"ฟรุ้ทบอร์ด" ลุยต่อ สั่งรับมือผลไม้ใต้-ลำไยเหนือทะลัก

13 ก.ค. 2565 | 08:33 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ก.ค. 2565 | 15:56 น.

"ฟรุ้ทบอร์ด"พอใจส่งออกผลไม้ไปจีนครึ่งปีแรกทำรายได้กว่า 8 หมื่นล้าน ลุยต่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าผนึก “คพจ.” 22 จังหวัดรับมือผลไม้ใต้-ลำไยเหนือทะลัก 1.2 ล้านตัน พร้อมเห็นชอบโครงการช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนลำไยจากผลกระทบโควิด-19

 

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (ฟรุ้ทบอร์ด)ได้มอบหมาย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ครั้งที่ 3/ 2565

 

โดยนายอลงกรณ์เปิดเผยภายหลังการประชุม (13 ก.ค.2565) ว่า ที่ประชุมพอใจผลงานการส่งออกผลไม้ครึ่งปีแรกของปีนี้เกิน 1 ล้านตัน มากกว่าปีที่แล้วกว่า 120,000ตัน สร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ประกอบการและประเทศกว่า 8 หมื่นล้านบาท และผลการดำเนินการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก โดยที่ประชุมได้แสดงความพอใจ และกำชับให้เตรียมพร้อมล่วงหน้ารับมือลำไยภาคตะวันออกที่จะออกช่วงปลายปี พร้อมเห็นชอบโครงการช่วยเหลือเยียวยาชาวสวนลำไยฤดูกาลที่แล้วจากผลกระทบโควิด-19

 

\"ฟรุ้ทบอร์ด\" ลุยต่อ สั่งรับมือผลไม้ใต้-ลำไยเหนือทะลัก

 

ที่ประชุมยังมอบหมายให้ นายสมชวน  รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าภาคใต้ และนายชาตรี บุนนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าภาคเหนือประสานการทำงานกับคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานเป็นแกนหลักบริหารจัดการเชิงรุกผลไม้ใต้ ลำไยเหนือ 22 จังหวัดในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

 

อลงกรณ์  พลบุตร

 

นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า ดร.เฉลิมชัย ได้มอบหมายฟรุ้ทบอร์ดยกระดับนโยบาย “คุณภาพและมาตรฐานผลไม้”และให้เร่งเดินหน้าแผน 5 ปีคือ แผนปฏิบัติการพัฒนาผลไม้ปี 2565-2570 เพื่อเพิ่มศักยภาพสู่เป้าหมายเกษตรมูลค่าสูง โดยเน้นการพัฒนาพันธุ์ การใช้เทคโนโลยีในการผลิต การเพิ่มการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างแบรนด์ผลไม้ การใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability system)

 

รวมถึงการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ และการปฏิรูปการบริหารจัดการผลไม้ของฟรุ้ทบอร์ดอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของผลไม้ไทยตลอดห่วงโซ่การผลิตการแปรรูปจนถึงการตลาด เพื่อรับมือกับการเพิ่มขึ้นของพื้นที่การปลูกทุเรียน ตลอดจนการแข่งขันที่จะเพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกในจีนและทั่วโลก

 

\"ฟรุ้ทบอร์ด\" ลุยต่อ สั่งรับมือผลไม้ใต้-ลำไยเหนือทะลัก

 

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบ ดังนี้

1.การแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนามังคุดมะม่วง และมะพร้าว ตามข้อเสนอของเกษตรกรผู้ทรงคุณวุฒิมีหน้าที่จัดทำแผนและพัฒนามังคุดมะม่วงและมะพร้าวแบบครบวงจรซึ่งเป็นคณะทำงานชุดใหม่เพิ่มเติมจากคณะทำงานทุเรียนและคณะทำงานลำไยตามแนวทางการบริหารเชิงรายผลไม้เศรษฐกิจ (product based)

 

2.รายงานการศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าลำไยต่อคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ และ มอบหมายให้คณะอนุกรรมการและคณะทำงานภายใต้คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลรายงานการศึกษาฯ เพื่อประกอบการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการพัฒนาและบริหารจัดการลำไยทั้งระบบต่อไป

 

3.แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลำไย) ปี 2565 จำนวน 764,777 ตัน

 

\"ฟรุ้ทบอร์ด\" ลุยต่อ สั่งรับมือผลไม้ใต้-ลำไยเหนือทะลัก

 

4.แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2565 รวม 487,459 ตัน ได้แก่ ทุเรียน จำนวน 382,873 ตัน, มังคุด จำนวน 56,340.ตัน, เงาะ จำนวน 41,714.ตัน, และลองกอง จำนวน 6,532.ตัน โดยมอบหมายศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้าประสานคพจ.เป็นแกนหลักในการบริหารจัดการผลไม้กรณีที่การบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่มีปัญหาให้ประสานกับฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการสนับสนุนการปฏิบัติงานช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

 

5.โครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2564/2565 มอบฝ่ายเลขานุการฯ จัดทำ “ข้อเสนอเพื่อการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรชาวลำไยปี 2564/65” เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปภายใต้สถานะการคลังโดยมีเงื่อนไขและกรอบแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาดังนี้

 

(1) ขนาดพื้นที่ปลูกรายละไม่เกิน 25 ไร่ ในอัตรา 2,000 ต่อไร่หรือ 1,500 ต่อไร่ หรือ 1, 000 ต่อไร่

