นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ตามที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยและให้ความสำคัญ ในกรณีที่อาจมีการกักตุนสินค้าประเภทเนื้อสุกรเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า โดยได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมเครือข่ายปฏิบัติงานเร่งตรวจสอบห้องเย็นเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวนั้น ทางกรมปศุสัตว์ ยังเดินหน้าไล่ตรวจสต๊อกหมูอย่างต่อเนื่อง หวังในอนาคตจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิม
สำหรับรายงานการตรวจ ประจำ วันที่ 3 มีนาคม 2565 ทางกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรฯ พร้อมหน่วยงานในพื้นที่เครือข่ายกองบังคับการปราบปราบการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) จึงได้สนธิกำลังเร่งตรวจสอบห้องเย็นเพื่อกันการกักตุนซากสุกรทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง พื้นที่เข้าดำเนินการทั้งหมดสะสม วันที่ 25 ก.พ.- 3 มีนาคม 2565 จำนวนตรวจซากสุกร กว่า 7 ล้านกิโลกรัม มีพื้นที่เข้าดำเนินการ 174 แห่ง
นายสัตวแพทย์สรวิศ สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร ณ วันที่3 มีนาคม 2565 เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่่าก่าลังแรงปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซีย และภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทยประกอบกับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีก่าลังแรง ท่าให้บริเวณภาคใต้มีคลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 25กุมภาพันธ์ 2565- ปัจจุบัน รวมจำนวน 7 จังหวัด 36 อ่าเภอ ได้แก่ งหวัดตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา และจังหวัดสงขลายังคงเกิดสถานการณ์ 4 จังหวัด 11 อำเภอ นั้น
“วันนี้ ได้รับรายงานจาก นายศิริสินธุ์ เพียรแก้ว ปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี บูรณาการหน่วยงานในสังกัดกรมปศุสัตว์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นราธิวาสและสตูล สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหนองจิก สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสายบุรี และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอกะพ้อ รับหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน จำนวน 250 ฟ่อน (5,000 กิโลกรัม) ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ได้รับผลกระทบ ดังนี้
1.เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ อ.หนองจิก หมู่ที่ 1,2 ต.ลิปะสะโง อ.หนองจิก จำนวน 100 ฟ่อน
2. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงโคเนื้อช่องเขต อ.สายบุรี จำนวน 50 ฟ่อน
3. เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ อ.กะพ้อ จำนวน 100 ฟ่อน (ต.ตะโละดือรามัน 60 ฟ่อน ต.ปล่องหอย 40 ฟ่อน)
ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงาน จัดชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่ประสบภัยเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรทันที รวมทั้งดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุในขณะเกิดภัยน้ำท่วม โดยเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ยา เวชภัณฑ์ และยานพาหนะ เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการอพยพปศุสัตว์ไปที่ปลอดภัย การให้คำแนะนำด้านสุขภาพสัตว์และรักษาสัตว์ป่วยหรือสัตว์ที่บาดเจ็บจากการเคลื่อนย้าย สนับสนุนเสบียงสัตว์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัย
ขณะหลังเกิดภัย กรมปศุสัตว์มีแผนฟื้นฟูภายหลังน้ำลด และแนวทางการให้ความช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายของเกษตรกรที่ประสบอุทกภัย โดยการอพยพสัตว์กลับที่เดิม จัดหน่วยฟื้นฟู ดูแลรักษา สุขภาพสัตว์ สนับสนุนแร่ธาตุ อาหารเสริมแก่สัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย หรือบรรเทาความเสียหาย โดยจะดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2559 (ฉบับที่ 2) ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ปศุสัตว์อำเภอ และปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่