นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอคณะกรรมการ กนอ.อนุมัติจัดจ้างโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางปู
ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างได้ในเดือนตุลาคม 2565 และจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2567 ใช้ระยะเวลาการก่อสร้าง 24 เดือน
ขณะที่ในส่วนของการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางปูนั้น แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก คือ
อย่างไรก็ดี โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำ และป้องกันน้ำท่วมแบบครบวงจรนิคมอุตสาหกรรมบางปู คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเวลา 2 ปี ซึ่งระหว่างนี้ กนอ.จำเป็นต้องใช้มาตรการเดิมที่ใช้ในปี 2564 ก่อน
อย่างไรก็ตาม มีการวางแผนระยะ 1 ปี และระยะ 3 ปี ระหว่างการก่อสร้างเพื่อใช้ในการป้องกันน้ำท่วมด้วย ทั้งการเตรียมเครื่องสูบน้ำกำลังการสูบรวม 85,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงให้พร้อมใช้งาน การขุดลอกรางระบายน้ำที่มีตะกอนสะสม ขยะ
และสิ่งกีดขวาง การพร่องน้ำในบ่อรับน้ำฝนภายในพื้นที่นิคมฯ บางปูให้ต่ำอยู่เสมอ เพื่อเตรียมการรองรับน้ำฝนที่จะตกลงมา ซึ่งสามารถรองรับปริมาณน้ำฝนที่ 278,000 ลูกบาศก์เมตร รวมทั้งประชาสัมพันธ์และสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องไปยังผู้ประกอบการอย่างสม่ำเสมอ
นายวีริศ กล่าวต่อไปอีกว่า ที่ผ่านมา กนอ.ดำเนินการป้องกันน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางปูมาอย่างต่อเนื่อง โดยการลดการระบายน้ำจากนิคมอุตสาหกรรมบางปูออกสู่คลองสาธารณะด้านทิศเหนือ (คลองหกส่วน) และทิศตะวันออก (คลองลำสลัด) รวมทั้งระบายน้ำจากรางระบายน้ำในซอยต่างๆ ของพื้นที่ส่วนใหญ่ ยกเว้นพื้นที่เขตประกอบการเสรี และสูบระบายลงสู่คลองชายทะเล
รวมทั้งปิดจุดอ่อนบริเวณแนวขอบคันดินของพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปูที่มีระดับต่ำ เพื่อป้องกันน้ำจากภายนอกไหลเข้าพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีระบบป้องกันน้ำท่วมโดยเฉพาะพื้นที่เขตประกอบการเสรี โดยมีเขื่อนล้อมรอบพื้นที่เขตประกอบการเสรี และมีสถานีสูบระบายน้ำออกสู่คลองลำสลัด
สำหรับนิคมอุตสาหกรรมบางปู มีพื้นที่ประมาณ 4,942 ไร่ มีผู้ประกอบการจำนวน 355 โรงงาน แบ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป 314 โรงงาน และเขตประกอบการเสรี 41 โรงงาน มีผู้ใช้แรงงานประมาณ 58,000 คน มูลค่าการลงทุนรวม 203,595 ล้านบาท
โดยกลุ่มอุตสาหกรรม 5 อันดับแรกในพื้นที่ ได้แก่1.อุตสาหกรรมปุ๋ย สี และเคมีภัณฑ์ 2.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 3.อุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ 4.อุตสาหกรรมกระดาษ และอาหาร และ 5.อุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งนี้ นักลงทุนในพื้นที่ มีทั้งนักลงทุนไทย ญี่ปุ่น ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และอื่นๆ