หรือ(2) ขนาดพื้นที่ปลูกรายละ ไม่เกิน 15 ไร่ ในอัตรา 2,000 ต่อไร่ หรือ1,500 ต่อไร่ หรือ 1, 000 ต่อไร่

 

(3)มาตรการช่วยเหลือเยียวยาด้านอื่นๆเช่น มาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อด้านหนี้สินและดอกเบี้ยโดยธกส.เป็นต้น

(4)เป็นเกษตรกรชาวสวนลำไยที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปี 2564 กับ กรมส่งเสริมกาคเกษตรเรียบร้อยแล้ว ตัดยอดข้อมูล ณ วันที่ 31 พค 65 ซึ่งปลูกลำไยที่ให้ผลผลิตได้แล้ว โดยใช้เกณฑ์อายุต้น 5 ปีขึ้นไป

 

\"ฟรุ้ทบอร์ด\" ลุยต่อ สั่งรับมือผลไม้ใต้-ลำไยเหนือทะลัก

 

ที่ประชุมยังรับทราบรายงานต่อไปนี้

 1.สรุปผลการประชุมเฉพาะกิจจากการตรวจราชการลงพื้นที่ของ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

1.1 รายงานการลงพื้นที่ภาคเหนือเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 เพื่อติดตามความพร้อมในการบริหารจัดการผลไม้ล่วงหน้าภาคเหนือ ปี 2565 และศึกษามาตรการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไยในฤดูกาลผลิตที่ผ่านมาพร้อมรับฟัง ปัญหาและอุปสรรค การคาดการณ์ผลผลิต เพื่อนำมาปรับปรุงกลยุทธ์ในการบริหารจัดการผลไม้ในฤดูกาลผลิต ปี 2565

 

1.2 รายงานการลงพื้นที่ภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565เพื่อประชุมเฉพาะกิจเตรียมการบริหารจัดการผลไม้ล่วงหน้าภาคตะวันออก ปี 2565 และการศึกษามาตรการเยียวยาช่วยเหลือชาวสวนลำไยฤดูกาลผลิตที่ผ่านมาโดยรับฟังความเห็นจาก เกษตรกรสวนลำไย ผู้ประการการล้งลำไยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

1.3 รายงานการลงพื้นที่จังหวัดภาคใต้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2566เพื่อประชุมเฉพาะกิจแนวทางการบริหารจัดการผลไม้14จังหวัดภาคใต้ (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2565 และรับทราบรายงาน สถานการณ์การผลิต การขนส่ง การบูรณาการจัดทำแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ ตลอดจนพิจารณาปัญหาและอุปสรรค คาดการณ์ผลผลิต และความพร้อมของมาตรการในการขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้

 

2.รายงานสถานการณ์การผลิตไม้ผล ปี 2565 จากคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 

3.รายงานความก้าวหน้าของคณะทำงานศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าลำไย โดยผู้แทนคณะทำงานศึกษาเสถียรภาพกลุ่มสินค้าลำไย

 

4.สรุปผลการบริหารจัดการผลไม้ปี 2565 ประจำฤดูกาลผลิตที่ 1/2565 (เมษายน – มิถุนายน) โดย กรมส่งเสริมการเกษตร

5.รับทราบรายงานการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 1-7 กรกฎาคม 2565 ของนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกรเทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะ ตามนโยบายของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขยายความร่วมมือทางด้านการเกษตรกับประเทศญี่ปุ่นในมิติต่าง ๆ

 

โดยได้พบหารือกับองค์การเกษตรและการวิจัยแห่งชาติญี่ปุ่น(NARO:National Agriculture and Research Organization) มหาวิทยาลัยทากะซากิ บริษัทการค้าและโลจิสติกส์ บริษัทวิจัยและพัฒนาแมลงและสาหร่ายโดยเฉพาะการร่วมประชุมหารือกับนายคูนิอากิ คาวามูระ (Mr. Kuniaki Kawamura) ประธานสภาความร่วมมือภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และภาครัฐ (The Council of Industry-Academia-Government Collaboration)ซึ่งมีแพลตฟอร์มเพื่อการวิจัยและพัฒนาในการเป็นแหล่งองค์ความรู้ การบูรณาการและนวัตกรรม (Filed for Knowledge, Integration & Innovation หรือ FKII) อยู่ภายใต้กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF)

 

ทั้งนี้ FKII สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ในหลากหลายด้าน อาทิ เกษตรอัจฉริยะ  การพัฒนาวิศวกรรมพันธุ์พืช อาหารสุขภาพ เครื่องจักรกลเกษตร ฯลฯ และ FKII มีสมาชิกกว่า4,200องค์กรมีแพลตฟอร์มเพื่อการวิจัยและพัฒนาถึง 72 กลุ่ม สอดคล้องกับแนวนโยบายของ รมว.เกษตรฯ ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นแหล่งอาหารของโลก โดยการวิจัยและพัฒนาการใช้วัตถุดิบในการผลิตที่ให้คุณค่าทางสารอาหาร ในขณะที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการเกิดปัญหาภาวะโลกร้อน และลดการสูญเสียอาหาร (Food loss)

 

โดย นายอลงกรณ์ มอบหมายฝ่ายเลขานุการฟรุ้ทบอร์ดติดต่อสำนักงานที่ปรึกษาเกษตรต่างประเทศ ณ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อประสานความร่วมมือข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)  ด้านพัฒนาการผลิตผลไม้ อาทิ R&D Platform ภายใต้โครงการการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ จากประเทศญี่ปุ่น รวมทั้ง การพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์ และโลจิสติกส์ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ภายในประเทศ และ พร้อมนำเสนอคณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งต่อไป