ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ห้องประชุมโรงแรมประจักษ์ตรา ดีไซน์ โฮเต็ล อ.เมืองอุดรธานี นายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานการประชุมปฐมนิเทศ (ครั้งที่ 1) โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษา สำรวจออกแบบทางแยกต่างระดับ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 216 กับทางหลวงหมายเลข 2423 (ทางเข้าสนามบินอุดรธานี) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง
โดยมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนรท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชน ที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียจาก 3 ตำบล คือ ตำบลนาดี หมากแข้ง และตำบลบ้านเลื้อม อ.เมืองอุดรธานี เข้าร่วมประชุม และรับฟังการชี้แจงในครั้งนี้ ซึ่งการประชุมชี้แจงในลักษณะดังกล่าวนี้ทางกลุ่มบริษัทที่ปรึกาจะต้องดำเนินการทุก ๆ 2 เดือน จำนวน 5 ครั้ง
นายประยุทธ ยิ่งหาญ วิศวกรโยธาชำนาญการพิเศษ และผู้จัดการโครงการ ผู้แทนกรมทางหลวง กล่าวรายงานที่ประชุม ว่า ทางแยกจุดตัดทางหลวง-ทางเข้าท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ดังกล่าว เป็นทางแยกสัญญาณไฟจราจรที่มีปัญหาจราจรหนาแน่น เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ประกอบกับจากมีลักษณะเป็นทางโค้ง
กรมทางหลวงได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงมีแผนงานโครงการการพัฒนาปรับปรุง ศึกษาสำรวจออกแบบทางแยกต่างระดับ บริเวณดังกล่าว เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัย สำหรับผู้เดินทางสัญจรเข้า-ออกสนามบินอุดรธานี ลดอุบัติเหตุของสถานศึกษา และประชาชนในบริเวณดังกล่าว และเพื่อรองรับการเจริญเติยโตของเมืองและสนามบินอุดรธานีในอนาคต
การประชุมปฐมนิเทศโครงการนี้ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของโครงการให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นมาของโครงการ วัตถุปะสงค์ในการพัฒนาโครงการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากพัฒนาโครงการ ขอบเขตการศึกษา และแผนการในการดำเนินในขั้นต่อไป พร้อมทั้งการรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อนำเอาไปใช้ในการพิจารณาประกอบการศึกษาโครงการให้มีความเหมาะสมและมีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ให้น้อยที่สุด
นายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวถึงความสำคัญของบริเวณทางแยกทางเข้าสนามท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ว่า เป็นบริเวณที่มีอัตราจราจรหนาแน่น เป็นจุดตัดที่เชื่อมต่อระห่วางจังหวัด และมุ่งสู่ภาคเหนือ และภาคอื่น ๆ หรือประเทศจีนตอนใต้ ผ่านทางหลวง R3A ประกอบกับจังหวัดอุดรธานีเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคอีสาน เป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน การบริการ การเดินทางท่องเที่ยว การคมนาคม เป็นเมืองที่มีการดเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด เป็นเมืองที่มีการพัฒนาไปทุก ๆ มิติ เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคต่าง ๆ
ด้วยเหตุผลดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน เพื่อรองรับปัญหาและความเจริญเติบโตของเมือง ที่จะมีความเปลี่ยนแปลงในอนาคตข้างหน้า โดยเฉพาะแผนงานโครงการแบบแปลน หรือมาสเตอร์แพลนที่มีความเหมาะสม เพื่อเอาไว้พัฒนาโครงการก่อสร้างเมื่อได้รับงบประมาณ เพื่อให้เกิดประโยชน์ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาพื้นที่และประชาชนน้อยที่สุด ที่สำคัญคือข้อเสนอแนะ ความต้องการของพื้นที่ ที่กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา กรมทางหลวง ต้องนำเอาไปใช้ในการพิจารณาพัฒนาโครงการ โดยมีการส่วนร่วมของประชาชนให้มากที่สุด
นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย รองประธานหอการค้าไทย ภาคอีสาน ประธานพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาในบริเวณทางแยกเข้าสนามบินอุดรธานี และจุดตัดทางหลวงหมายเลข 216 กับทางหลวงหมายเลข 2423 (ทางเข้าสนามบินอุดรธานี) ทางภาคเอกชนอุดรธานี ได้เคยเสนอประเด็นข้อปัญหา พร้อมเสนอโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ให้ ครม.สัญจรที่จังหวัดหนองคาย
เนื่องด้วยพิจารณาเห็นว่าบริเวณจุดตัดดังกล่าว เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำตัญ ในการเดินทางทางอากาศและทางบกของเมือง แต่มีสภาพคับแคบเป็นคอขวด ทำให้เป็นปัญหาการเดินทางเข้า-ออกสนามบินอุดรธานีไม่สะดวก มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะเป็นถนน 2 ช่องทางจราจร แม้ปัจจุบันได้รับการขยายถนนเป็นขนาด 4 ชิ่งจราจรแล้วก็ตาม
จึงเสนอให้มีการปรับปรุงพัฒนาเป็นทางแยกต่างระดับ มีทางยกระดับเข้าสู่สนามบินอุดรธานีโดยตรง เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการสนามบินอุดรธานี ประชาชน และสถานศึกษาในบริเวณดังกล่าว เพื่อเตรียมการรองรับการการเติบโต พัฒนาศักยภาพสนามบินอุดรธานี ที่เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่จะให้รองรับผู้โดยสารจำนวน 7.3 ล้านคนในปี พ.ศ. 2570 ช่วยลดปัญหาอุบัติเหคุ และยังสามารถเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการขนส่งสินค้าต่าง ๆ ไปยังภาคเหนืออีกด้วย