นายอำนวย ปะติเส อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ที่มา ของสมาคมนักวิชาการยางและถุงมือยาง เกิดขึ้นมา ความจริงสืบเนื่องจากการปฎิบัติหน้าที่ ของสภาการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ตั้งขึ้นมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว นั่นก็คือ เป็นที่รวมของบรรดานักวิชาการ บรรดาผู้ประกอบการ บรรดาชาวสวนยาง และบรรดาพวกซัพพลายเชนทั้งหมดของวงการยางไปรวมเป็นหนึ่งเดียว
“สภาการยางแห่งประเทศไทย” เดิมทำงาน ที่ สกว. ก็คือ สถาบันวิจัย ที่รวมตัวกันอยู่ แบบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ แล้วที่นี้เกิดจากความไม่เป็นนิติบุคคล ก็ทำมานานก็อยากจะเปลี่ยนตัวผู้นำบ้างก็เลยไปมีมติ จึงมอบให้ผมเป็นประธานสภาการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งมีข่าวอยู่ช่วงหนึ่งประมาณปีเศษของช่วงที่แล้ว
“เมื่อผมเข้ามารับผิดชอบในฐานะประธานสภาการยางแห่งประเทศไทยก็ได้มาพบอุปสรรคสำคัญคือว่าความที่ไม่เป็นนิติบุคคล สถาบันที่ไม่เป็นนิติบุคคลการทำงานในประเทศ ระหว่างประเทศ รวมทั้งการติดต่อต่างๆ เป็นไปด้วยความไม่สะดวกและไม่มีความน่าเชื่อถือสมบูรณ์เพียงพอ จึงมีความคิดที่จะปรับเปลี่ยนสถานะโดยรักษารูปองค์กรไว้ จึงเป็นที่มาจัดตั้งสมาคมนักวิชาการยางและถุงมือยาง เนื่องจากเห็นว่าต้นกำเนิดมาจากความคิดเห็นของนักวิชการที่เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนายกระดับการทำมาหากินในเรื่องยางในประเทศไทยให้สูงกว่าระดับมาตรฐานสากล”
นายอำนวยกล่าว ที่มาในส่วนคำว่า “ถุงมือยาง” เป็นสินค้าที่ประเทศไทยมีศักยภาพพอที่จะเป็นศูนย์กลางกลาง (ฮับ) ที่ผลิตจากยางธรรมชาติในประเทศไทยได้ จึงนำคำสองจำกัดความ กับ “สมาคมนักวิชการยางค์” กับ “ถุงมือยาง” จึงไปจดทะเบียนเป็นสมาคมถูกต้องสมบูรณ์แล้ว บุคคลที่เป็นสมาชิกก็ยังเป็นเหมือนเดิม เหมือนสภาการยางแห่งประเทศไทยมีทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
“ถ้าพูดอย่างไม่เป็นทางการ ก็เรียกว่า สภาการยางแห่งประเทศไทย แต่ถ้าพูดเป็นนิติบุคคล ก็คือ สมาคมนักวิชาการยางและถุงมือยาง แต่ว่าทั้งหลายทั้งปวงก็คือ องค์กรเดียวกัน”
อย่างไรก็ตาม นายอำนวย กล่าวว่า ที่เราเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่มากก็คือว่า ตอนนี้เรื่องยางมี 2 ประเภท ก็คือ ยางธรรมชาติกับยางสังเคราะห์ ในฐานะนักวิชาการ และในฐานะคนสังเกตการณ์ การพัฒนาในเรื่องอุตสาหกรรมยางเราเห็นชัดว่ายางธรรมชาติถูกแซงด้วยยางสังเคราะห์ กลายเป็นยางที่คนนิยม นำไปผลิตเป็นวัตถุดิบที่หลายหลายเต็มไปหมดจนกระทั่งวันนี้ถุงมือยาง ก็เป็นถุงมือไนไตร ที่ใช้ยางสังเคราะห์ ที่เคยเป็นวัตถุดิบในระดับที่ กว่า 50-60%
แต่ตอนนี้เหลือ 20% หากปล่อยให้เหตุการณ์เป็นเช่นนี้จะทำให้ยางธรรมชาติมีความต้องการน้อยลง จะทำให้ยางสังเคราะห์เข้ามาแทนที่ทั้งหมด จะทำให้การใช้ยางธรรมชาติน้อยลง แต่ความจริงยางธรรมชาติ ชนะของเทียมอยู่แล้ว แค่เพียงคุณสมบัติ แต่เนื่องจากไม่ได้มีการวิจัยหรือพัฒนา ส่งเสริม โฆษณาก็เลยทำให้สินค้าที่ทำจากยางธรรมชาติ แพ้ยางสังเคราะห์ ก็รู้สึกว่าประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ของโลกที่ผลิตยางธรรมชาติ แต่ทำไมเกิดเหตุการณ์แบบนี้ จึงอยากทำให้พลิกฟื้นกลับหลังหันอุตสาหกรรมนี้เอายางธรรมชาติขึ้นมาให้ได้ ซึ่งแท้จริงแล้วโดยสภาพทางวิชาการสุู่กันได้
โดยจะเริ่มต้นจากการยางธรรมชาติถุงมือยางขึ้นก่อน นักวิชาการส่วนใหญ่คึกคะนองมาในตอนนี้ อาจารย์ตามมหาวิทยาลัย และพวกนักประกอบกิจการที่ทำจากถุงมือยางธรรมชาติที่เรียกว่ายางลาเท็กซ์ที่ทำจากลาเท็กซ์ในขณะนี้จะสู้กับถุงยางไนไตร ถ้าเมื่อไรเราชนะก็แปลว่าความต้องการยางธรรมชาติของประเทศไทยมีมาก ก็จะทำให้ไหลเข้าสู่ผลิตภัณฑ์มากขึ้น นั่นคือโอกาสของประเทศไทยที่จะพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน เราก็ปล่อยให้มาเลเซีย จีน ให้กลุ่มประเทศนี้ปล่อยไป
