การพัฒนา เศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้การดำเนินธุรกิจง่ายขึ้น มีความสะดวกและรวดเร็ว โดยอาศัยเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็ว สร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างมหาศาลผ่านช่องทางออนไลน์ อย่างไรก็ตาม อาจก่อให้เกิดความไม่มั่นใจต่อกระบวนการซื้อขาย ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain ขึ้นมาเพื่อช่วยพัฒนาระบบการซื้อขายในเศรษฐกิจยุคดิจิทัลมากขึ้น
หากกล่าวถึงเทคโนโลยี Blockchain คนส่วนมากมักจะนึกถึง Cryptocurrency แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากเทคโนโลยี Blockchain จะทำหน้าที่เป็นรากฐานให้กับ Cryptocurrency และบริการทางการเงินแล้ว Blockchain ยังถูกนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจอื่นๆ อีกมากมาย
ด้วยข้อดีที่เป็นเทคโนโลยีในรูปแบบการเข้ารหัสข้อมูลและเทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ทำให้มีการบันทึกข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยคนที่เข้ามาร่วมทำงานกับข้อมูลนี้ สามารถทำงานได้จากคอมพิวเตอร์ส่วนตัวได้ เพราะเป็นข้อมูลสาธารณะที่ใคร ๆ ก็สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือตรวจสอบได้
การทำเช่นนี้ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางในการตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกธุรกรรมต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกไว้ในชุดข้อมูล จึงทำให้ Blockchain สามารถช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการได้
บทความนี้จึงได้นำตัวอย่างการนำเทคโนโลยี Blockchain ของภาคธุรกิจในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ดังนี้
Smart Contract คือ กระบวนการทางดิจิทัล ที่กำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมโดยอัตโนมัติไว้ล่วงหน้า ซึ่งไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ทำหน้าที่หลักสองประการคือ
ทั้งนี้ ประวัติการทำธุรกรรมจะถูกบันทึกเข้าระบบบน Blockchain เพื่อเอาไว้ใช้อ้างอิงในอนาคต เช่น เมื่อมีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือ รถยนต์ มักจะเกิดความยุ่งยาก เนื่องจากมีเอกสารมากมายให้ลงนาม โดยที่เอกสารต่าง ๆ ต้องถูกรวบรวมไปทำธุรกรรมการซื้อขาย ซึ่งกว่าธุรกรรมจะแล้วเสร็จต้องใช้เวลานานหลายวัน Smart Contract จะเข้ามาแก้ปัญหาเรื่องเอกสารที่ยุ่งยากและปัญหากระบวนการธุรกรรมที่ซับซ้อนด้วยเทคโนโลยี Blockchain
นอกจาก Smart Contract จะถูกนำมาใช้ในการซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ หรือ รถยนต์แล้วยังถูกนำมาใช้ ในธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ด้วยการนำมาประยุกต์การจัดการ Supply Chain เมื่อสินค้าถูกส่งมายังผู้รับที่ท่าเรือหลังจากตรวจสอบสินค้า และทำการจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายกรรมสิทธิ์ของสินค้าก็จะถูกโอนมายังผู้ซื้อโดยอัตโนมัติไม่ผ่านตัวกลางและไม่ต้องจัดเตรียมเอกสารให้ยุ่งยาก
การรับส่งข้อมูลและการเก็บข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ ข้อมูลที่แม่นยำและรวดเร็วเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ ในขณะที่ผู้บริโภคต้องการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ
ดังนั้น Cloud Storage (การเก็บข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์) and IOT (Internet of Things : ทุกสิ่งที่เชื่อมต่อและแบ่งปันข้อมูล ผ่านอินเทอร์เน็ต) จะถูกนำมาใช้ในการเก็บฐานข้อมูลการซื้อขายและการขนส่ง บนเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ และใช้เทคโนโลยี Blockchain ช่วยในการจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายภายใต้กฎเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันได้ ทำให้เกิดความรวดเร็วในการตรวจสอบ และมีความเชื่อมั่นมากขึ้น
ยกตัวอย่าง ธุรกิจขนส่งซึ่งล้วนต้องพึ่งพากระบวนการจัดส่งสินค้า สิ่งของ หรือทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแม่ค้าออนไลน์ ไปจนถึงผู้ผลิตสินค้าขนาดใหญ่
ดังนั้น เทคโนโลยีการขนส่งในรูปแบบ Cloud Storage and IOT โดยอาศัยเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ร่วมกันเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรศึกษา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีแนวโน้มเรียกร้องให้กระบวนการขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคปลอดภัยและรวดเร็วขึ้น
การขนส่งสินค้าต้องสามารถติดตามสถานะที่อยู่ของสินค้าได้ทุกเวลา เช่น ผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าแฟชั่นยี่ห้อดังจากยุโรป และต้องการตรวจสอบสินค้าที่ได้รับว่าเป็นของแท้หรือไม่ แหล่งที่มาของสินค้ามาจากที่ไหน กระบวนการขนส่งสินค้าได้มาตรฐานหรือไม่ สินค้าหยุดพักที่จุดใดบ้าง ก็สามารถทำได้ จะเห็นว่าการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ร่วมใช้กับระบบ จะสามารถตอบโจทย์การตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้ถูกต้องและรวดเร็ว
จะเห็นว่าเทคโนโลยี Blockchain ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ถึงแม้ว่าการนำเทคโนโลยีนี้ในบางธุรกิจอาจจะอยู่ในช่วงเริ่มต้น เนื่องจากยังมีต้นทุนที่สูง แต่ด้วยปัจจัยขับเคลื่อนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลจะทำให้ต้นทุนค่อย ๆ ลดลง
ดังนั้น ภาคธุรกิจควรศึกษา การพัฒนาการนำเทคโนโลยี Blockchain มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ธุรกิจมีกระบวนการทำงานที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์การทำธุรกิจในยุคดิจิทัล