รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยถึงการเปิดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน (Market Sounding) สำหรับงานทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมในการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ ว่า โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 8 สายนครปฐม-ชะอำ วงเงินลงทุนโครงการรวม 75,752 ล้านบาท แบ่งเป็นงานโยธา 56,747 ล้านบาท งานเวนคืนที่ดิน 16,095 ล้านบาท งานระบบ 2,910 ล้านบาท ระยะเวลาสัญญาร่วมลงทุนประมาณ 33 ปี หลังจากประชุมสัมมนาครั้งนี้จะนำความคิดเห็นไปประกอบผลการศึกษาให้สมบูรณ์มากที่สุด จากนั้นจะจัดทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมการให้เอกชนร่วมลงทุนแล้วเสร็จในปี 2565 ก่อนจะเสนอคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ดพีพีพี) และคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาอนุมัติโครงการฯ หลังจากนั้นจะคัดเลือกเอกชนผู้เข้าร่วมลงทุน ปี 2566 หลังจากนั้นจะดำเนินการเวนคืนที่ดินและจ่ายค่าชดเชยทรัพย์สิน และโดยจะเริ่มการก่อสร้างปี 2566-2569 ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2570 นอกจากนี้กรมฯอยู่ระหว่างรอคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (คชก.) พิจารณารายงานทบทวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของโครงการฯ
“รูปแบบการร่วมลงทุนของโครงการฯ เบื้องต้นจากการศึกษาพบว่า โครงการฯจะดำเนินการรูปแบบการร่วมลงทุน PPP Net Cost โดยปัจจัยหลักการร่วมลงทุนขึ้นอยู่กับเอกชนจะเข้ามาช่วยลงทุนมากน้อยเพียงใด หากเอกชนมีความพร้อมด้านการลงทุน วงเงิน 50,000 ล้านบาท ภาครัฐก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเปิดรูปแบบการลงทุน PPP Net Cost แต่ถ้าเอกชนไม่มีความสามารถในการลงทุน โดยให้กรมฯเป็นผู้ลงทุนเอง จะทำให้ความเป็นไปได้ของโครงการฯอยู่ในรูปแบบ PPP Gross Cost เหมือนกับโครงการมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) โดยภาครัฐลงทุนค่าก่อสร้างทั้งหมดและเปิดประมูลในรูปแบบ PPP Gross Cost”
นอกจากนี้โครงการฯเปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติสามารถเข้าร่วมลงทุนโครงการฯได้ แต่จะต้องเป็นพันธมิตรร่วมกับบริษัทในไทย เพราะเงื่อนไขเอกสารการประกวดราคาส่วนใหญ่ต้องเป็นผู้ถือหุ้นในไทยเกิน 51% ส่วนการถือหุ้นอีก 49% ไม่ได้จำกัดบริษัทไทยหรือบริษัทต่างชาติ
รายงานข่าวจากทล.กล่าวต่อว่า กรณีที่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีคัดค้านการเวนคืนที่ดินของโครงการฯนั้น ปัจจุบันทางกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯและกรมฯอยู่ระหว่างทำความเข้าใจและให้ข้อมูลกับประชาชนในพื้นที่ พบว่าประชาชนบางส่วนมีความคิดเห็นการคัดค้านที่ลดลง คาดว่าจะใช้ระยะเวลาพอสมควร
ส่วนการก่อสร้างกรมฯประเมินว่า โครงการฯมีมูลค่าการลงทุนที่สูง โดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็นระยะๆ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างระยะที่ 1 คือ ช่วงนครชัยศรี-ตลาดจินดาและช่วงตลาดจินดา-ปากท่อ เนื่องจากผลการศึกษาทั้ง 2 ช่วงมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งปริมาณการจราจรที่หนาแน่นกว่าช่วงปากท่อ-ชะอำ หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างระยะที่ 2 คือ ช่วงปากท่อ-ชะอำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นจากภาคเอกชนต่อความสนใจการก่อสร้างเป็นระยะๆหรือการก่อสร้างพร้อมกันทั้งโครงการฯ
รายงานข่าวจากทล. กล่าวต่อว่า การจัดเก็บค่าค่าธรรมเนียมผ่านทางจะใช้ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น (Multi-lane Free Flow) หรือระบบ M-Flow ซึ่งจัดเก็บค่าผ่านทางตามระยะทาง โดยกำหนดอัตราค่าผ่านทางที่เหมาะสมดังนี้ รถยนต์ขนาด 4 ล้อ ค่าแรกเข้า 10 บาท/คัน ค่าผ่านทาง 1.5 บาท/กม., รถยนต์ขนาด 6 ล้อ ค่าแรกเข้า 16 บาท/คัน ค่าผ่านทาง 2.4 บาท/กม. และ รถยนต์ขนาด 10 ล้อ ค่าแรกเข้า 23 บาท/คัน ค่าผ่านทาง 3.4 บาท/กม.
ส่วนผลคาดการณ์ปริมาณจราจรและรายได้ค่าธรรมเนียมนั้น จากการวิเคราะห์ด้านจราจรพบว่า ในปีเปิดให้บริการปีแรก จะมีปริมาณจราจรเข้าระบบเฉลี่ย 46,306 คันต่อวัน ซึ่งสามารถจัดเก็บรายได้จากค่าธรรมเนียมผ่านทางประมาณ 1,725 ล้านบาทต่อปี และในปีที่ 30 ปริมาณจราจรเข้าระบบเพิ่มขึ้น เป็นประมาณ 137,606 คันต่อวัน และสามารถจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมผ่านทางเพิ่มขึ้นเป็น 7,965 ล้านบาทต่อปี
สำหรับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 8 สายนครปฐม - ชะอำ (M8) มีรูปแบบการก่อสร้างขนาด 4 ช่องจราจร ช่องจราจรกว้าง 3.60 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 3.00 เมตร ไหล่ทางด้านในกว้าง 1.00 เมตร รวมระยะทางประมาณ 109 กิโลเมตร มีรููปแบบเป็นทางระดับพื้้น เกาะกลางแบบกดเป็นร่อง (Depressed Median) และรููปแบบสะพานบก รวมถึงงานอาคารที่่เกี่่ยวข้อง เช่น อาคารศููนย์ควบคุมกลางอาคารกู้ภัย อาคารสถานีตำรวจทางหลวง และที่่พักริมทาง
ทั้งนี้โครงการฯมีจุุดเริ่่มต้นเชื่่อมต่อกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่ - กาญจนบุุรี (M81) ที่่บริเวณทางแยกต่างระดับนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และมีจุุดสิ้้นสุุดโครงการเชื่่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 4 บริเวณ กม.188 อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุุรี แบ่งการก่อสร้างเป็น 3 ช่วง ดังนี้
1.ช่วงนครชัยศรี-ตลาดจินดา มีจุุดเริ่่มต้นเชื่่อมต่อกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 8 สายบางใหญ่ - กาญจนบุุรี บริเวณอำเภอนครชัยศรี และมี จุุดสิ้้นสุุดเชื่่อมต่อมายังทางหลวงหมายเลข 375 อำเภอสามพราน ระยะทางประมาณ 9.3 กิโลเมตร
2.ช่วงตลาดจินดา-ปากท่อ มีจุุดเริ่่มต้นเชื่่อมต่อกับช่วงที่่ 1 บริเวณ ทางหลวงหมายเลข 375 อำเภอสามพราน และ มีจุดสิ้้นสุดเชื่่อมต่อมายังทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนธนบุุรี - ปากท่อ) อำเภอปากท่อ ระยะทางประมาณ 51.8 กิโลเมตร
3.ช่วงปากท่อ-ชะอำ มีจุุดเริ่่มต้นเชื่่อมต่อกับช่วงที่่ 2 บริเวณทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนธนบุรี - ปากท่อ) อำเภอปากท่อ และมีจุุดสิ้้นสุุดเชื่่อมต่อมายังทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) อำเภอท่ายาง ระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร