วันที่ 4 ม.ค. 65 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการติดตาม ผู้ติดเชื้อโอมิครอนในไทย ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2564 - 3 ม.ค. 2565 พบจำนวนรวม 2,062 รายใน 54 จังหวัด โดยเมื่อวันที่ 3 ม.ค. พบเพิ่มถึง 282 ราย ครบทุกเขตสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายดีแล้ว และผู้ที่รักษาตัวก็อยู่ในโรงพยาบาลไม่ได้ออกมาภายนอก
สำหรับ 5 จังหวัด ที่พบผู้ติดเชื้อโอมิครอน มากที่สุด คือ
"โอมิครอนจะเริ่มส่งผลให้จำนวนการติดเชื้อในภาพรวมของประเทศเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่ส่งผลต่อจำนวนการเสียชีวิต เพราะคนเสียชีวิตวันนี้อาจติดเชื้อมาจาก 2 สัปดาห์ที่แล้ว และขอให้เข้าใจตรงกันว่า การติดเชื้อโควิดวันนี้ 70-80% ยังเป็นสายพันธุ์เดลตา ซึ่งยังมีผลทำให้ป่วยหนักและเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง กลุ่ม 608 ( 608 หมายถึงคนสูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป และคนมีโรคประจำตัว 8 โรค)”
นพ.ศุภกิจ ยังเปิดเผยผลการศึกษาเคสผู้ป่วยในแอฟริกาใต้ที่น่าสนใจว่า จากการติดตามศึกษากรณีผู้ป่วยที่ติดโอมิครอนแล้ว เมื่อเจาะเลือดตรวจดูหลังติดเชื้อ 14 วัน พบว่าเกิดภูมิคุ้มกันขึ้นมา มีการเปรียบเทียบทั้งในคนติดโอมิครอนที่ฉีดวัคซีนและไม่ได้ฉีดวัคซีน พบว่าทั้งสองกลุ่มมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นมา แต่คนที่ฉีดจะเพิ่มขึ้นมากกว่า
อย่างไรก็ตามเมื่อดูว่าภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นมา สามารถจัดการกับโอมิครอนและเดลตาได้มากน้อยแค่ไหน ก็พบว่า คนที่ติดโอมิครอนจะมีภูมิคุ้มกันสูงขึ้นเฉลี่ย 14-15 เท่า ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติ โดยหากติดเชื้อโอมิครอนซ้ำ ภูมิคุ้มกันก็จะจัดการกับเชื้อได้ ขณะเดียวกันยังมีข้อสังเกตสำคัญที่ชี้ว่า เมื่อติดเชื้อโอมิครอนแล้วปรากฎว่าภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้นนั้นยังสามารถป้องกันคนเราจากสายพันธุ์เดลตาได้ด้วย โดยจะมีภูมิคุ้มกันเดลต้าเพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่ากว่าๆ แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกราย.
ที่มา: กระทรวงสาธารณสุข