“จุรินทร์”ถกภาคเอกชน วาง5 ยุทธศาสตร์ บุกตลาดซาอุดิอาระเบีย

11 ก.พ. 2565 | 11:10 น.
อัปเดตล่าสุด :11 ก.พ. 2565 | 18:27 น.

“จุรินทร์”ถกภาคเอกชน วาง5 ยุทธศาสตร์   บุกตลาดซาอุดิอาระเบีย ชู “ข้าว-ไก่” เป็นธงนำ หลังฟื้นสัมพันธ์ซาอุฯ  คาดส่งออกได้เพิ่มอย่างน้อย 6.2% ในปี 65

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานประชุมหารือการเตรียมความพร้อมเพื่อฟื้นความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย พร้อมด้วยพลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ว่าภายหลังการประชุมร่วมกับภาคเอกชนไทยที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคตลาดตะวันออกกลาง เพื่อหารือในการเตรียมความพร้อมเพื่อฟื้นความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียภายหลังการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูต

“จุรินทร์”ถกภาคเอกชน วาง5 ยุทธศาสตร์  บุกตลาดซาอุดิอาระเบีย

กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปซาอุดิอาระเบีย ในปี 2565 เพิ่มขึ้น 6.2% จากปี 2564 ที่มีการส่งออกมูลค่า 51,500 ล้านบาท โดยได้วิเคราะห์ร่วมกันเห็นว่าสินค้าที่มีโอกาสในการส่งออก และเป็นหมายในการผลักดันเพื่อทำรายได้เข้าประเทศ มีจำนวน 3 กลุ่ม คือ เกษตร อุตสาหกรรม และบริการ

“จุรินทร์”ถกภาคเอกชน วาง5 ยุทธศาสตร์  บุกตลาดซาอุดิอาระเบีย

 

กลุ่มสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ เช่น อาหารฮาลาล ข้าว ไก่สด ผลไม้ เนื้อปลา กาแฟ ขนมจากน้ำตาล อาหารปรุงแต่งจากธัญพืช อาหารสัตว์เลี้ยง ซอสปรุงรส อาหารแห่งอนาคต เป็นต้น

สินค้าอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์และอุปกรณ์ ยางรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ

บริการ เช่น การให้บริการทางการแพทย์ โรงพยาบาล สถานพยาบาล โรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

“จุรินทร์”ถกภาคเอกชน วาง5 ยุทธศาสตร์  บุกตลาดซาอุดิอาระเบีย
         
ทั้งนี้ สินค้าที่มีอนาคตมากที่สุด คือ ข้าว เพราะซาอุดิอาระเบียนำเข้า 100% นำเข้าปีละ 1.2-1.6 ล้านตัน 80% นำเข้าจากอินเดีย ที่เหลือนำเข้าจากปากีสถาน สหรัฐฯ เวียดนามและไทย โดยนำเข้าจากไทยน้อยมากแค่ 2% มีโอกาสเพิ่มได้ ส่วนไก่ ซาอุดิอาระเบียเลี้ยงเอง 60% บริโภคในปี 2563 ประมาณ 1.48 ล้านตัน นำเข้า 70% จากบราซิล ที่เหลือยูเครน และฝรั่งเศส ไทยมีศักยภาพส่งออกได้ แต่ยังติดขัดเรื่องตรวจรับรองโรงงาน โดยตรวจแล้ว 11 โรงงาน รอประกาศเป็นทางการ และติดปัญหาการรับรองตราฮาลาล

“จุรินทร์”ถกภาคเอกชน วาง5 ยุทธศาสตร์  บุกตลาดซาอุดิอาระเบีย

ติดปัญหาการไม่ประกาศรับรองไทยปลอดไข้หวัดนก และการออกมาตรฐาน GSO 993 ที่รอประชุมคณะมนตรีความร่วมมือแห่งรัฐอ่าวอาหรับ 7 ประเทศ และมีซาอุดิอาระเบียรวมอยู่ด้วยที่จะรับรองมาตรฐาน ซึ่งได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ กรมปศุสัตว์ ประสานกับทางการซาอุดิอาระเบีย เพื่อเร่งแก้ปัญหาที่ติดขัดให้จบ เพราะถ้าจบ ก็จะส่งออกไก่ได้ทันที ซึ่งเอกชนพร้อมอยู่แล้ว

“จุรินทร์”ถกภาคเอกชน วาง5 ยุทธศาสตร์  บุกตลาดซาอุดิอาระเบีย

ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ไทย-ซาอุดีอาระเบีย เพื่อเป็นเวทีเจรจาการค้าระหว่างกันอย่างเป็นทางการ และนำไปสู่การจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกันในอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาคเอกชนต้องการ และจะเร่งจัดคณะผู้แทนการค้าและนักธุรกิจจากไทยไปเยือนซาอุดีอาระเบีย และจากซาอุดีอาระเบียเยือนไทย เพื่อเจรจาการค้าและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกัน
         
นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าไทย บริการไทย ในตลาดซาอุดิอาระเบียในทุกรูปแบบ ทั้งการประชาสัมพันธ์สินค้าไทย การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในซาอุดิอาระเบีย การจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ และอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการซื้อขายมากที่สุด เร็วที่สุด

รวมทั้งจะมีการจัดสัมมนาให้ข้อมูล ความรู้แก่ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ซึ่งจะมีการกำหนดรายละเอียดต่อไป และยังจะจัดทำระบบข้อมูลตลาดซาอุดิอาระเบียเชิงลึก โดยทูตพาณิชย์จะมีส่วนสำคัญร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กรมปศุสัตว์ และเตรียมศึกษา กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้เอกชนนำไปใช้

 

ทั้งนี้ ให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เป็นเจ้าของเรื่องในการติดตาม ประสานงาน และให้บรรจุเป็นวาระในการประชุม กรอ.พาณิชย์ เพื่อติดตามความคืบหน้าด้วย

“จุรินทร์”ถกภาคเอกชน วาง5 ยุทธศาสตร์  บุกตลาดซาอุดิอาระเบีย
         
นายสนั่น  อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บอกว่า ในระหว่าง 32 ปี ที่ไทย ถูกลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตกับซาอุดิอาระเบีย แต่ภาคเอกชน ยังทำการค้าขายอยู่ แต่ความสะดวกทางการค้าหายไป

 

รวมทั้งยังมีมาตรการทางภาษีเพิ่มขึ้นมา ในสินค้าหลายชนิด ดังนั้น จึงต้องให้กระทรวงพาณิชย์ ช่วยปลดล็อกในประเด็นอุปสรรคที่ยังเป็นปัญหาอยู่  รวมไปถึงการเจรจาเขตการค้าเสรี หรือ FTA ซึ่งทำระหว่าง 2 ประเทศคู่เจรจาได้ยาก ซึ่งน่าจะหารือกันในเวทีคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ หรือ จีซีซี GCC ( Gulf Cooperation Council ) 7 ประเทศได้

 

ซึ่งซาอุดีอาระเบีย เป็นประเทศแกนกลางอยู่แล้ว และที่ผ่านมา มีบทเรียนจากการเจรจา FTA ไทย-บาห์เรน ที่เกือบจะสำเร็จแล้ว แต่ไม่สามารถสรุปผลการเจรจาได้  เพราะซาอุฯ ไม่เห็นด้วย  ทำให้การฟื้นความสัมพันธ์ไทยกับซาอุดิอาระเบียในครั้ง ก็หวังว่าจะเป็นโอกาสให้ค่อยๆ ทำการตกลงกันได้