ส่งออกไทยขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดเป็นเดือนที่16

27 ก.ค. 2565 | 05:36 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ก.ค. 2565 | 12:53 น.

ส่งออกไทยขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดเป็นเดือนที่16ในเดือนมิ.ย.โต11.9%  “พาณิชย์”ชี้เพราะส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเป็นแรงหนุน สะท้อนความสามารถในการผลิตสินค้าอาหารของไทยป้อนสู่ตลาดโลก “จุรินทร์”ยังไม่ปรับเป้ามั่นใจโต4%

ผ่านมาแล้วครึ่งปีสำหรับการส่งออกไทยที่ฝ่าฟันปัจจัยเสี่ยงมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมาท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงอย่างการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเนื่องมาถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ส่งผลสะเทือนไปทั่วโลก ส่งผลให้ทั่วโลกเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตสินค้า เพราะรัสเซียและยูเครนต่างเป็นผู้ส่งออกสินค้าวัตถุดิบอันดับต้นๆของโลก

ส่งออกไทยขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดเป็นเดือนที่16

สำหรับการส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2565 ยังคงขยานตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ถึง11.9% มีมูลค่า 26,553.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และหากเป็นรูปแบบเงินบาทมีมูลค่า907,286 ล้านบาท แต่หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 10.4 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเป็นแรงหนุนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของการส่งออกในเดือน มิ.ย. สะท้อนความสามารถในการผลิตสินค้าอาหารของไทยป้อนสู่ตลาดโลก

 

ส่งออกไทยขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดเป็นเดือนที่16

ขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงเติบโตตามการขยายตัวของภาคการผลิตโลก สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ที่อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 24 สำหรับด้านตลาดส่งออกสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัวต่อเนื่องทั้งตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ อาเซียน สหภาพยุโรป และตลาดรอง ได้แก่ เอเชียใต้ ทวีปออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา ทั้งนี้ การส่งออกไทยครึ่งแรกของปี 2565 ขยายตัว 12.7% และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 9%

ส่งออกไทยขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดเป็นเดือนที่16

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัว 24.5% ต่อเนื่อง 19 เดือน  ซึ่งสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี เช่น

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

  • ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัว 39.4% ต่อเนื่อง 2 เดือน โดยเฉพาะในตลาดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมียนมา
  • ยางพารา ขยายตัว 16.1%  ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน ในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เกาหลีใต้ ตุรกี และอินเดีย)
  • ข้าว ขยายตัว68.2% ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน ในตลาดอิรัก สหรัฐฯ แอฟริกาใต้ เบนิน ฮ่องกง และเซเนกัลอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัว15.3% ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือนในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อียิปต์ แคนาดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และลิเบีย
  • น้ำตาลทราย ขยายตัว 92.7% ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน ในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา เกาหลีใต้ ลาว และญี่ปุ่น
  • ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูป ขยายตัว 20.1% ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน ในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และเกาหลีใต้
  • อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัว13.6% ขยายตัวต่อเนื่อง 34 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์

ส่งออกไทยขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดเป็นเดือนที่16

ส่วน สินค้าสำคัญที่ติดลบ เช่น  เครื่องดื่ม ติดลบ 7.6% สิ่งปรุงรสอาหาร ติดลบ 4.4%เป็นการติดลบต่อเนื่อง 2 เดือน เครื่องเทศและสมุนไพร ติดลบ 42.1% ติดลบต่อเนื่อง 8 เดือน  ส่งผลให้ภาพรวมของการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ครึ่งแรกของปี 2565 ขยายตัว7.1%

ส่งออกไทยขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดเป็นเดือนที่16

ขณะที่การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 6.7% ต่อเนื่อง 16 เดือน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่

  • อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัว9.1% ขยายตัวต่อเนื่อง 16 เดือน ในตลาดอินเดีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเบลเยียม
  • เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัว 10.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 17 เดือน ในตลาดจีน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และอินเดีย
  • เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ขยายตัว 13.4% ต่อเนื่อง 19 เดือน ในตลาดนอร์เวย์ อินเดีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
  • เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว 52.1%ต่อเนื่อง 8 เดือน ในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง เมียนมา และไต้หวัน

ส่งออกไทยขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดเป็นเดือนที่16

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ติดลบ 6%ต่อเนื่อง 6 เดือน ผลิตภัณฑ์ยาง ติดลบ 4.9% และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ติดลบ 24.4%ต่อเนื่อง 2 เดือน ส่งผลให้ครึ่งแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว10.5%

ส่งออกไทยขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดเป็นเดือนที่16

โดยตลาดส่งออกสำคัญๆของไทยยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าที่ยังมี ท่ามกลางปัจจัยกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงจากผลกระทบของความขัดแย้งในยูเครนที่ยืดเยื้อ และอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปจีนและญี่ปุ่นยังมีความไม่แน่นอน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังซบเซาจากผลกระทบของมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เข้มงวด

ส่งออกไทยขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดเป็นเดือนที่16

โดย ตลาดหลัก ยังขยายตัว11.9%  เช่นตลาดสหรัฐฯ ขยายตัว 12.1%  อาเซียน (5)ขยายตัว 35.6% CLMV ขยายตัว19.5%  สหภาพยุโรป (27)ขยายตัว 5% ขณะที่ตลาดจีน และญี่ปุ่น กลับมาติดลบ 2.7% และ 1%ตามลำดับ

ส่งออกไทยขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดเป็นเดือนที่16

ตลาดรอง ขยายตัว 13.2% เชนตลาดเอเชียใต้ ขยายตัว 49.5%  ทวีปออสเตรเลีย ขยายตัว 4.9% ตะวันออกกลาง ขยายตัว 24%  ทวีปแอฟริกา ขยายตัว 12.1% และลาตินอเมริกา ขยายตัว 17.2% ขณะที่รัสเซียและกลุ่ม CIS 9bf][ 46.8%  และ (3) ตลาดอื่น ๆ ติดลบ 18.3% เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ติดลบ 66.7%

ส่งออกไทยขยายตัวต่อเนื่องสูงสุดเป็นเดือนที่16

อย่างไรก็ตามแม้ว่าส่งออกไทยจะขยายตัวต่อเนื่อง แต่กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ปรับทั้งปีที่วางไว้4% แม้ว่า6เดือนแรกการส่งออกไทยจะขยายตัวถึง12.7% ซึ่งเกินกว่าเป้าไปถึง3เท่าและแม้จะไม่ปรับตัวเลขส่งออกทุกฝ่ายก็ทำงานอย่างเต็มทีอยู่แล้ว