เตือน อีก 2 ปี “อียู” เก็บภาษีคาร์บอน” ฟาดหาง “ไก่เนื้อ-กุ้ง” ส่งออกเดี้ยง

13 มิ.ย. 2565 | 08:56 น.
อัปเดตล่าสุด :13 มิ.ย. 2565 | 16:26 น.

พรศิลป์ “กระทุ้ง” จัดระเบียบ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไทยก่อน ล่มสลาย นับถอยหลังอีก 2 ปี “อียู” เก็บภาษีคาร์บอน ฟาดหาง “ไก่เนื้อ-กุ้ง” ส่งออกเดี้ยง ล้มเป็นโดมิโน พร้อมอัพเดทชะลอมาตรการนำเข้าข้าวสาลี 3 : 1 ส่วน ไม่ช่วยแนะยกเลิก เลียนโมเดล “มันสำปะหลัง” นำเข้าเสรี แก้ได้ถาวร

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงตั้งแต่ภาคการเกษตร ต่อเนื่องไปยังภาคปศุสัตว์ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์และการผลิตอาหารของประเทศ โดยตลอดห่วงโซ่อุปทานนั้น มีผู้เกี่ยวข้องในระบบกว่าหลายสิบล้านคน และปัจจุบันมีมูลค่ามากกว่า  800,000 ล้านบาท และมีโอกาสเพิ่มเกิน 1 ล้านล้านบาทในอนาคตอันใกล้นี้

 

สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่มุ่งเน้นการเข้าสู่การเป็นครัวไทยครัวโลก จากสถิติ 33 ปี ย้อนหลัง พบว่าความต้องการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์มีการเติบโตเฉลี่ยปี ละ 9.2% โดยปริมาณความต้องการอาหารสัตว์ในปี 2564 อยู่ที่ 20.69 ล้านตัน ในขณะที่การเติบโตของวัตถุดิบหลักในอาหารสัตว์มีแนวโน้มทรงตัวหรือเติบโตไม่ทันต่อความต้องการใช้ ยกตัวอย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เติบโตเฉลี่ยเพียงปี ละ 1% เท่านั้น การเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ซึ่งในอดีตผลิตเพื่อส่งออก กลับกลายมาผลิตเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอาหารสัตว์ทั้งหมด

 

เตือน อีก 2 ปี “อียู” เก็บภาษีคาร์บอน”  ฟาดหาง “ไก่เนื้อ-กุ้ง” ส่งออกเดี้ยง

 

สัดส่วนการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ของไทย ประกอบด้วย วัตถุดิบหลักๆ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลิตภัณฑ์ข้าว มันสำปะหลัง และข้าวสาลี ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ให้คาร์โบไฮเดรต มีสัดส่วนของกลุ่มนี้ ประมาณ 60% ของการผลิตอาหารสัตว์ ส่วนที่เหลือจะเป็นแหล่งวัตถุดิบโปรตีน ได้แก่ กากถั่วเหลือง และปลาป่น ประมาณ 31% และอื่นๆ ซึ่งเป็นสารประกอบเสริมอีกประมาณ 9% ในการผลิตอาหารสัตว์ 20.69 ล้านตัน กว่า 60% หรือประมาณ 11 ล้านตัน เป็นการใช้วัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อทดแทนส่วนของวัตถุดิบในประเทศที่ขาดแคลนไป

 

โดยในวัตถุดิบหมวดโปรตีนมีความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองกากถั่วเหลือง ประมาณ 7 ล้านตัน ในขณะที่ผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศมีเพียง 30,000 ตัน จึงเป็นเหตุให้ต้องำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองและกากถั่วเหลือง รวมถึง กากข้าวโพด (DDGS) และโปรตีนจากสัตว์ในส่วนของวัตถุดิบหมวดคาร์โบไฮเดรต มีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ที่ 8.3 ล้านตัน

 

ขณะที่ผลผลิตในประเทศมีเพียง 4.8 ล้านตัน ยังขาดแคลนอีกประมาณ 3.5 ล้านตัน จึงต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบทดแทน อาทิ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ รวมถึงข้าวโพดชายแดน เข้ามาทดแทนส่วนที่ขาดไปการเลือกใช้วัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์จะคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ ที่เหมาะสมกับความต้องการของสัตว์แต่ละประเภท อยู่บนราคาที่แข่งขันได้ กรณี ข้าว และมันส าปะหลัง เมื่อเทียบคุณค่าโภชนาการและมีข้อจำกัดหลายอย่าง

 

 

เตือน อีก 2 ปี “อียู” เก็บภาษีคาร์บอน”  ฟาดหาง “ไก่เนื้อ-กุ้ง” ส่งออกเดี้ยง

 

อาทิ เรื่องความสะอาด และค่าการย่อยได้ หรือกลิ่น เป็นต้น จึงไม่สามารถทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ทั้งหมด และนำมาใช้ในอาหารสัตว์ได้เพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นผู้ที่พยายามเรียกร้องให้ใช้วัตถุดิบที่ผลิตภายในประเทศแทนการนำเข้า จะต้องเข้าใจถึงหลักในการเลือกใช้วัตถุดิบก่อน และหากยังมองเพียงผลประโยชน์ของเกษตรกรผู้ปลูกพืชเพียงด้านเดียว ก็เท่ากับผลักปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกพืชไปให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์แทน ซึ่งไม่ได้เกิดการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง

 

 

ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่านโยบายของภาครัฐและนโยบายของต่างประเทศมีผลต่อการกลไกตลาดในดำเนินธุรกิจโดยรวมทั้งหมด ปัจจุบันไทยมีการปล่อยให้มีการส่งออกวัตถุดิบเสรี และควบคุมการนำเข้า ซึ่งส่งผลต่อความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจอาหารสัตว์และภาคปศุสัตว์เป็นอย่างมาก จากมาตรการปกป้องเกษตรกรที่ขาดการพัฒนาควบคู่กันไป รวมทั้งการปกป้องผลประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่ม ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และปศุสัตว์ถูกบั่นทอนความสามารถในการแข่งขันเป็นอย่างมาก

 

โดยจะส่งผลต่อเนื่องไปยังภาคการส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทำให้ไม่สามารถแข่งขันทางด้านต้นทุนกับต่างประเทศได้ และท้ายที่สุดจะย้อนกลับมากระทบกับต้นน้ำ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแปรรูปเนื้อสัตว์ เกษตรกรผู้เลี้ยง สัตว์ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ หรือแม้กระทั่งเกษตรกรผู้ปลูกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้ไม่สามารถอยู่ได้ต่อไป

 

เตือน อีก 2 ปี “อียู” เก็บภาษีคาร์บอน”  ฟาดหาง “ไก่เนื้อ-กุ้ง” ส่งออกเดี้ยง

 

ปัจจุบันผู้ผลิตอาหารสัตว์ได้ดำเนินการตามนโยบายภาครัฐ โดยจะต้องรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศทุกเมล็ดในราคาประกันที่ 19.75 บาท/กก. และจะต้องให้ความร่วมมือรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในราคาไม่ต่ำกว่า 8 บาท/กิโลกรัม เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศ แต่มาตรการนี้ไม่ต้องแล้วเนื่องจากราคาข้าวโพดปรับราคาสูงเกินพ้นจากราคานี้ไปแล้ว

 

“ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ถือเป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญในการผลิตอาหารสัตว์ ประเทศไทยมีปัญหาในด้านประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอย่างมาก เนื่องจากผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของไทยอยู่ที่ 724 กก.เท่านั้น ในขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 955 กก. และยิ่งเทียบไม่ได้กับประเทศที่มีผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอันดับหนึ่งของโลกอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ถึง 1,825 กก.

 

ประกันรายได้มันสำปะหลัง งวดที่ 7

 

ด้วยเหตุนี้ เองข้าวโพดไทยจึงมีต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงกว่าในหลายประเทศ สาเหตุหลักที่ทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ นั้นมาจากระบบบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูก เนื่องจากประเทศไทยใช้พื้นที่ทำการเกษตรมาอย่างยาวนานขาดการบำรุงรักษาดินที่ดี อีกทั้งยังขาดแหล่งน้ำในการเพาะปลูก เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาแหล่งน้ำธรรมชาติ(น้ำฝน) ทำให้ไม่สามารถควบคุมการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้

 

ในขณะที่เมล็ดพันธุ์ลูกผสมของไทย ถือว่าเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและมีการผลิตจำหน่ายไปยังประเทศต่างๆในอาเซียน แต่ในประเทศไทยเองกลับปลูกได้ผลผลิตที่ต่ำกว่า อย่างไรก็ตามในบางพื้นที่ของไทยที่มีการบริหารจัดการดินและน้ำได้ดี ก็ทำให้มีผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,500 กก.(เมล็ดแห้งความชื้น 14.5%) ได้แต่ในอีกหลายพื้นที่ซึ่งใช้เมล็ดพันธุ์ชนิดเดียวกันกลับมีผลผลิตต่อไร่เพียง 500 กก.เท่านั้น

