เปิด 5 เกณฑ์คุณสมบัติเอกชน หมดสิทธิประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม”

07 ก.ย. 2565 | 11:19 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ก.ย. 2565 | 18:26 น.

“บอร์ดPPP” เปิดหนังสือประกาศ 5 เกณฑ์คุณสมบัติเอกชน ไม่ควรประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” หมดสิทธิทำสัญญาร่วมกัน ขัดพ.ร.บ.ร่วมลงทุนปี 62

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเรื่อง ลักษณะของเอกชนที่ไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนพ.ศ. 2562เพื่อกำหนดลักษณะของเอกชนที่ไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุน โดยเอกชนที่มีลักษณะดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับคัดเลือกเป็นคู่สัญญาร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 (8) และมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 40  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง ลักษณะของเอกชนที่ไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุน พ.ศ. 2562"

 

ข้อ  2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 เอกชนที่มีลักษณะดังต่อไปนี้  ถือเป็นเอกชนที่มีลักษณะไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562

เปิด 5 เกณฑ์คุณสมบัติเอกชน หมดสิทธิประมูล “รถไฟฟ้าสายสีส้ม”


(1) เป็นบุคคลซึ่งถูกแจ้งเวียนชื่อให้เป็นผู้ทิ้งงานของหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

 


(2)เป็นบุคคลที่ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ หรือถูกศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

 

 

(3) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
 

(4) เป็นผู้ถูกหน่วยงานของรัฐบอกเลิกสัญญาร่วมลงทุนตามกฎหมายที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้เอกชนร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเนื่องจากผิดสัญญา

 

ข้อ 4 ในกรณีที่เอกชนตามข้อ 3 เป็นนิติบุคคล กรรมการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการของนิติบุคคลจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3 ด้วย

 

ข้อ 5 ในกรณีที่เอกชนผู้ยื่นข้อเสนอเป็นกลุ่มนิติบุคคล ให้นำข้อกำหนดในข้อ 3 และข้อ 4 มาปรับใช้แก่นิติบุคคลแต่ละรายที่อยู่ภายใต้กลุ่มนิติบุคคลที่ยื่นข้อเสนอด้วย