นักเศรษฐศาสตร์ มองต่างมุม กนง.“ลดดอกเบี้ยนโยบาย”

20 ก.ย. 2567 | 01:12 น.
อัพเดตล่าสุด :20 ก.ย. 2567 | 03:19 น.

นักเศรษฐศาสตร์ เสียงแตก-กนง. “ลดดอกเบี้ยนโยบาย” KBANKมองยืนทั้งปี แต่มีความเสี่ยงขาลด วิจัยกรุงศรีคาดลดครึ่งแรกปี68 ส่วน2ค่าย "บล.ฟินันเซียไซรัส-กรุงไทยชี้ใช้มาตรการเฉพาะเจาะจง CIMBT จับทางธปท.รอ 3ปัจจัยชี้วัดในเดือนพ.ย.ก่อนขยับลง0.25%ในเดือนธ.ค.

ตามที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) มีมติไม่เอกฉันท์ 11 ต่อ 1 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% สู่ระดับ 4.74-5.00% จากอัตรา 5.25- 5.50%ตามที่ตลาดคาดการณ์ ซึ่งกลายเป็นประเด็นที่ตลาดหันมาจับตา! ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของไทยโดยเฉพาะในช่วงที่เหลือของปีนี้

นักเศรษฐศาสตร์ มองต่างมุม กนง.“ลดดอกเบี้ยนโยบาย”

คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย(กนง.) คงเหลือการประชุมอีก 2รอบ คือ ในวันที่ 16ต.ค. กับ วันที่ 18ธ.ค.2567  ต่อประเด็นดังกล่าวนางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า 

ธนาคารกสิกรไทยมองแนวโน้มของการยืนดอกเบี้ยนโยบายของกนง.  แต่มีความเสี่ยงที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ประมาณ 0.25% โดยจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพียงรอบเดียว จากที่เหลือการประชุมในรอบวันที่  16ต.ค. กับวันที่ 18ธ.ค. 2567

“ธนาคารกสิกรไทยมองยืนดอกเบี้ย  แต่มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นการปรับลดดอกเบี้ย คือ คาดกนง.คงดอกเบี้ยทั้งปี แต่มีความเสี่ยงที่อาจจะมากระทบเศรษฐกิจในประเทศ รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อไม่สูงและนโยบายการเงินในหลายประเทศ (ต่างประเทศ)ผ่อนคลายแล้ว”

นางสาวรุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)สะท้อนมุมมองโดยระบุว่า กนง.เริ่มจะลดดอกเบี้ยในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 โดยคาดว่าจะลด 2ครั้งๆ ละ 0.25% สู่ระดับ 2.00%  

นักเศรษฐศาสตร์ มองต่างมุม กนง.“ลดดอกเบี้ยนโยบาย”

จากการที่เฟดประเดิมวัฎจักรด้วยการลดดอกเบี้ย 0.50% ไม่ถือว่าเกินความคาดหมายมากนัก เนื่องจากการสื่อสารของเฟดชัดเจนและเตรียมการมาอย่างถี่ถ้วนว่าต้องการรักษาการจ้างงานซึ่งอยู่ในภาวะค่อนข้างแข็งแกร่ง โดยจะเห็นได้ว่าตลาดไม่ตื่นตระหนก แม้จะมีการปรับสถานะของนักลงทุนบ้าง

อีกทั้งเฟดเปิดทางเลือกและยืดหยุ่นว่าอาจจะลดดอกเบี้ยในขนาดที่น้อยกว่า 0.50% ต่อรอบประชุมได้ในระยะถัดไป ตามข้อมูลเศรษฐกิจที่ได้รับ  ปัจจัยในประเทศ  คาดว่าผลบวกจากมาตรการเติมเงินกลุ่มเปราะบางอาจถูกลดทอนด้วยผลกระทบของอุทกภัย

อย่างไรก็ดี คาดว่า กนง.จะดูคุณภาพสินเชื่อประกอบการตัดสินใจด้านดอกเบี้ยนโยบาย โดยหากภาวะการเงินตึงตัวจนกระทบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในวงกว้าง จะเปิดทางให้กนง.ผ่อนคลายนโยบายได้

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ หัวหน้าส่วนงานกลยุทธ์การลงทุนต่างประเทศ บล.ฟินันเซียไซรัส จำกัด(มหาชน)เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า  ธปท.มีโอกาสจะลดดอกเบี้ยนโยบายได้  เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของไทยค่อนข้างต่ำและเศรษฐกิจมีความจำเป็นต้องกระตุ้น แต่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยเพียง 1เสียง ในการประชุมที่ผ่านมา

นักเศรษฐศาสตร์ มองต่างมุม กนง.“ลดดอกเบี้ยนโยบาย”

ซึ่งสะท้อนการดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวด  แต่ตัวเลขเศรษฐกิจผ่อนคลายอ่อนเพลี้ยแล้ว    เบื้องต้นธปท.เป็นห่วงว่ามาตรการ “ดิจิทัล วอลเลต”จะกดดันอัตราเงินเฟ้อ   แต่ภายใต้รัฐบาลใหม่ได้ปรับรูปแบบการแจกเงินจึงอาจจะไม่กระทบเงินเฟ้อ  ส่วนประเด็นที่ว่าไทยจะลดดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่ 

ส่วนตัวมองว่าการประชุมของธปท.ล่าสุด ประเทศไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งสัญญาณการดำเนินนโยบายหรือ โอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายน้อยลง  แต่ให้ใช้มาตรการเฉพาะเจาะจง

นายพูน  พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น ส่วนตัวมอง การประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Meeting)  ปลายเดือนต.ค.ปีนี้ จะเป็นจุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)จะส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะ “ลดหรือไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย” โดยการตัดสินใจทำอะไรน่าจะเห็นในเดือนธ.ค.ปีนี้

นักเศรษฐศาสตร์ มองต่างมุม กนง.“ลดดอกเบี้ยนโยบาย”

“ล่าสุดผลประชุมของแบงก์ชาตินั้น ตีความได้หลายแบบ  เพราะคนมองว่ามีการพูดถึงNPLs เยอะขึ้น /กังวลคุณภาพของเครดิตอาจจะเหมือนปูทางไปสู่การลดดอกเบี้ยหรือไม่  แต่ถ้าเรามองอีกมุม คือ แบงก์ชาติยังไม่ลดดอกเบี้ยนโยบย เพราะจากสัญญาณอาจจะแค่บอกว่า  เรามีปัญหาแต่เราจะแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือที่เจาะจง  เช่น มาตรการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม(RL)รวมถึงสนับสนุนให้มีการรวมหนี้  ส่วนความเสี่ยงช่วงที่เหลือ  แนะนำมอนิเตอร์ดอกเบี้ยเฟด และเศรษฐกิจของสหรัฐ เพราะจะสร้างความผันผวนกับตลาดการเงินได้พอสมควร” 

นักเศรษฐศาสตร์ มองต่างมุม กนง.“ลดดอกเบี้ยนโยบาย”

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยเปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า  ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังไม่ลดเดือนต.ค. โดยอาจจะ wait &see ในเดือนต.ค.ก่อน ซึ่งธปท.จะรอปัจจัยชี้วัดในเดือนพ.ย.  3 ปัจจัย คือ  

1.ตัวลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)ไตรมาส3 ที่จะประกาศเดือนพ.ย. ยังแข็งแรงตามธปท.คาด  ซึ่งกนง.อาจจะเลือกคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย  แต่ซีไอเอ็มบีไทยค่อนข้างกังวลปัจจัยจากน้ำท่วมที่จะกระทบเศรษฐกิจ แม้จะมีการแจกเงินแต่อาจจะไม่มากพอสำหรับการชดเชย

2.ธปท.รอดูผลกระทบต่อตลาดเงินตลาดทุน หลังเฟดลดดอกเบี้ยอีกทีในเดือนพ.ย. โดยที่ตลาดคาดหวังว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยลงในอัตรา 0.50%อีก  

3.ธปท.รอดูผลการเลือกตั้งในสหรัฐเดือนพ.ย. อาจจะมีความผันผวนต่อทิศทางตลาดเงินตลาดทุนได้  หมายความว่าการคุมเสียงข้างมากของสภาสูง และสภาล่างจะเป็นพรรคเดียวกับประธานาธิบดีหรือไม่  เพราะจะเป็นความเสี่ยงทางงบประมาณ หรือ Government shutdown  ซึ่งธปท.รอดูผลดังกล่าวก่อนและค่อยปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25%ในเดือนธ.ค.ก็ยังไม่สาย  

อย่างไรก็ดี คาดว่าปลายปีนี้ธปท.อาจจะดูเรื่องเงินเฟ้อที่มาจากนโยบายการแจกเงิน (ดิจิทัล วอลเลต)  หรือผลของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำว่าจะมีผลต่อเงินเฟ้อหรือพัฒนาการของเศรษฐกิจไทยด้วย   

แต่หากธปท.เลือกที่จะไม่ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย  ทางกระทรวงการคลังสามารถปรับลดเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(FIDF)ในอัตรา 0.23%ซึ่งสามารถทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับลดลงได้โดยไม่กระทบเสถียรภาพตลาดเงินตลาดทุน