นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการดูแลราคาสินค้าว่า กระทรวงพาณิชย์จะใช้ ”วิน-วิน โมเดล” และนโยบายทั้งเชิงรุกและเชิงลึก ดูลึกในสินค้าแต่ละตัวอะไรที่ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นจริงและสูงขึ้นเท่าไหร่ จนกระทั่งการผลิตขาดทุนหรือเดินหน้าต่อไม่ได้
โดยต้องพิจารณาว่าการปรับราคาควรเป็นเท่าไหร่ให้น้อยที่ส่าดให้ผู้บริโภคเดือดร้อนน้อยที่สุด ซึ่งเป็นอำนาจของกรมการค้าภายในไปช่วยดู กระทรวงพาณิชย์พยายามกำกับราคาจำหน่ายไม่ให้ขึ้นสูงจนทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อนจนเกินสมควร แต่ถ้าอะไรจำเป็นต้องปรับต้องมีราคากำกับดูแล ถ้าขายเกินถือว่าค้ากำไรเกินควร ปัจจุบันที่ติดตามตลอด
ส่วนกรณีที่ผู้ผลิตมาม่าของปรับขึ้นราคามาที่รมการค้าภายในนั้นกรมการค้าภายในจะเป็นผู้พิจารณาอะไรที่จะมีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ก็จะต้องดูด้วยความรอบคอบและดูให้ลึกในรายละเอียดจริงๆ แต่ไม่ได้แปลว่าจะดูเฉพาะผู้บริโภค ผู้ประกอบการไม่สนใจต้องให้ความสำคัญกับทุกฝ่ายเพราะถ้าผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้ของก็จะขาด ต้องดูให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน
และ ให้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของแต่ละยี่ห้อ แต่ละล็อตการผลิตดูลึกขนาดนั้น เพื่อดูแลผู้บริโภคให้ดีที่สุด ล็อตไหนต้นทุนไม่ขึ้นมากก็ขึ้นราคามากไม่ได้ ล็อตไหนที่ต้นทุนอยู่เท่าเดิมก็จะตรึงราคาไว้ ล็อตไหนที่ต้นทุนสูงขึ้นจริงก็จะพิจารณาตามข้อเท็จจริง ซึ่งถ้าต้นทุนสูงขึ้นจริงก็จะต้องปรับเพื่อให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจต่อไปได้ ไม่เช่นนั้นของจะขาดแทนที่จะมีปัญหาเรื่องราคาข้อเดียว ซึ่งจะดูให้พออยู่ได้และขึ้นราคาไปน้อยที่สุด เพื่อให้กระทบประชาชนผู้บริโภคส่วนใหญ่ของประเทศน้อยที่สุด