นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ สูงขึ้นร้อยละ 13.3 (YoY) มาจากปัจจัยด้านต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ราคาวัตถุดิบ ทั้งในประเทศและนำเข้า บรรจุภัณฑ์ และพลังงาน รวมถึงความต้องการของตลาด
ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 11.8 จากกลุ่มสินค้าสำคัญอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์ อาหาร เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 76.7 จากสินค้า ก๊าซธรรมชาติ น้้ามันปิโตรเลียมดิบ และแร่โลหะ และหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 7.5 เป็นผลมาจากผลปาล์มสด ยางพารา อ้อย หัวมันส้าปะหลังสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวเปลือกเจ้า สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิต ไข่ไก่ และผลิตภัณฑ์จากการประมงเนื่องจากความ ต้องการของตลาดยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มดัชนีผู้ผลิตเดือนมิถุนายนคาดว่าขยายตัวเพิ่มขึ้น จากหลายปัจจัย ราคาน้ำมันดิบที่ยังคงอยู่ในระดับสูงส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ความขัดแย้ง ระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ยังคงยืดเยื้อ และมาตรการคว่ำบาตรของประเทศต่างๆ ที่มีต่อรัสเซีย ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน การผลิต ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอต่อความต้องการ
ขณะที่การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ ระบาดของโควิด-19 ภายในประเทศ ส่งผลให้ความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น ราคาสินค้าเกษตร มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ตามความต้องการของ ภาคอุตสาหกรรมที่มีอย่างต่อเนื่อง
อาทิ ผลปาล์มสด ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวสาลี ประกอบกับหลายประเทศมีการจำกัดการส่งออก สินค้า รวมถึงต้นทุนการผลิต ทั้งราคาน้้ามัน ปุ๋ย อาหารสัตว์ และค่าขนส่งที่สูงขึ้น และการส่งออกที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ ดัชนีราคาผู้ผลิตยังคงขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม การเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในเมืองสำคัญของจีน และการแพร่ระบาดของ โรคฝีดาษลิงที่พบในหลายประเทศ โดยเฉพาะในแถบยุโรป อาจส่งผลต่อความต้องการและราคาสินค้า ซึ่งจะกระทบต่อภาคการผลิตและดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศไทยซึ่งประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ด้านนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ถึงกรณีที่ดัชนีผู้ผลิตปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนในแง่ของต้นทุนผลิตที่สูงขึ้นจากราคาพลังงานแน่นอนว่า วัตถุดิบแพงขึ้นทุกรายการ ตัวกิจการเองต้องค่อยๆปรับราคาในประเทศให้เป็นไปตามกลไกตลาด
แต่ต้องมีสเต็ปของการปรับแบบขึ้นบันได จะปรับทั้งหมดคงไม่ได้ เพื่อให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคอยู่ได้ ในส่วนภาคแรงงานนั้นแน่นอนว่าเขาต้องอยู่ได้ด้วย แต่จะปรับค่าแรงขึ้นมา 400 บาทต่อวันตามที่เรียกร้องเอกชนก็จะอยู่ไม่ได้ ซึ่งต้องค่อยๆปรับตามขั้นบันได เช่นเงินเฟ้อขึ้นมา 5% ก็อาจจะปรับ3-5% เพื่อใหทุกฝ่ายอยู่รอดได้