จากกรณีที่ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เตรียมดำเนินโครงการ “รัฐทัวร์ทั่วไทย” ซึ่งเป็นโครงการกระตุ้นการเดินทางและการใช้จ่ายจากการท่องเที่ยว ผ่านการส่งเสริมเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือข้าราชการลาหยุดเดินทางท่องเที่ยวไม่นับเป็นวันได้ 2 วัน โดยสรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ “รัฐทัวร์ทั่วไทย”
เพื่อส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวของข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในแนวทางการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยว และการกระตุ้นการใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น โดยขอให้มีการปฏิบัติงานนอกสถานที่ได้ มีลักษณะเดียวกับแนวทางการส่งเสริม Workation หรือการทำงานในขณะท่องเที่ยว
ที่ผ่านมากระทรวงการท่องเที่ยวฯ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ส่งเสริมการท่องเที่ยวในลักษณะนี้ในภาคเอกชน หรือมีลักษณะเดียวกับ Work From Anywhere คือการปฏิบัติงานจากที่ไหนก็ได้ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีองค์กรหลายแห่งสนับสนุนการทำงานในลักษณะนี้หลายแห่ง
เงื่อนไขของโครงการ “รัฐทัวร์ทั่วไทย”
ระยะเวลาการดำเนินโครงการ “รัฐทัวร์ทั่วไทย”
ผลที่จะได้รับจากโครงการ “รัฐทัวร์ทั่วไทย”
น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงรายละเอียดโครงการรัฐทัวร์ทั่วไทย ว่า ททท.กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดของโครงการเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา หลังจากผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) แล้ว
เบื้องต้น ประเมินว่าจะมีจำนวนข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ 2.5 ล้านคน คาดว่า 90% ของคนกลุ่มนี้จะเข้าร่วมโครงการลาหยุดไปทำงานนอกสถานที่ 2 วัน ในช่วง 6 เดือนที่เหลือของปี 2565 โดยสามารถเดินทางไปวันไหนก็ได้ แต่ขอให้เป็นวันธรรมดา
พร้อมกันนี้อาจขอความร่วมมือว่า การเดินทางไปท่องเที่ยวขอให้เดินทางไปยังเมืองรองที่มีอยู่ 55 จังหวัดเป็นหลัก เพื่อจะช่วยกระจายรายได้ลงไปถึงพื้นที่ เพราะกลุ่มกำลังคนของรัฐ ถือเป็นกลุ่มที่มีรายได้มั่นคงแน่นอน ไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องของผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 มากนักเมื่อเทียบกับผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น ๆ
โดยในการเดินทางไปท่องเที่ยวนั้น หน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นต้นสังกัดอาจกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ว่า เมื่อลาหยุดแล้ว อาจให้ไปเที่ยวหรือมีการทำงานในลักษณะต่าง ๆ เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับพื้นที่ที่จะเดินทาง เช่น ไปเที่ยวยังสถานที่ที่ตอบกระแสการท่องเที่ยวชุมชน เทศกาลประจำภาค การส่งเสริมวัฒนธรรม วิถีชีวิต ธรรมชาติ หรือสนับสนุนพื้นที่ที่สร้าง Soft Power เป็นต้น
น.ส.ฐาปนีย์ กล่าวว่า ตอนนี้ททท.กำลังสรุปรายละเอียดขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับตัวเลขทางเศรษฐกิจจากโครงการรัฐทัวร์ทั่วไทย เบื้องต้นด้วยจำนวนกำลังคนภาครัฐที่มี 2.5 ล้านคน เฉลี่ยแล้วจะมีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อทริปประมาณ 4,100 บาท ถ้าเดินทางประมาณ 90% จะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างน้อย 5 หมื่นล้านบาท
"ตามปกติแล้ว ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ อยู่ที่ประมาณ 4,100 ต่อคนต่อทริป เพิ่มขึ้นมาจากเดิมเล็กน้อย และตามปกติหากคิดถึงมูลค่าที่จะลงไปสูงเศรษฐกิจจะคูณ 7 เท่า แต่ในกรณีนี้จะคูณประมาณ 2.5 เท่าเงิน ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนอุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดคนไทยเที่ยวไทยทั้งปีแตะ 160 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้ประมาณ 6.56 แสนล้านบาท ตามเป้าหมาย”