พักหลังๆจะเริ่มเห็นคนพูดถึงเงินเท่าเดิมแต่ซื้อของแพงขึ้น นั้นเป็นเพราะ ราคาข้าวของเครื่องใช้ต่างๆมีราคาสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ของเราเองยังเท่าเดิม ทำให้รู้สึกว่าซื้อของได้น้อยลงแต่จ่ายเพิ่มขึ้น “เงินเฟ้อ”คือ ค่าดัชนีชี้วัด ค่าของเงินในกระเป๋าที่เรามีอยู่ว่ามีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าค่าเงินเฟ้อเป็นบวกมากๆ ก็แสดงว่าเงินในกระเป๋ามีค่าน้อยลงตาม อำนาจจับจ่ายก็น้อยไปด้วย
ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนก.ค.2565 ที่เพิ่มขึ้น 7.61% เป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่ลดลงถ้าเทียบกับเดือนที่ผ่านมาที่เคยขึ้นไปถึง 7.66% ส่วนเงินเฟ้อรวม 7 เดือนปี 2565 (ม.ค.-ก.ค.) เพิ่มขึ้น 5.89 % และเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนด้านราคาออก ดัชนีอยู่ที่ 103.50 เพิ่มขึ้น 0.50% เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.2565 และเพิ่มขึ้น 2.99% เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.2564 และเฉลี่ย 7 เดือนเพิ่มขึ้น 2.01%
สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ยังคงเป็นสินค้ากลุ่มพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นถึง 33.82% แม้ว่าน้ำมันบางชนิด เช่น แก๊สโซฮอล์ เบนซิน จะลดลง แต่ดีเซลที่เป็นต้นทุนการผลิตและการขนส่งยังคงเดิม รวมถึงก๊าซหุงต้ม ค่าไฟฟ้า ยังคงอยู่ในระดับสูง ส่วนสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่ม 8.02%
โดยสินค้าที่เพิ่มขึ้น เช่น ไก่สด พริกสด ต้นหอม เครื่องประกอบอาหาร และอาหารสำเร็จรูป ราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ดีเซล ค่าขนส่ง ขณะที่หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่ม 7.35% สินค้าสำคัญที่สูงขึ้น เช่น หมวดเคหสถาน เพิ่ม 8.42% โดยเพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม
เรามาดูกันว่าค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในเดือนก.ค.2565 มีสินค้าอะไรบ้างที่ราคาสูงขึ้น เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง เนื้อสุกร กับข้าวสำเร็จรูป อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) ไข่ไก่ อาหารเช้า ค่าน้ำประปา ไก่สด เป็นต้น
กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือนกรกฎาคม 2565 โดยประชาชนมีรายจ่ายที่เป็นรายเดือน 18,061บาท ซึ่งรายจ่ายเพิ่มขึ้นทุกรายการเทียบกับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แบ่งเป็น
ทั้งนี้ถ้าดูสัดส่วนการบริโภคต่อครัวเรือน พบว่า สินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ58.99% โดย ค่าโดยสารรถสาธารณธ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการโทรศัพท์ สูงถึง 24.08% รองลงมาเป็นค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ก๊าชหุงต้ม เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ21.93%
ส่วนสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ถึงร้อยละ41.01% โดย เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงถึง9.74% รองลงมาเป็นอาหารบริโภคในบ้าน 8.90% และอาหารบริโภคนอกบ้าน 6.84% เป็นต้น