นับเป็นข่าวดีครั้งใหญ่การศึกษาไทย หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบหลักการ การปรับอัตราเงินอุดหนุน ค่าใช้จ่ายรายหัว นักเรียน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ไม่ได้มีการปรับมานานกว่า 10 ปี ไม่สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพที่พุ่งสูง จนทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองนักเรียนต้องควักกระเป๋าแบกภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของบุตรหลานเพิ่มขึ้น
เหตุผลของการปรับค่าใช้จ่ายรายหัว นักเรียน ใหม่
ข้อมูลที่เสนอผ่านเข้าไปยังครม. ครั้งนี้ ได้สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าใช้จ่ายรายหัว นักเรียน ปัจจุบันต่ำกว่าค่าใช้จ่ายจริงและไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสถานศึกษา ซึ่งปรับครั้งสุดท้ายในปีการศึกษา 2553 ยกเว้นค่าหนังสือเรียนที่มีการปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่ราคาสินค้าบริการและค่าครองชีพปรับเพิ่มสูงขึ้นทุกปีตามสภาพเศรษฐกิจสังคม ส่งผลให้สถานศึกษาจำเป็นต้องระดมเงินสนับสนุนจากแหล่งอื่น เช่น เงินค่าบำรุงการศึกษา เงินบริจาคเงินรายได้สถานศึกษา โดยผู้เรียนและผู้ปกครองต้องรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการ จึงเสนอการปรับอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว นักเรียน ใหม่ ในลักษณะงบประมาณผูกพันต่อเนื่อง 4 ปี ตั้งแต่ปี 2566-2569 มาให้ครม.อนุมัติ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ค่าใช้จ่ายรายหัว นักเรียน เป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐาน 5 รายการหลัก คือ
เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัว นักเรียน ปรับใหม่ ตั้งแต่ปี 2566-2569 ทั้งการศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ มีรายละเอียดด้วยกันดังนี้
1.การศึกษาในระบบ
ก่อนประถมศึกษา
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ของสถานศึกษารัฐและเอกชน แยกเป็นสาขา ดังนี้
สาขาอุตสาหกรรม/สิ่งทอ/เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
พาณิชยกรรม
คหกรรม/ท่องเที่ยว
ศิลปกรรม/บันเทิงและดนตรี
เกษตรกรรม/ประมง
เกษตรกรรม (ปฏิรูป)
2.การศึกษานอกระบบ
ระดับอายุต่ำกว่า 15 ปี
ก่อนประถมศึกษา
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
อาชีวศึกษา (ปวช.)
ระดับอายุ 15 ปีขึ้นไป
ก่อนประถมศึกษา
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
อาชีวศึกษา (ปวช.)