นายกฯ ขอความร่วมมือโรงกลั่นลด "ค่าการกลั่นน้ำมัน" หลังพบกำไรพุ่ง 10 เท่า

13 มิ.ย. 2565 | 06:00 น.
อัปเดตล่าสุด :13 มิ.ย. 2565 | 13:00 น.

นายกฯ ขอความร่วมมือโรงกลั่นลด "ค่าการกลั่นน้ำมัน" หลังพบกำไรพุ่ง 10 เท่า ระบุมีประเด็นเรื่องของกฎหมายเกี่ยวข้องไม่สามารถบังคับได้

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผดว่า ได้รับทราข้อมูลบจากนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานว่า ได้ขอความร่วมมือโรงกลั่นไปแล้วในการลดค่าการกลั่นน้ำมันเพื่อช่วยบรรเทาภาระด้านพลังงานให้กับประชาชน

 

ทั้งนี้  การดำเนินการในชั้นตอนปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการเข้าไปตรวจสอบเรื่องค่าการลั่นน้ำมัน  โดยเป็นการขอความร่วมมือเพราะมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของข้อกฎหมาย  ซึ่งรัฐบาลได้ลดในส่วนของรัฐบาลไปมากแล้ว  ในส่วนของภาษีสรรพาสามิตน้ำมันดีเซล  

 

"ค่าการกลั่นน้ำมันมีประเด็นเรื่องของข้อกฎหมายที่คุ้มครองอยู่ แต่รัฐบาลก็ได้ขอความมือกับทางโรงกลั่นไปเรียบร้อยแล้ว"  

 

นายกฯ ขอความร่วมมือลด "ค่าการกลั่นน้ำมัน" หลังพบกำไรพุ่ง 10 เท่า

 

อย่างไรก็ดี  ยืนยันว่า รัฐบาลทำทุกอย่างเต็มที่ในกรอบที่สามารถดำเนินการได้ และพยายามดูแลหลายมิติ ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าก๊าซ แม้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องหาเงินมาเสริม มากน้อยก็ต้องทำ
 

ก่อนหน้านี้นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว. พลังงาน ระบุว่า ได้สั่งการให้กระทรวงพลังงานไปหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สบค.) และกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันเพื่อศึกษาแนวทางลดราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น หรือการลดค่าการกลั่นน้ำมันลง 

 

โดยยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะลดได้กี่บาท ซึ่งทางฝั่งโรงกลั่นก็ต้องใช้เวลาในการวางแผน โดยเกณฑ์ราคาที่เหมาะสมจะต้องเป็นธรรมกับผู้บริโภคแน่นอน

 

“ตอนนี้กระทรวงพลังงานก็เร่งหารืออยู่ ซึ่งทางโรงกลั่นเค้าต้องใช้เวลา และวางแผนไม่ให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจ ลำพังอำนาจของกระทรวงพลังงานก็ทำได้ระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเพราะเกี่ยวข้องกับการค้าแบบตลาดเสรี ซึ่งต้องต้องศึกษาในแง่มุมของกฎหมาย ผสมกับการขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่ดูแลทั้งหมด เพราะหากไปบังคับอย่างเดียวก็อาจจะผิดกฎการค้าเสรีได้ ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวเคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วง 15-20 ปีก่อน แต่ไม่เคยกินระยะเวลายาวนานขนาดนี้”
 

ขณะที่ล่าสุดนายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ได้ออกมาให้ข้อมูลโดยเปรียบเทียบว่า วันนี้ประชาชนเสมือนถูกปล้นจากค่าการกลั่นน้ำมัน  โดยประเทศไทยมีโรงกลั่นส่วนใหญ่จาก บมจ. ปตท. จำกัด หรือ ปตท. ซึ่งมีกระบวนการซื้อน้ำมันดิบจากต่างประเทศเข้ามาเข้าสู่กระบวนการกลั่น  

 

หลังจากนั้น เมื่อกลั่นเสร็จก็จะนำออกมาขาย  โดยบางส่วนจะขายในประเทศ  และบางส่วนจะถูกนำไปขายต่างประเทศ หรือส่งออก  เนื่องจากไทยมีการกลั่นน้ำมันที่มากเกินความต้องการในประเทศ  

 

ทั้งนี้  หากเปรียบเทียบราคาค่าการกลั่นน้ำมันในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจะพบว่า 

 

  • วันที่ 10 มิ.ย. 63 ราคาน้ำมันดิบดูไบเมื่อเทียบเป็นราคาเงินบาทจะอยู่ที่ 8.10 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นต้นทุนที่โรงกลั่นต้องซื้อมา ขณะที่เฉลี่ยราคาขายสำเร็จรูปอยู่ที่ 8.99 บาทต่อลิตร ต้นทุนการกลั่นอยู่ที่ 88 สตางค์ต่อลิตร

 

  • วันที่ 10 มิ.ย. 64 ราคาน้ำมันดิบดูไบเมื่อเทียบเป็นราคาเงินบาทจะอยู่ที่ 14.01 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นต้นทุนที่โรงกลั่นต้องซื้อมา ขณะที่เฉลี่ยราคาขายสำเร็จรูปอยู่ที่ 14.88 บาทต่อลิตร ต้นทุนการกลั่นอยู่ที่ 87 สตางค์ต่อลิตร

 

ค่าการกลั่นน้ำมัน 3 ปีย้อนหลัง


 

  • วันที่ 10 มิ.ย. 65  ราคาน้ำมันดิบดูไบเมื่อเทียบเป็นราคาเงินบาทจะอยู่ที่ 25.92 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นต้นทุนที่โรงกลั่นต้องซื้อมา ขณะที่เฉลี่ยราคาขายสำเร็จรูปอยู่ที่ 34.48 บาทต่อลิตร  ต้นทุนการกลั่นอยู่ที่ 8.56 บาทต่อลิตร
     

"จากตัวเลขดังกล่าวถือว่าค่าการกลั่นเพิ่มขึ้น 10 เท่า ทั้งที่ต้นทุนการกลั่นไม่เปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบสูงขึ้น  แต่ราคาขายก็สูงขึ้น แต่ส่วนต่างของกำไรของเหล่าโรงกลั่นไทยเพิ่มเกือบ 10 เท่า  ซึ่งเป็นภาระของประชาชน ภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นหนี้มากขนาดนี้ โดยปัจจุบันติดลบ 8.6 หมื่นล้าน  และไม่มีคำอธิบายว่าทำไมรัฐปล่อยให้มีการทำกำไรมากขนาดนี้  ขณะทีประชาชนเดือดร้อน"