ผ่านมาครึ่งปีแล้วที่การส่งออกไทยยังคงอยู่ในแดนบวกมาต่อเนื่องแต่เป็นการขยายตัวที่ลดลง โดยเดือนก.ค. ไทยมีการส่งออกไปมูลค่า23,629.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 4.3% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 829,029 ล้านบาท ขยายตัว 17.0% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนกรกฎาคมขยายตัว 4.1%)
ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 27,289.8 ล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 23.9% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 968,940 ล้านบาท ขยายตัว 38.7% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม 2565 ขาดดุลเท่ากับ 3,660.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 139,911 ล้านบาท
โดยภาพรวมการส่งออกไทยในเดือนมกราคม - กรกฎาคมของปี 2565 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า ไทยส่งออกรวมมูลค่า 172,814.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 11.5% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 5,774,277 ล้านบาท ขยายตัว 22.2% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในช่วงมกราคม - กรกฎาคมขยายตัว 8.3%)
ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 182,730.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 21.4% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 6,192,216 ล้านบาท ขยายตัว 33% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม-กรกฎาคมของปี 2565 ขาดดุลเท่ากับ 9,916.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 417,939 ล้านบาท
แม้ว่าตัวเลขส่งออกไทยจะยังคงขยายตัวในทิศทางที่เป็นบวกอยู่แต่ก็เ)นการขยายตัวที่ลดลง เนื่องจากมีการออเดอร์สินค้าล่วงหน้าไปตั้งแต่ไตรมาส1-2 แล้วดังนั้นในไตรมาส3และไตรมาส4 การส่งออกจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ประกอบกับยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทำให้การส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ค่อนข้างหืดขึ้นคอสำหรับภาคเอกชน ซึ่งคงต้องลุ้นปลายปีว่าในเทศกาลต่างๆทั้งคริสมาส ปีใหม่จะมีออเดอร์เพิ่มหรือไม่
นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผย ปัจจัยปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกไทยในปีนี้ทั้งนี้ยังคงมี4ปัจจัยหลักๆ
อย่างไรก็ตามภาคเอกชนเองมีข้อเสนอไปยังรัฐบาลให้เร่งช่วยเหลือหรือเยียวยาทั้งภาคธุรกิจและภาคประชาชน เช่น ขอให้ภาครัฐช่วยรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันในประเทศให้อยู่ระดับที่เหมะสม ผ่านเครื่องมือหรือกลไกในการควบคุม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคมากเกินไป รวมถึงช่วยพิจารณาควบคุมหรือตรึงอัตราค่าไฟฟ้า (ค่า FT) ทั้งในภาคการผลิตและภาคครัวเรือนออกไปจนถึงปีหน้า เพื่อให้ผู้ผลิต ภาคครัวเรือน ต้องแบกรับภาระต้นทุนด้านการผลิตและค่าใช้จ่ายประจำวันที่สูงจนเกินไป และให้ภาครัฐช่วยพิจารณาอนุญาตให้ภาคเอกชนสามารถปรับราคาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับกลไกตลาด และต้นทุนการผลิตที่แท้จริงได้ ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ท่ามกลางสภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง