แหล่งข่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในเรื่องแผนงานโครงการของกรมการข้าว ที่มีการกล่าวถึงในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยเฉพาะประเด็นของการลดต้นทุนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยจัดสรรงบประมาณเพื่ออุดหนุนผ่าน "ศูนย์ข้าวชุมชน" ให้เกษตรกรนำไปจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร วงเงินงบประมาณ 15,260 ล้านบาท ว่าเป็นโครงการที่ไม่โปร่งใสและจะเกิดประโยชน์แก่ขาวนาอย่างแท้จริง นั้นได้มีการชี้แจง ดังนี้
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) มีภารกิจในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีการทบทวนและปรับปรุงผสสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ เป้าหมายการให้บริการกระทรวง และจัดทำแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การประชุมหารือแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน การประชุมหารือการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีร่วมกับสำนักงบประมาณ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหัวหน้าส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ เข้าร่วมการประชุมหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกำหนดให้หน่วยงานจัดทำ แผนงานโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
เพื่อรวบรวม ประมวลวิเคราะห์ คำของบประมาณรายจ่ายประจำปีของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความเห็นชอบ ซึ่งคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้ส่งให้สำนักงบประมาณเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565
หากย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 สำนักงบประมาณได้ประสานเพื่อประชุมหารือเป็นการภายในกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมการข้าว (กรมการข้าวไม่ได้เข้าร่วมประชุมหารือด้วยเนื่องจากติดภารกิจ) เพื่อหารือการเสนอขอตั้งงบประมาณโครงกรสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 หรือ “เงินช่วยเหลือชาวนา” โดยจะขอให้กรมการข้าวเป็นผู้เสนอขอตั้งงบประมาณปี 2566 วงเงินโดยประมาณ 54,000 ล้านบาท ซึ่งสำนักงบประมาณมีข้อสังเกตในการขอตั้งงบประมาณเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในช่วงเวลาที่ผ่านมา ดังนี้
1.การขอตั้งงบประมาณของโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ธ.ก.ส.เป็นผู้ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยรัฐบาลชำระคืนเงินต้นและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการ (ธ.ก.ส. จ่ายเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ของเกษตรกรเป็นรายบุคคล แล้วจึงตั้งงบคืนในปีถัดไป) วงเงินงบประมาณ ประมาณ 54,000 ล้านบา เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย 3 รายการ ได้แก่
1.ชดเชยงบประมาณจ่ายขาดให้เกษตรกร ประมาณ 53,000 ล้านบาท
2.ชดเชยต้นทุนเงินของ ธ.ก.ส. ประมาณ 1,077 ล้านบาท
3. ค่าบริหารจัดการของ ธ.ก.ส. ประมาณ 23 ล้านบาท
ซึ่งสำนักงบประมาณเห็นว่า งบประมาณสำหรับชดเชยตันทุนเงินของ ธ.ก.ส. และ ค่าบริหารจัดการของ ธ.ก.ส. เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของแผ่นดิน
สำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าว โดย ธ.ก.ส. ไม่มีการติดตามประเมินผล มีเพียงรายงานการโอนงบประมาณให้เกษตรกร ตังนั้น สำนักงบประมาณจึงเห็นว่า หากตั้งงบประมาณที่ กรมการข้าว จะได้มีการติดตามประเมินผลว่าเกษตรกรที่ใด้รับเงินอุดหนุน นำเงินไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่
สำนักงบประมาณ ต้องการผลักดันงบประมาณก้อนนี้มาเป็นรายจ่ายลงทุนเพื่อเพิ่มสัดส่วนงบรายจ่ายลงทุนต่องบรายจ่ายประจำในภาพรวมระดับประเทศ โดยจากการประสานผู้แทนสำนักงบประมาณได้ข้อมูลว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาจไม่จำเป็นต้องตั้งงบประมาณครบตาม จำนวนเดิม คือ 53,000 ล้านบาท แต่สามารถจัดทำเป็นโครงการใหม่ที่ใช้งบประมาณลดลงก็ใด้ แต่ต้องเป็นการจ่ายในลักษณะรายจ่ายลงทุน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
อย่างไรก็ดีในวันนั้นผู้แทน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ให้ได้ความเห็นในการหารือดังกล่าวว่า การตั้งของบประมาณ 53,000 ล้านบาท จะต้องไม่กระทบกับเพดานงบประมาณของของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการจัดทำโครงการในลักษณะรายจ่ายลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่จะเบิกจ่ายได้ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพาการใช้จ่ายและเบิกจ่ายงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีการติดตามผลการเบิกจ่ายเพื่อรายงานผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประจำทุกเดือน และรายงานสำนักงบประมาณ เป็นประจำทุกไตรมาส
"การเปลี่ยนแปลงโครงการไปจากเดิมที่ ธ.ก.ส. จ่ายเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธ.ก.ส.ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นรายบุคคล จำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์ในเชิงนโยบายให้ทราบทั่วกันก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงการไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิดความไม่เข้าใจของภาคเกษตรกรและทำให้เป็นภาระความยุ่งยากแก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้"
อย่างไรก็ดี ในภายหลังสำนักงบประมาณได้ประสานกรมการข้าวโดยตรงเพื่อจัดทำรายละเอียดโครงการและส่งคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในภาพรวมของกรมการข้าว ตามปฏิทินงบประมาณ มาที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เพื่อประมวลเป็นงบประมาณภาพรวมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำเรียนปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความเห็นชอบ และจัดส่งให้สำนักงบประมาณตามลำดับ
ขณะที่ นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2565 เรื่องขอข้อมูลการจัดทำและเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2566 โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีการกล่าวถึงในการพิจารณาชั้นกรรมาธิการฯ ประเด็นการลดต้นทุนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ผ่านศูนย์ข้าวชุมชน วงเงิน 15,260 ล้านบาท ภายในวันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา พร้อมให้รับรองสำเนาถูกต้องเอกสารทุกฉบับ
อีกด้านหนึ่งสั่งให้ตรวจสอบทุกโครงการที่หน่วยงานในกำกับดูแล ได้แก่ กรมปศุสัตว์ กรมการข้าว สำนักงานมาตรฐาน และองค์การสะพานปลา นำเสนอโครงการเพื่อของบประมาณทั้งหมด เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกรโดยเฉพาะ ในส่วนของกรมการข้าว มีการเสนอเพิ่มเติมในส่วนของงบประมาณ ซึ่งมากกว่าปี 2565 กว่า 16,214 ล้านบาทเศษ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ในเรื่องการเสนอโครงการต่างๆ ไม่เคยผ่านมายังหน้าห้องรัฐมนตรีที่กำกับดูแลโดยตรง จึงทำให้ไม่ทราบเรื่องงบประมาณที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
ล่าสุด นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย แจ้งข่าวดีแก่พี่น้องชาวนาทั้งประเทศ ว่า นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้ กมธ. แขวนเรื่องดังกล่าวนี้ไว้แล้ว อย่างไรก็ดีในวันพรุ่งนี้ (7 ก.ค.65) หากมีโอกาสจะสอบถามความชัดเจนจากนายกรัฐมนตรีอีกครั้งที่จะมาพบกันที่ โครงการขาณุโมเดล จังหวัดกำแพงเพชร