จับตา “สถานการณ์น้ำ-เขื่อน” รับมือ “พายุฝน”

22 ต.ค. 2564 | 20:00 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ต.ค. 2564 | 00:42 น.

อัพเดท สถานการณ์น้ำ-เขื่อน รับมือพายุลูกใหม่ เข้าอีสาน- กลาง-เหนือ แต่ละแห่งมีปริมาณน้ำเท่าไร? ที่ไหนเก็บกักน้ำวิกฤติน้ำทะลักเกินเกณฑ์ "เสรี ศุภราทิตย์” เตือน กระทุ้งรัฐ คลอดแผนรับมือพายุ ด่วนที่สุด

"กรมอุตุนิยมวิทยา" มีการคาดการณ์ พายุลูกใหม่ เข้าไทย ในวันที่ 28 ตุลาคม 2564 เส้นทางพายุ จะเข้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และไปสลายตัวที่ภาคเหนือ นั้นสถานการณ์น้ำ เขื่อน อ่าง แต่ละแห่งมีปริมาณน้ำเท่าไร ที่ไหนบ้างเกินวิกฤติน้ำทะลักเกินเกณฑ์

 

คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติมีรายงานปริมาณเชื่อนขนาดใหญ่ ที่เฝ้าระวัง "ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ"  เขื่อนอุบลรัตน์ (107%),เขื่อนลำตะคอง (102%) ,เขื่อนลำพระเพลิง (101%),เขื่อนจุฬาภรณ์ (101%)

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

"ภาคกลาง" มี 3 เขื่อน  ได้แก่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (106),เขื่อนทับเสลา (103%) ,เขื่อนกระเสียว (101%)  และภาคเหนือ ได้แก่ เขื่อนแม่มอก (104%),เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน (101%)

 

ภาคกลาง

 

นอกจากนั้นในส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน  ในส่วนของเส้นทางพายุ เส้นทางพายุจะเข้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และไปสลายตัวที่ภาคเหนือ มีจำนวนอ่างขนาดกลาง 113 อ่าง (>100%)

 

อัพเดทสถานการณ์น้ำขนาดกลาง

ดร.วัฒนา กันบัว

ดร.วัฒนา กันบัว ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาระบบงานการพยากรณ์อุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา ไลฟ์สด ผ่านเพจเฟซบุ๊ก  Thai Marine Meteorological Center  ตัวที่จะช่วยลดความรุนแรงของพายุได้ ก็คือ ความกดอากาศสูงลงมา จะทำให้พายุลูกนี้ตายเร็ว แต่เส้นทางพายุลูกนี้ที่เข้ามานี้ มาช่วงที่ความกดอากาศสูงในประเทศไทยไม่แรงจริง จึงเป็นเหตุให้พายุเปลี่ยนทิศทางได้ คราวนี้ภาคตะวันออก รอด แต่อย่าประมาท ต้องติดตาม

 

พายุก่อตัว

 

“อย่าเครียด อยากให้มีสติ สมาธิ ปัญญา ผมเชื่อว่าประเทศไทย รอด เอาอยู่ คนไทยเป็นคนที่เข้มแข็งโดยเฉพาะพื้นที่ทางภาคอีสาน เข้มแข็งอดทนมาก ความเข้มแข็งจะทำให้เราผ่านพ้นอุปสรรค ปัญหาได้ทุกครั้งก็เอาใจช่วย เราไม่โกหกกัน เห็นอะไรก็อธิบาย เพราะฉะนั้นทุกคนเห็นสภาพก็หาตำแหน่งที่อยู่ เตรียมอาหารไว้ เพราะพายุลูกนี้ไม่ได้แช่ เข้ามาแล้วก็ไป ถ้ารู้สึกไม่ไหวก็อพยพ น้ำท่วมมา แล้วก็ไหลไป”

 

เช่นเดียวกับ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ปลายเดือนนี้ จะมีพายุค่อนข้างแน่นอน (น่าจะเป็นระดับพายุโซนร้อน) แต่ที่ไม่แน่นอน คือเส้นทาง ปริมาณฝน และปริมาณน้ำหลาก พายุเข้า ไม่เข้า ไม่สำคัญเท่ากับการประเมินความเสี่ยง และความรุนแรงในพื้นที่ต่างๆ

 

เพื่อการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำกันเถอะ "ประชาชน" เหนื่อยมามากแล้ว ด้วยความรัก และห่วงใย