ดร.จรรยา มณีโชติ สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย เผยว่า ในปัจจุบันต้องยอมรับว่า โดรนเริ่มเข้ามาทดแทนคนเดินพ่นยาฆ่าหญ้า กันมากขึ้น สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการได้รับสัมผัสสารเคมีขณะพ่นสารด้วยแรงงานคน และตอบโจทย์กับไลฟสไตล์เกษตรกรรุ่นใหม่ ที่ต้องการความง่าย สะดวก และรวดเร็ว
แต่การใช้โดรนทางการเกษตรยังไม่มีมาตรฐานและยังไม่ถูกกฎหมาย (ที่ควบคุมโดยกรมการบินพลเรือน) ปัญหาที่พบเห็นจากการใช้โดรนพ่นยาฆ่าหญ้า คือ 1.อัตราใข้ไม่ตรงตามคำแนะนำ เพราะคนรับจ้างพ่นหลายท่านยังใช้วิธีการผสม ยาโรค ยาแมลง หรือ ปุ๋ยเคมี ซึ่งใช้ความเข้มข้นเป็นเกณฑ์ เช่น น้ำ 20 ลิตร ใช้ยา 100 มล. ถ้าถังพ่นโดรน มีขนาด 15 ลิตร ก็ใช้ยาแค่ 75 มล. พ่นให้ทั่วโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะพ่นได้พื้นที่เท่าไหร่ เอาให้มั่นใจว่าโดนศัตรูจนทั่วทุกต้น ยาหมดก็มาผสมใหม่
ในทางตรงข้าม การพ่น ยาฆ่าหญ้า จะใช้พื้นที่เป็นเกณฑ์ เช่น พื้นที่ 1 ไร่ใช้ไกลโฟเซต 1 ลิตร ดังนั้นต้องทดลองบินโดรนด้วยน้ำเปล่า ก่อนทุกครั้งว่า พื้นที่ 1 ไร่ ใช้น้ำเท่าไหร่ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 3-5 ลิตร ถ้าถังโดรนบรรจุน้ำได้ 15 ลิตร แสดงว่า โดรนจะพ่นได้พื้นที่ 3 ไร่ ดังนั้น เราต้องผสมไกลโฟเซต 3 ลิตรและเติมน้ำ 12 ลิตรเพื่อให้ได้ปริมาตรทั้งหมด 15 ลิตรสำหรับพื้นที่ 3 ไร่
ปัญหาละอองยาฆ่าหญ้า ไม่ตกบนพื้นที่เป้าหมาย ทำให้ประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชไม่ดี ต้องพ่นซ้ำ ทำให้สิ้นเปลืองทั้งค่ายาและยาฉีด แต่ละอองยาฆ่าหญ้า ที่ถูกลมพัดปลิวไปโดนพืชปลูกในแปลงข้างเคียง เกิดปัญหาฟ้องร้องเป็นคดีความกันในหลายพื้นที่น่าปวดหัว
แต่ปัญหานี้ แก้ไขได้ไม่ยาก โดยเปลี่ยนชนิดหัวฉีด จากหัวพัดธรรมดาทั่วไป เป็น หัวฉีดผสมอากาศแบบพัดคู่ จะลดการปลิวของละอองสารได้ 90-95% พ่นได้ทั้งวันโดยไม่ต้องรอลมสงบ
สำหรับหลักการทำงานคือ หัวฉีดจะพ่นละอองออกมาเป็นม่านน้ำรูปพัด 2 ชั้น เมื่อลมพัดแรงปะทะม่านน้ำด้านใดด้านหนึ่ง จะมีละอองน้ำแกด้นหนึ่งทำหน้าที่เป็นฉากกั้น ให้ละะอองไปปะทะและตกลงพื้นดินเป็นหยดน้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงไม่ปลิวไปตามกระแสลม
แต่หัวฉีดผสมอากาศแบบพัดคู่ มีราคาแพงกว่า หัวทั่วไป ประมาณ 3 เท่า และละอองจะไม่ฟุ้งจึงดูเหมือนว่าไม่ได้พ่น ต่างจากหัวพัดทั่วไปที่มีละอองฟุ้งเมื่อโดนใบพัดลมจากโดรน จึงเห็นละอองฟุ้งกระจาย ชัดเจน แต่มีโอกาสสูงที่จะปลิวไปตามลมได้ไกลในต่างประเทศ.มีกฎหมายบังคับให้ใช้เฉพาะหัวฉีดแบบผสมอากาศ สำหรับการพ่นด้วยโดรน
แต่บ้านเรายังไม่ทีกฎหมายควบคุม จึงเป็นหน้าที่ของ เจ้าของแปลงต้อง กำหนดหลักเกณฑ์ให้ คนรับจ้างพ่นโดรน ใช้หัวฉีดที่เหมาะสม เพื่อประหยัดค่ายา และค่าจ้างฉีดซ้ำ หมดปัญหากับเพื่อนบ้าน และ ลดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ด้วย “แค่เปลี่ยนหัวฉีด” พ่น 100 ครั้ง โดนวัชพืช 100 ครั้ง ประหยัดตังค์และเวลา หมดปัญหากับแปลงข้างเคียง