หลังจากที่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ ซึ่งแบ่งตามกิจกรรมการผลิต เดือนสิงหาคม 2565 (ปี 2558 = 100) เท่ากับ 113.7 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2564 สูงขึ้น10.7%จากการปรับสูงขึ้นของราคา หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้น 8.7% ตามต้นทุนการผลิตที่ทยอยปรับสูงขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งราคาวัตถุดิบ พลังงาน และ บรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม เป็นการปรับสูงขึ้นในอัตราที่น้อยลง เนื่องจากสินค้าหลาย รายการเริ่มปรับราคาลดลงตามราคาพลังงานและความต้องการของตลาดโลกที่ชะลอตัว
โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์อาหาร เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์ คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้น56.3%
จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และแร่โลหะ และหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้น 12.1% เป็นผลจากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า หัวมันสำปะหลังสด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชผัก ยางพารา สุกรมีชีวิต ไก่มีชีวิต ไข่ไก่ และผลิตภัณฑ์จากการประมง
ทั้งนี้ดัชนีราคาผู้ผลิตแบ่งตามขั้นตอนการผลิต พบว่า ดัชนีหมวดสินค้าสำเร็จรูป สูงขึ้น4.7% หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป)สูงขึ้น16.4% และหมวดสินค้า วัตถุดิบสูงขึ้น 30.3%โดยมีสินค้าสำคัญในห่วงโซ่อุปทานที่ราคาปรับสูงขึ้นตามวัตถุดิบ ได้แก่ หัวมันสำปะหลังสด → มันเส้น/มันอัดเม็ด/แป้งมันสำปะหลัง
เนื่องจากมีความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ อ้อย → น้ำตาลทรายดิบ → น้ำตาลทรายขาว และน้ำมันปิโตรเลียมดิบ → น้ำมันเชื้อเพลิง/เม็ดพลาสติก → ผลิตภัณฑ์พลาสติก เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามภาวะตลาดโลก
สำหรับ ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนกันยายน คาดว่าแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องแต่ในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดต่าง ๆ ยังคงอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติ และสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง จากหลายปัจจัย ได้แก่ ต้นทุนการผลิต แม้ราคา น้ำมันจะปรับตัวลงเล็กน้อยในช่วงเดือนที่ผ่านมา แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อน รวมทั้งราคาปุ๋ย อาหารสัตว์ วัตถุดิบ ค่าขนส่ง และค่าไฟฟ้า
ต้นทุนการนำเข้าที่ยังอยู่ในระดับสูงจากเงินบาทที่อ่อนค่าและอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นจากภาคการท่องเที่ยว การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 การส่งออก และราคาสินค้าเกษตรสำเคัญที่ยังขยายตัวได้ดี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตยังคงขยายตัว ประกอบกับฐานราคาในช่วงที่เหลือของ ปีเริ่มปรับสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดในหลายประเทศ และความตึงเครียดทาง ภูมิรัฐศาสตร์ รวมทั้งความผันผวนของราคาพลังงานโลก อาจส่งผลต่ออุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการ ซึ่งจะกระทบต่อภาคการผลิตและดัชนี ราคาผู้ผลิตของประเทศไทยตามลำดับ ทั้งนี้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ด้านนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” แนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิต ไตรมาสที่3 ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติ และ สินค้าที่เกี่ยวเนื่อง จากปัจจัย ต้นทุนการผลิต ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลกระทบทั้งทางตรงและ ทางอ้อม รวมทั้งราคาปุ๋ ย อาหารสัตว์ วัตถุดิบ และค่าขนส่ง ตลอดจนเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าสูงขึ้น รวมถึงความขัดแย้งในยูเครน และมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งส่งผลต่ออุปทานของสินค้าโภคภัณฑ์ ประกอบกับอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว และการผ่อนคลาย มาตรการควบคุมโควิด-19 แต่มองว่าการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร ขณะที่มีการจำกัดการส่งออก ในหลายประเทศ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