(5 มี.ค. 65) นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดการฝึกอบรมหลักสูตร “ทางลัดในการเจาะตลาด RCEP” (RCEP Marketer) รุ่นที่ 1 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Webex โดยระบุว่าในนามของกระทรวงพาณิชย์ที่ได้รับมอบหมาย จากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เพื่อพิธีเปิดหลักสูตรทางลัดเจาะตลาด RCEP (RCEP Marketer) รุ่นที่ 1 ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาหรือ ITD
เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับภารกิจผลักดันการส่งออกซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลโดยการนำของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในด้านการผลักดันการส่งออก ด้วยเชื่อว่าข้อตกลง RCEP จะเป็นประโยชน์ ทำให้ทั้งประเทศ สังคม ผู้ประกอบการลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสมีทางเลือกได้อีกมาก
นางมัลลิกา กล่าวว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP ถือว่าเป็นเขตข้อตกลงทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากรรวมกัน 1 ใน 3 ของโลก มีประเทศสมาชิก 15 ประเทศ ซึ่งแต่ละประเทศก็เป็นคู่ค้าของไทย เช่น ปี 64 จีน อันดับ 1 มูลค่าการค้า 3.3 ล้านล้านบาท ญี่ปุ่น อันดับ 2 มูลค่าการค้า 1.9 ล้านล้านบาท ออสเตรเลีย อันดับ 6 มูลค่าการค้า 546,577 ล้านบาท เกาหลีใต้ อันดับ 9 มูลค่าการค้า 501,975 ล้านบาท นิวซีแลนด์ อันดับที่ 33 มูลค่าการค้า 85,887 ล้านบาท ยังไม่นับรายประเทศในอาเซียน
อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการไทยคงคุ้นเคยกันบ้างแล้วแต่หลังจากนี้อาจเพิ่มโอกาสอีกและทูตพาณิชย์ในแต่ละประเทศซึ่งทำภารกิจเซลล์แมนประเทศไทยตามนโยบายรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ขันแข็งในการทำงานตอบสนองนโยบายเชิงรุก สำหรับจีนที่เป็นตลาดใหญ่ของเราก็ยังขยายตัวและภาพรวมการส่งออกทั้งหมดช่วงสถานการณ์โควิด-19 เราก็ฝ่าด่านมาได้โดยการส่งออกปี 2564 โดยรวมทุกประเทศขยายตัว 17.1% มูลค่าการค้า 8.5 ล้านล้านบาท และเมื่อเดือนมกราคมปี 2565 ขยายตัวที่ 8% มูลค่าประมาณ 708,000 กว่าล้านบาท ส่วนการเข้าร่วมข้อตกลง RCEP นี้จะช่วยสร้างโอกาสและการค้าของผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขัน เพิ่มทางเลือกนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าโดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและอื่น ๆ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนในสาขาที่ไทยมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น
นางมัลลิกา ระบุว่า ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในทุกรูปแบบฝึกอบรมและเป็นภารกิจของทุกกรมในกระทรวงพาณิชย์ที่อบรมผลักดันส่งเสริม สร้างประกอบการรุ่นใหม่ให้กับไทย เพื่อปรับตัวสู่ยุค New Normal โดยไม่ทิ้งผู้ประกอบการเดิม แต่จะส่งเสริมข้อมูลความรู้ที่ปรับเปลี่ยนการอบรมในแต่ละปีทะลุเป้าหมายแทบทุกครั้ง และทูตพาณิชย์ทั่วโลกมีภารกิจอย่างหนักตั้งแต่ปี 2562 ที่ปรับภารกิจเข้มข้นเป็นเซลล์แมนประเทศและพาณิชย์จังหวัดเป็นเซลล์แมนจังหวัด เพิ่มทักษะผู้นำ ผู้ประกอบการภูมิภาคต่าง ๆ เข้าสู่ระบบการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นและให้กระทรวงพาณิชย์เพิ่มสัดส่วนผู้ประกอบการที่อยู่ในภูมิภาค