ส่วนยางที่ทำมาจากยางธรรมชาติเป็นเจ้ายุทธจักรของยางธรรมชาติ และส่งเสริม Green ให้เข้ากับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ของโลกที่เป็นอยู่เท่าทุกวันนี้ นี่คือเป้าหมายใหญ่ของเรา นั่นคือทิศทางที่เรากำลังจะระดมสรรพกำลังทั้งหมด เป็นเป้าหมายระยะยาว ดีกว่าที่ยังไม่เริ่มต้น อย่างน้อยเราเป็นหัวขบวนในการทำเรื่องนี้ก็ถือว่าดี และได้รับการต้อนรับจากนักวิชาการ ผู้ประกอบการที่อาศัยน้ำยางธรรมชาติมาเป็นอย่างดี มีพรรคพวกเยอะที่จะทำในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไอวอรี่โคสต์, ศรีลังกา และอินเดีย พอทราบข่าวว่าเราจะขับเคลื่อน ก็ชื่นชมยินดี พร้อมจะร่วมมือกันเพื่อทีจะทำยางธรรมชาติให้สู้กับยางเทียมได้ นี่คือเรื่องนักวิชาการไทย และนักวิชาการต่างประเทศ ผสานเทคโนโลยี นี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสมาคม
แต่เนื่องจากว่าสมาคมก็มองเห็นปัญหาเรามีบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อยู่รวมกันจำนวนมาก มีหลายสาย ทั้งสายการเงิน สายต้นน้ำ น้ำยาง สายเทคโนโลยี สายโรงงาน สายโลจิติกซ์ เมื่อเรามารวมกันแบบนี้ จะเป็นหัวขบวนที่ไปคอยช่วยอุตสาหกรรมที่เป็นเอสเอ็มอีในขณะนี้ ถ้าเราดูผลิตภัณฑ์ยางของประเทศไทย เราจะแบ่งเป็น 2 พวก ก็พวกอินเตอร์ หรือ บริษัทข้ามชาติ บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทที่มีกำลังทรัพย์มหาศาล มีเงินทุนมหาศาล ติดลมบนตลาดโลกไปแล้ว อยู่ในระดับ 3-4 ของโลกไปแล้ว พวกนั้นจะปล่อยให้ทำหน้าที่ไป แต่เราก็รู้สึกว่าในกลุ่มเอสเอ็มอี ยังต้องการความช่วยเหลือวิชาการ ทางการเงิน ประสานงานร่วมมือกัน ก็จะช่วยกันในส่วนนี้
เช่น ปีที่แล้ว มีหลายผู้ประกอบการประสบภัยพิบัติ เนื่องจากวิ่งไปแข่งขันในตลาดถุงมือยาง วิ่งเข้าไปไม่ทัน ตอนนั้นราคาสูง ก็ให้ทำโน้นนี่ ยังไม่ทันเสร็จ ราคาลดลง ทำสินค้าไม่สำเร็จรูป เดินต่อกันไปไม่ได้ สิ่งที่ลงทุนไปนั้นมีมูลค่ามากมายมหาศาล จึงทำให้พวกเราระดมพล ระดมทุน ความคิด และเทคโนโลยี เข้าไปช่วยให้ฟื้นตัวกลับมาได้ก็จะเป็นกำลังของชาติได้ ก็เปรียบเหมือนคนป่วยโควิด พอเศรษฐกิจเจอโควิดก็พากันป่วยติดงอมแงม
"ก็เฉกเช่นเดียวกันกับธุรกิจถุงมือยางก็ดี อุตสาหกรรมยางเอสเอ็มอี ก็เป็นแบบนี้ หากพ้นโควิดไปแล้วก็รอเพื่อให้มีคนมาช่วยด้านการเงิน ด้านการบริหาร ด้านการจัดการตลาด แล้วถ้าปล่อยให้เขาเดินลำพังไปไม่ได้เราก็จะเสียหาย ก็คือคนลงทุนไปแล้วก็ประสบการขาดทุน ก็ส่งผลทำให้เศรษฐกิจย่อยยับลงไป พวกเราในสมาคมซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัคร เป็นคนที่เกษียนแล้ว คนที่มีพลัง ก็อยากเข้ามาช่วยในเรื่องพวกนี้ พวกเราเต็มใจกัน มีความรู้ความสามารถในแต่ละด้านเข้าไปช่วยดูแลกำลังประสบภาวะอ่อนแออยู่ หรือประสบภาวะการเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ก็จะได้ฟื้นตัวขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมที่เดินหน้าต่อไปได้”
นายอำนวย กล่าวในตอนท้ายว่า สมาคมนี้จะเป็นสมาคมที่เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญในเรื่องของอุตสาหกรรมยาง และผู้ประกอบการกิจการยางในระดับเอสเอ็มอีของชาติต่อไป มั่นใจ จากสมาคมดังกล่าวนี้ มืทั้งภาคข้าราชการ นักการเมือง นักวิชาการ ที่จะสอดประสานความรู้ความสามารถ และการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งเอกชนและราชการ ที่มีความจำเป็นมากที่สุดในช่วงนี้ ในภาวะหลังโควิด ไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับการสื่อสารและการประสานงานกันและเราก็เชื่อว่าสมาคมเราจะช่วยประสานงานส่วนต่างๆให้สามารถที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนชีวิตนักธุรกิจเอสเอ็มอีต่อไปได้