ธปท.เสนอ 2ปัจจัย หนุนแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างบูรณาการ

20 พ.ค. 2565 | 17:08 น.
อัปเดตล่าสุด :21 พ.ค. 2565 | 01:36 น.

ธปท.เสนอ 2ปัจจัย"นโยบายสอดประสาน-ฐานข้อมูลครบถ้วน"หนุนแก้หนี้ครัวเรือนอย่างบูรณาการและยั่งยืนเพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า!

ธปท.เสนอ 2ปัจจัย หนุนแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างบูรณาการ

นายรณดล   นุ่มนนท์   รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กล่าวในงานเสวนา Better THAILAND :OPEN DIALOGUE “ถามมา ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” ในหัวข้อ “คุณภาพชีวิตยุคใหม่   ลดความเหลื่อมล้ำ ให้โอกาสทุกคน"

 

โดยระบุว่า ปัญหาหนี้สินครัวเรือนเป็นประเด็นที่กระทรวงการคลังและธปท.ให้ความสำคัญมาโดยตลอด ซึ่งเรื่องนี้ เป็นโจทย์ ที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เดินไปข้างหน้า

 

 

ทั้งนี้ การก่อหนี้ของผู้บริโภคจะต้อง ได้รับการแก้ไข ในหลายเรื่อง ไม่ว่าการเปิดคลินิกแก้หนี้ โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท หรือ แซม(SAM) เป็นช่องทางให้ลูกหนี้เจรจากับเจ้าหนี้ ได้สะดวกและรวดเร็ว ขณะเดียวกัน

 

ที่สำคัญ ได้พิจารณาเกี่ยวกับเพดานดอกเบี้ย สำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) กรณีการชำระหนี้นั้น ที่สำคัญการตัดหนี้ที่ค้างชำระจะไม่ถึงเงินต้น

 เนื่องจากสถาบันการเงินเจ้าหนี้จะไล่ตัดจากค่าธรรมเนียม กับดอกเบี้ยก่อน โดยที่ผ่านมาเจ้าหนี้จะคำนวณจากดอกเบี้ยคูณฐานหนี้คงเหลือ ที่เป็นฐานใหญ่ ซึ่งไม่เป็นธรรม จึงไม่สามารถไปตัดหนี้เงินต้น

 

ธปท. จึงหาวิธีการให้ตัดหนี้เงินต้น  โดยคิดจากฐานเงินค่างวดคงค้าง  แม้กระทั่งดอกเบี้ยค้างชำระที่ชาร์จลูกหนี้ถึง 16%ธปท.ให้คิดเพียง6%เท่านั้น

 

"ธปท.มีมาตรการดูแลผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรก  สิ่งที่เราทำคือ ให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้ลำดับการตัดหนี้ให้ชัดเจนขึ้นโดยให้ตัดหนี้เงินต้นให้ได้เพื่อทำให้ยอดหนี้และภาระหนี้น้อยลง ขณะเดียวกันลูกหนี้ก็ต้องมีวินัยทางการเงิน"

 

นอกจากนี้ได้ทำคู่ขนานกับสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ให้กู้ โดยสถาบันการเงินก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมต่อการให้กู้ด้วย โดยสถาบันการเงินต้องพิจารณาถึงความเพียงพอของจำนวนเงินในการดำรงชีพของผู้กู้ด้วย  

 

นอกเหนือจากการดูความสามารถในการชำระหนี้ ทั้งนี้เพื่อ ทำให้การกู้ยืมมีคุณภาพสามารถนำไปต่อยอด และสร้างรายได้ ไม่ใช่เป็นการกู้ยืมที่จะสร้างภาระในระยะยาว  เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทั้งกระทรวงการคลัง และ ธปท.ให้ความสำคัญ รวมถึงการให้ความรู้ทางการเงินมากขึ้น

 

มองไปข้างหน้ายังต้องเสริมมาตรการอย่างบูรณาการ ไม่ว่าการเสริมรายได้    การแก้จน    การเสริมทักษะ หรือวิธีการต่างๆ เพื่อทำให้การแก้ไขหนี้ได้อย่างยั่งยืน รวมถึง การทำให้เกิดฐานข้อมูล ของลูกหนี้อย่างบูรณาการ ซึ่งปัจจุบันยังกระจัดกระจาย เพื่อที่จะ ช่วยเหลือลูกหนี้ในการบริหารจัดการหนี้ในอนาคตด้วย

ธปท.เสนอ 2ปัจจัย หนุนแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างบูรณาการ

รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวสรุปว่า ในอนาคต คนไทย ควรจับตามองใน 2 เรื่องเพื่อให้เห็น สิ่งที่ดีกว่า(Better Thailand) คือ

  1. จะต้องทำให้ นโยบายสอดประสานระหว่างหน่วยงานของรัฐในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน เพื่อทำให้การแก้ไขปัญหา เรื่องนี้ เป็นการแก้ไขอย่างบูรณาการและยั่งยืน คือ ไม่ใช่เพียงแค่แก้ไขหนี้อย่างเดียว แต่จะต้องตอบโจทย์ เรื่องรายได้  เรื่องทักษะ ของลูกหนี้หรือทักษะแรงงานก็เป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการศึกษา และ
  2. เรื่องการสร้างระบบนิเวศน์เช่น เรื่องฐานข้อมูลที่ครบถ้วน