เจ้าหนี้ "ยึดทรัพย์" ลูกหนี้อะไรได้-ไม่ได้บ้าง ตามกฎหมาย

02 ก.ย. 2567 | 06:05 น.
อัปเดตล่าสุด :02 ก.ย. 2567 | 06:07 น.

"ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย" แต่ "เจ้าหนี้" สามารถยึดทรัพย์สินอื่นๆของ "ลูกหนี้" นำออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ได้ ตรวจสอบรายการทรัพย์สิน ที่เจ้าหนี้สามารถยึดได้ - ยึดไม่ได้ ที่นี่

ในสภาวะหนี้ครัวเรือนสูงเช่นปัจจุบัน จากการายงานสภาวะเศรษฐกิจของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.)พบว่าหนี้ครัวเรือนไทย ในไตรมาสที่ 2/2567 มีมูลค่า17.37 ล้านล้านบาท ขยายตัว 2.5% สัดส่วนหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 90.8% ต่อGDP ลดลงจาก 91.4% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อแก่ครัวเรือนมากขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อGDP ปรับลดลง

ซึ่งประเภทของหนี้สินที่ถูกรวบรวมเอาไว้เป็นหนี้ครัวเรือนนั้น มีทั้งสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ,สินเชื่อยานยนต์ ,สินเชื่อบุคคลขยายตัว , และสินเชื่อบัตรเครดิต จะเห็นได้ว่าสินเชื่อบางประเภทไม่มีหลักประกัน แต่ไม่ใช่ว่าเจ้าหนี้จะไม่สามารถบังคับยึดทรัพย์ขายทอดตลาดไม่ได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ เช่นบ้าน รถยนต์ หรือสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต เจ้าหนี้ย่อมสามารถฟ้องศาล เพื่อมีคำสั่งยึดทรัพย์สินนำขายทอดตลาดเพื่อจ่ายคืนหนี้ได้ทั้งสิ้น

รายการทรัพย์สินที่เจ้าหนี้สามารถยึดได้ มีดังต่อไปนี้

  • เงินฝากในบัญชี
  • เงินลงทุน
  • เงินปันผล
  • เงินเดือนพนักงานบริษัทเอกชน พนักงาน รัฐวิสาหกิจ (แต่ต้องมีรายได้เกิน 20,000 บาทต่อเดือน)
  • บ้าน ที่ดิน(ติดจำนองก็ยึดได้)
  • รถยนต์รถจักรยานยนต์ ที่ไม่ได้ใช้เพื่อการทามาหากิน
  • ของมีค่า เช่น สร้อยทองคา นาฬิกา
  • ของสะสมมีมูลค่า เช่น ภาพศิลปะ

รายการทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ยึดไม่ได้ มีดังต่อไปนี้

  • เงินเบี้ยเลี้ยงชีพ
  • เงินเลี้ยงชีพที่คนอื่นมอบให้ (แต่ห้ามเกิน 20,000 บาทต่อเดือน)
  • เงินบาเหน็จ (แต่ห้ามเกิน 300,000 บาท)
  • เงินฌาปนกิจสงเคราะห์
  • รถยนต์ รถจักรยานยนต์ที่ติดไฟแนนซ์
  • เครื่องมือทามาหากิน (แต่มูลค่าห้ามเกิน 100,000บาท)
  • ของใช้ส่วนตัว เช่น เสื้อผ้า (แต่มูลค่าห้ามเกิน 20,000บาท)
  • สัตว์เลี้ยง 

กรณีอายัดเงินเดือน พนักงานบังคับคดีจะส่งหนังสืออายัดไปยังนายจ้าง เพื่อให้นายจ้างนำส่งเงินเดือนไปยังกรมบังคับคดีโดยตรง เมื่อนายจ้างได้รับหนังสือแล้วมีหน้าที่ส่งมอบเงินเดือนของลูกหนี้ไปยังกรมบังคับคดี หากฝ่าฝืนแล้วทำให้เจ้าหนี้เสียหาย นายจ้างจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เสมือนเป็นลูกหนี้

กรณีที่ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดให้เจ้าหนี้ยึด/อายัด หรือกรณีเจ้าหนี้ยึด/อายัด เรียกชำระหนี้แล้ว มีหนี้คงเหลือเกินกว่า 1 ล้านบาท ก็จะเข้าสู่กระบวนการของคดีล้มละลายต่อไป

ที่มา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย