"เงินเท่าเดิมแต่ซื้อของแพงขึ้น" เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินมากกันบ้าง ซึ่งคิดต้องทำความเข้าใจว่า "เงินเฟ้อ" คือ "ค่าดัชนีชี้วัด" ค่าของเงินในกระเป๋าที่เรามีอยู่ว่ามีอำนาจในการจับจ่ายใช้สอยได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้า"ค่าเงินเฟ้อ"เป็นบวกมากๆ ก็แสดงว่าเงินในกระเป๋ามีค่าน้อยลงตาม อำนาจจับจ่ายก็น้อยไปด้วย
"กระทรวงพาณิชย์"ได้มีการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไปเพื่อวัดอุณภูมิทางเศรษฐกิจโดยรวม เพราะยิ่งค่าเงินเฟ้อ สูงก็แสดงว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมาก หมายความว่ารายได้อีกฝากนึงของกระเป๋าเงินก็เข้ามาได้มากและแน่นอนก็จ่ายมากตามไปด้วย ดังนั้น การดูแลเงินเฟ้อไม่ให้สูงไป หรือต่ำไป จนเป็นเงินฝืด คือ ค่าเงินเฟ้อติดลบเกิน 6 เดือนนั้น เป็นสิ่งจำเป็น
ภาพรวม"เงินเฟ้อ" 7 เดือนเพิ่มขึ้น 2.19% เฉพาะแค่เดือน ก.ค.เงินเฟ้อ ที่สูงขึ้น 0.38% จากหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ที่มีราคาสูงขึ้น1.49% สินค้าที่ยังคงมีราคาสูงขึ้น เช่น ผักและผลไม้สด (มะนาว ขิง มะเขือ เงาะ แตงโม ส้มเขียวหวาน) ไข่ (ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่เค็ม) ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ข้าวสารเหนียว ขนมอบ วุ้นเส้น) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำหวาน น้ำอัดลม) และผลิตภัณฑ์นม (นมถั่วเหลือง นมข้นหวาน ครีมเทียม) ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต
ส่วนอาหารสำเร็จรูปราคาสูงขึ้นเล็กน้อย สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง เช่น เนื้อสุกร เนื่องจากมีปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ข้าวสารเจ้า เครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) มะขามเปียก) และผักสดบางชนิด (ต้นหอม พริกสด ผักชี)
กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือนก.ค.66 ไว้ว่า มีรายจ่ายรายเดือนที่ 18,130 บาท แบ่งเป็น
สำหรับหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลง 0.38% ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ทั้งน้ำมันในกลุ่มดีเซล แก๊สโซฮอล์ (ยกเว้น E85) และเบนซิน และยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคาลดลง เช่น เสื้อบุรุษและสตรี เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า)
เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผลิตภัณฑ์ซักผ้า) หน้ากากอนามัย และค่าสมาชิกเคเบิลทีวี ส่วนสินค้าที่ราคาสูงขึ้น เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ค่าของใช้ส่วนบุคคล (แป้งทาผิวกาย กระดาษชำระ ยาสีฟัน) ค่าบริการส่วนบุคคล (ค่าแต่งผมชายและสตรี) ค่ายา (ยาแก้ไข้หวัด ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้ไอ) และค่าโดยสารสาธารณะ (เครื่องบิน จักรยานยนต์รับจ้าง รถเมล์เล็ก/สองแถว
ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่าเงินเฟ้อจะขยายตัวต่ำกว่า 1% ทุกเดือน และเงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ในเป้าที่ตั้งไว้ที่ 1-2% ค่ากลาง 1.5% ภายใต้สมมติฐาน จีดีพี เพิ่ม 2.7-3.7% น้ำมันดิบดูไบ 71-81 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน 33.5-35.5 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ โดยหากปัจจัยต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่กระทบเงินเฟ้อ ทั้งน้ำมัน ภัยแล้ง เศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ เดือน ก.ย.2566 จะมีการทบทวนเป้าหมายเงินเฟ้ออีกครั้ง