาย เดินหน้า “ 5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ปฏิรูปภาคเกษตร ชูจุดเปลี่ยนด้วยเทคโนโลยีหวังพลิกโฉมเกษตรประเทศไทย 77 จังหวัด

อลงกรณ์ พลบุตร

 

วันนี้(27 ก.ย. 64) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมแห่งชาติ (Agritech and Innovation Center : AIC)  เผยถึงการจัดทำแผนเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม ปีงบประมาณ 2564 และ 2565 ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือโดยศูนย์ AIC เชียงใหม่ แผนจังหวัดชลบุรี การขับเคลื่อนโครงการตลาดกลางสินค้าเกษตรเพชรบุรีโมเดล

 

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ การนำเสนองานวิจัยด้านการเกษตรของสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ที่เชื่อมโยงสู่ศูนย์ AIC และนำไปใช้ประโยชน์ สรุปผลการดำเนินงานขับเคลื่อนศูนย์ AIC ผลการสำรวจการรวบรวมข้อมูลปุ๋ย ข้าว สมุนไพร และโปรตีนทางเลือก ผลการสำรวจการคัดเลือกนวัตกรรมที่มีศักยภาพและความพร้อมที่จะดำเนินการทางด้านธุรกิจ

 

กรอบงานวิจัยปี 2565

 

ทั้งนี้นายอลงกรณ์  ได้เน้นย้ำถึง การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 4 คณะภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0 ให้เกิดความชัดเจนเชิงโครงสร้างระบบ ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด เน้นการทำงานที่รวดเร็ว และการนำไปใช้ประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน ให้แก่ เกษตรกร ภาครัฐ ภาคเอกชน เชื่อมโยงกลไกการขับเคลื่อนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ขยายผลจากโครงการนำร่องสู่แพลตฟอร์มทั่วประเทศ(Pilot 2 Platform)ในการดำเนินงานต่อไป

 

พร้อมทั้งมอบ แนวทางการขับเคลื่อนฯ ตามยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 เพื่อการบริหารราชการแผ่นดินการบริการประชาชนและการพัฒนาภาคเกษตรกรรมโดยการใช้เทคโนโลยีตลอดห่วงโซ่อุปทานและมูลค่า(Supply-Value Chain) ตั้งแต่การผลิต การแปรรูปจนถึงการตลาดตาม5ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร

 

ตรวจสอบย้อนกลับ

นอกจากนี้ นายอลงกรณ์ ยังได้มอบหมายการทำงานในปีที่2ของศูนย์AIC โดยมี 16 วาระสำคัญที่เรียกว่า "วาระคานงัด" (Transformation Agenda) สร้างจุดเปลี่ยนมุ่งถ่ายทอด ต่อยอด เชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม เพื่อดำเนินการดังนี้

 

 1. คุณภาพและมาตรฐานเกษตร GAP GMP Organic Fair Trade

 2. ระบบตรวจสอบย้อนกลับ

 3. ระบบคิวอาร์โค้ดเกษตรกรและฟาร์มQR code Farm & Farmer

 4. ระบบศูนย์ข้อมูลและรัฐบาลเทคโนโลยี(Big Data & GovTech)จังหวัด & กลุ่มจังหวัด บริหาร&บริการ

 5. ตลาดกลางสินค้าเกษตรออนไลน์และออฟไลน์(Online Offline)

 6. โครงการ 1 จังหวัด 1 Startup & SMEเกษตร (อย่างน้อย) > Hachkaton

 7. โครงการ1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร(ศูนย์เกษตรอุตสาหกรรมอาหารครบวงจร)

 

ขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ

 

 8. โครงการเกษตรแม่นยำ 2 ล้านไร่ เฟส 3 ผลไม้

 9. โครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง(Urban Farming)และโครงการธนาคารสีเขียว(Green Bank)

 10. โครงการชลประทานชุมชน

 11.  3 Zero Zero Kilometer Zero Waste Zero Food

 12. อาหารแห่งอนาคต เกษตรแห่งอนาคต(Future Food Future Crop)เช่นโปรตีนทางเลือกใหม่ สมุนไพร ไข่น้ำ

 13. โครงการวิจัย & พัฒนาในจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

 14. แผนเกษตรอัจฉริยะปี 65-70 และแผนงานตามงบประมาณปี 2566

 15. โครงการเครื่องจักรกลเกษตร(Machinelization Policy)แปลงใหญ่

 16. การถ่ายทอด ต่อยอด เชื่อมโยง ร่วมมือ พัฒนา โดยการขับเคลื่อนภายใต้กลไกต่างๆ

 

 

เช่น กลไกของกระทรวง  กลไกของคณะกรรมการชุดต่างๆเช่นคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) ,คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0,คณะกรรมการพัฒนาโลจิสติกส์เกษตร ฯลฯ

2.กลไกในลักษณะกึ่งราชการ เช่น ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ Young Smart Farmer อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น

3.กลไกภาคเกษตรกร

4.กลไกภาคเอกชน

5.กลไกขององค์กรระหว่างประเทศ

เพื่อการขับเคลื่อนและพัฒนา บูรณาการ ทั้งระบบภาคการเกษตรไทยต่อไปรวมทั้งให้มีการตั้งทีมฑูตAIC( AIC Ambassador )เดินสายเยี่ยมเยือน สื่อสารประชาสัมพันธ์ของAICในแต่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดด้วย