เงินเฟ้อทั่วโลกพุ่งกระทบกำลังซื้อ GIT เร่งฟื้นตลาดส่งออกอัญมณีไทย

21 ก.ค. 2565 | 19:00 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ก.ค. 2565 | 23:23 น.

เงินเฟ้อทั่วโลกพุ่งกระทบกำลังซื้อ-พฤติกรรมของผู้ซื้อที่เปลี่ยนแปลงไป GIT เร่งฟื้นตลาดส่งออกอัญมณีไทย  เตรียมจัดงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair ครั้งที่ 67  ระหว่างวันที่ 7 - 11 กันยายนนี้

นายสุเมธ  ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบัน GIT บอกว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย ทำให้การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย เริ่มกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น หลังจากในปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบหนัก หดตัวสูงถึง 40% แต่ในปี 2564 ที่ผ่านมา แม้จะเริ่มกลับมาขยายตัวได้ 26% และ 5 เดือนแรก ของปีนี้ บวกถึง 46.9% แต่ไทย ยังจำเป็นจะต้องปรับตัว เพราะทั่วโลก เริ่มเจอปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นกระทบต่อกำลังซื้อ และพฤติกรรมของผู้ซื้อที่เปลี่ยนแปลงไป

เงินเฟ้อทั่วโลกพุ่งกระทบกำลังซื้อ  GIT เร่งฟื้นตลาดส่งออกอัญมณีไทย

ดังนั้น ไทยจำเป็นจะต้องสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ด้วยการพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานและต้นทุนต่ำที่สามารถแข่งขันได้ และที่สำคัญคือ สนับสนุนผู้ผลิตรายย่อยทั่วประเทศ นำเอาอัตลักษณ์ของพื้นถิ่นความเป็นไทยมาประยุกต์ใช้ เพื่อนำความเป็นไทยสู่สากล เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาด

 

 

“ปัจจุบันการส่งออก ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ เคยเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 3 ของไทย แต่ในปี 2564 ขยับลงมาอยู่อันดับ 6 / สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT (จี-ไอ-ที)  จึงได้ร่วมผลักดัน การจัดงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair ในปีนี้ ให้กลับมาจัดเต็มรูปแบบอีกครั้งในรอบ 2 ปี  ตอกย้ำไทย เป็นศูนย์กลางการค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับของโลก”

เงินเฟ้อทั่วโลกพุ่งกระทบกำลังซื้อ  GIT เร่งฟื้นตลาดส่งออกอัญมณีไทย

ในส่วนของการผลักดันช่องทางการส่งออก / GIT ได้ร่วมสนับสนุนกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กลับมาจัดงาน Bangkok Gems and Jewelry Fair ครั้งที่ 67  ระหว่างวันที่ 7 - 11 กันยายนนี้ ที่อิมแพค เมืองทองธานี ถือเป็นการจัดงานเต็มรูปแบบครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี  ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการทั้งไทย

เงินเฟ้อทั่วโลกพุ่งกระทบกำลังซื้อ  GIT เร่งฟื้นตลาดส่งออกอัญมณีไทย

และต่างประเทศ เข้าร่วมงานกว่า 700 ราย และได้รับการตอบรับจากผู้ซื้อ ผู้นำเข้า ที่จะเดินทางมาร่วมงานกว่า 10,000 ราย โดยคาดว่า จะมีมูลค่าการสั่งซื้อทันทีและภายในงานไม่ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาท ผลักดันยอดการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ ในปี 2565 ให้ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 20% ตามเป้าหมาย นอกจากสร้างรายได้เข้าประเทศแล้ว ยังมีส่วนผลักดันให้เกิดการสร้างงานมากเกือบ 7 แสนคน ทั้งคนคัดพลอย ช่างเจียระไนอัญมณี ช่างฝีมือผลิตเครื่องประดับ ยังไม่รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น บรรจุภัณฑ์ ประกันภัย โลจิสติกส์ และการท่องเที่ยว