มีการเชื่อมโยงกับกระทรวงเกษตรฯ นำนโยบาย “เกษตรผลิตพาณิชย์ตลาด” นำตลาดเป็นเป้าหมาย มีความร่วมมือกับ กรอ.พาณิชย์ หรือ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งโครงสร้างมีทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้เป้าหมายของรัฐบาลประสบความสำเร็จผลักดันการส่งออก และเพิ่มสัดส่วนตัวเลขในตลาดโลกและบุกตลาดเก่า ตลาดใหม่ ตลาดที่ต้องรื้อฟื้น(ตลาดเดิม) ที่นายจุรินทร์ได้ให้กับกระทรวงพาณิชย์ และข้าราชการที่สามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างดีมีประสิทธิผลประสิทธิภาพ เป็นความสำเร็จร่วมกันของประเทศไทย
วันนี้ผู้บริหารสถาบันไอทีดี (สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา) เล็งเห็นถึงความสำคัญของตลาด RCEP ถือว่ามีวิชั่นเพราะนั่นคือโอกาสจริง ๆ และหลักสูตรทางลัดการเจาะตลาด RCEP มีทั้งเรื่องการฟังการบรรยาย การทำกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทูตพาณิชย์ในต่างประเทศ มีการเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ผลักดันตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 จนมาถึงวิกฤตโควิด-19 ที่ต้องเข้มข้นมากขึ้น การจับคู่การค้าการเจรจาผ่านทางออนไลน์ซึ่งประสบความสำเร็จมากล่าสุดเจรจาเรื่องสินค้าเพื่ออนาคต BCG (Bio Circular Green Economy) เพียงสัปดาห์เดียวได้มูลค่า 3,000 กว่าล้านบาท
และกระทรวงพาณิชย์มีการติดตามและอำนวยความสะดวกจนกว่าจะผลักดันจนมีรายได้เข้าประเทศ เชื่อมโยงถึงขั้นชำระภาษีหรือลดภาษีอย่างไร
" ขอบคุณสถาบันการค้าระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ร่วมกันจัดทำหลักสูตรนี้ขึ้นเปิดโอกาสให้กับประเทศของเราและผู้ประกอบการของเรา และหวังว่าจะมีการขยายหลักสูตรเป็นรุ่นที่ 2 รุ่นที่ 3 ต่อไป ทั้งนี้นโยบายของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ท่านจุรินทร์ ยินดีส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการในการขยายโอกาสตลาดส่งออกให้มากที่สุดเพื่อนำเข้ารายได้ช่วยประเทศ" ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว
จากนั้นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้บรรยายโดยใช้เวลา 1 ชั่วโมงเกี่ยวกับข้อตกลงทางการค้าความเป็นมาตั้งแต่นายจุรินทร์เป็นประธานจนเจรจาสำเร็จและมีรายการสินค้าสามารถลดภาษีนำเข้าระหว่างกันทำให้ลดต้นทุนผู้ประกอบการและขยายโอกาสการส่งออกได้มากโดยตั้งแต่เริ่มใช้เมื่อ 1 มกราคม 2565 นั้นมีความตื่นตัวของผู้ประกอบการมาก นอกจากนั้นระบุด้วยนายจุรินทร์ยังมีโครงการสินเชื่อจับคู่กู้เงินบุกตลาด RCEP วงเงิน 3,000 ล้านบาทโดยเงื่อนไขพิเศษซึ่งเริ่มไปตั้งแต่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 และยังมีวงเงินเหลืออยู่อนุมัติโดย Exim Bank ตอนนี้ใช้ไป 810 ล้านบาทยังเหลืออยู่อีก ผู้ประกอบการกู้สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อรายและวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 5 ล้านบาทนั้นไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพียงใช้หนังสือค้ำจาก บสย.และบุคคลหรือนิติบุคคลค้ำประกัน เป็นต้น