 

ปัญหาการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกจึงเป็นปัญหาหลักที่ควรแก้ไขเป็นลำดับแรก ประเทศไทยมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) แต่มิได้มีการบังคับใช้ตลอดระยะเวลา 5-6 ปี ที่ผ่านมา มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดที่ได้รับการรับรอง GAP เพียงหลักหมื่นไร่เท่านั้น หากมีการผลักดันให้มีการเพาะปลูกตามหลัก GAP แล้วจะช่วยให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนเกษตรกรได้เป็นอย่างดีและยังแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมลดการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรได้อีกด้วย

 

เป็นระยะเวลากว่า 7 ปี แล้ว ที่สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องดังกล่าว โดยมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้บริบทการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ จึงสามารถตอบได้ในวันนี้ ว่าไม่ได้เริ่มจากศูนย์ แต่อย่างไรก็ตามหากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านต่างๆไม่เห็นความสำคัญและไม่ร่วมมือในการส่งเสริมกิจกรรมเหล่านี้ ก็คงยากที่จะประสบผลสำเร็จ

 

เตือน อีก 2 ปี “อียู” เก็บภาษีคาร์บอน”  ฟาดหาง “ไก่เนื้อ-กุ้ง” ส่งออกเดี้ยง

 

“วันนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเกษตรกร ต้องเริ่มอย่างจริงจังแล้ว ในเรื่องการปลูกจะต้องได้มาตรฐาน การใช้ การลดคาร์บอน ตอนนี้ยังปลูกกันสะเปะสะปะ อนาคตถ้าไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้ทางหลายบริษัทไม่สามารถซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ หากซื้อแล้ว นำไปเป็นอาหารสัตว์ให้กับไก่เนื้อ หรือกุ้ง ก็จะโดนปรับค่าคาร์บอนที่อียู หรือสหภาพยุโรป

 

“ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์"  ไทยจ่อล่มสลายถ้าไม่สามารถพิสูจน์จำนวนคาร์บอนที่ชั้นบรรยากาศได้ต่ำกว่าข้าวโพดทั่วโลก แต่วันนี้เกษตรกรไทยยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากกระทรวงเกษตรฯ หรือ หน่วยงานใดก็ตามว่าจะให้ปลูกอย่างไรที่สามารถช่วยลดคาร์บอนได้ จะโยงเกี่ยวกับปุ๋ย และน้ำ การใช้ที่ดิน ไม่มีวี่แววเลย เอกชนเตือนแล้วเตือนอีก เพราะเราต้องใช้ข้าวโพดไปเกี่ยวกับสินค้าปศุสัตว์ แล้วถ้าหากว่าไม่ทำภายใน 2 ปีนี้ ทางอียูจะออกมาตรการทั้งภาครัฐและเอกชนในการเก็บภาษีสินค้าปศุสัตว์

 

อาทิ สินค้าไก่เนื้อ และ สินค้ากุ้ง และผลิตภัณฑ์ ส่งเข้าอียู ในอัตราที่สินค้ามีคาร์บอนสูงกว่ายุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนระบบตรวจสอบย้อนกลับไม่ได้ อัตราภาษียิ่งแพง โดยเฉพาะภาษีนำเข้า หากยิ่งจ่ายแพง ก็ยิ่งขายไม่ได้ ก็อาจจะเสียตลาดให้กับคู่แข่งที่ทำดีกว่า ซึ่งตอนนี้ไม่มีใครรู้ว่าแต่ละประเทศทำอะไรกันบ้าง แต่วันนี้เรารู้ศักยภาพประเทศไทย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีปัญหาแน่ถ้าไม่จัดระเบียบในตอนนี้ล่มสลายแน่ๆ จะเป็นลูกโซ่ต่อเนื่อง ทั้งมันสำปะหลัง ด้วย เตือนไม่รู้กี่ครั้งแล้ว ก็ไม่วี่แววจะทำ เหมือนทุเรียนในตอนนั้น บอกว่าถ้ามี GMP จะส่งออกไม่ได้ ไม่มีการถอดบทเรียนดังกล่าวเลยจะซ้ำรอย ไม่ได้ขู่ แต่เป็นเรื่องจริง กำลังจะเกิดขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ได้เห็นกันแน่นอน

 

นายพรศิลป์ กล่าวอีกว่า  ทางสมาคมได้ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมการค้าภายใน สำเนาเรียน 1.ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี2.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 3.ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การพิจารณามาตรการอื่นเพื่อบรรเทาต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์   ซึ่งตามที่ กระทรวงพาณิชย์ได้มีประกาศผ่อนปรนมาตรการการน าเข้าข้าวสาลี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้กรอบ WTO รวมถึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน (ข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์) โดยมีสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเป็นอนุกรรมการ และได้มีการดำเนินการประชุมแล้วทั้งสิ้น 4 ครั้ง ซึ่งที่ประชุมมีการพิจารณาแผนการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้กรอบ WTO และแผนการนำเข้าข้าวสาลี

 

แต่ยังมิได้ข้อสรุปในการดำเนินการเรื่องแผนการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในกรอบ AFTA ซึ่งจะมีผลต่อการวางแผนนำเข้าของสมาชิกสมาคม เนื่องจากจำกัดจำนวนนำเข้าข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ทุกช่องทางไว้ที่ 1.2 ล้านตัน ตลอดระยะเวลาที่มีการผ่อนปรนมาตรการ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศยังคงปรับตัวสูงขึ้นเป็นระยะโดยเมื่อวันที่ 10 พ.ค.2565 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มมีผลผ่อนปรนมาตรการ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้ออยู่ที่ 13 บาท/กก. แต่ ณ วันที่ 30 พ.ค.2565 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ที่ 13.30 บาท/กก. แสดงให้เห็นว่ามาตรการผ่อนปรนนั้นไม่เพียงพอ ภาระต้นทุนวัตถุดิบยังคงเพิ่มขึ้น และขณะนี้สมาชิกสมาคมหลายรายได้แจ้งขอปรับราคาจำหน่ายอาหารสัตว์ณ โรงงาน (Price list) มาแล้วนั้น

 

ทางสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย จึงขอเรียนมายังอธิบดีกรมการค้าภายใน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาดำเนินการ ดังนี้

 

1. เร่งจัดทำแผนการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในกรอบ AFTA เพื่อไม่ให้กระทบกับแผนการนำเข้าวัตถุดิบของสมาชิกสมาคมภายใต้มาตรการผ่อนปรน (ตัวเลขที่ใช้ประชุมในคณะอนุกรรมการเป็นเพียงจำนวนนำเข้าจากกรมปศุสัตว์ และกรมศุลกากร ไม่ใช่แผนการนำเข้า)

 

2. เร่งพิจารณาการขอปรับราคาจำหน่าย ณ โรงงาน (Price List) ของสมาชิกสมาคม ให้ทันกับสถานการณ์ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง เพื่อบรรเทาภาวะขาดทุนจนต้องหยุดการผลิต

 

3. เร่งปรับลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์โดยเฉพาะภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% เพื่อบรรเทาต้นทุนในสภาวะการณ์วิกฤติเช่น

 

ถอดรหัส "ประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์"

 

นายพรศิลป์ กล่าวในตอนท้าย  มาตรการดังกล่าวนี้ไม่ได้ช่วยทำให้ราคาปรับลง ราคาที่นำเข้า กับราคาข้าวโพดในประเทศ สูสีกัน ไม่ได้ช่วยทำให้ราคาดีขึ้น ดังนั้นต้องรอลุ้นข้าวโพดในรอบนี้ที่จะออกมาราคาเท่าไร แต่ดีที่สุดให้ยกเลิกมาตรการ 3 ต่อ 1 นำเข้าข้าวสาลีไปเลย เพราะเกษตรกรได้รับเงินการันตีจากรัฐบาลอยู่แล้ว เมื่อได้ไปแล้วก็ไม่ควรที่จะจำกัดอะไรทั้งนั้น เหมือนกับสินค้ามันสำปะหลัง มีประกันรายได้เกษตรกร แล้วปล่อยฟรีนำเข้า อย่างนี้ถึงจะเป็นธรรม ทุกภาคส่วนยอมรับได้

 

 

 

อัพเดท

อาหารสัตว์วัดใจ หยุด-ไปต่อ รัฐบีบเร่งนำเข้าข้าวสาลีใน 3 เดือน ไม่ตอบโจทย์

ไฟเขียว เว้นมาตรการ 1:3 นำเข้าข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด 1.5 ล้านตัน