นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ "เศรษฐกิจกับโอกาสภาคอสังหาริมทรัพย์" ในงานสัมมนา Property Focus : Big Change to Future โอกาสและความท้าทาย จัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจว่า การบริโภคภายในประเทศ การใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 6% ในปี 2565 หลังจากประชาชนกลับเข้ามาในระบบการทำงาน ซึ่งการบริโภคเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกันเนื่องจากประชาชนต้องมีการซ่อมแซมบ้าน การรีโนเวท หรือการขายบ้าน เพื่อซื้อบ้านใหม่
ที่ผ่านมากระทรวงการคลังมีการออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองลงเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปี 2566 ได้ลดลงแต่ไม่ต่ำเท่าที่ผ่านมา ซึ่งต้องค่อยๆปรับ แต่หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องมาคุยกันอีกครั้ง ว่าจะมีแนวทางช่วยเหลืออย่างไร ส่วน loan to value ratio (LTV) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ยังให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อราคาบ้าน 70-80%
อย่างไรก็ดี สิ่งที่เพิ่มเข้ามาเพื่อสนับสนุนการระดมทุน คือ การยกเว้นมาตรการภาษีเงินได้นิติบุคคล และการยกเว้นภาษมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการออก ICO โทเคน ซึ่งเทียบเท่าไอพีโอของหุ้น ในตลาดแรก เพื่อเพิ่มทางเลือกในการระดมทุน และในตลาดรองยกเว้นในเรื่อง VAT ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการระดมทุนในธุรกิจต่างๆ
"ในภาคอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ แม้จะยังเป็นเรื่องใหม่ ก็ต้องค่อยๆ ศึกษากันไป โดยปัจจุบันพ.ร.บ.สินทรัพย์ดิจิทัล ก็มีการสนับสนุนการระดมทุนในส่วนนี้ เพราะจะนำไปสู่ประโยชน์ของภาคเศรษฐกิจจริง เชื่อว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก็มีแผนระดมทุนในส่วนนี้ด้วย"
สำหรับโอกาสและความท้าทายในภาคอสังหาริมทรัพย์ การดีไซต์บ้านพักต้องมีการคำนึงถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนไป การออกแบบการทำโครงการต่างๆ ต้องคำนึงถึง 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
ทั้งนี้ ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ประชาชนมีการโยกย้ายถิ่นฐาน ไปอยู่ต่างจังหวัดมากขึ้น ซึ่งเราเห็นรถไฟฟ้าเกิดขึ้น คอนโดจะไปตามรถไฟฟ้า โดยข้อมูลจากโครงการบ้านล้านหลัง พบว่า 40% ขอสินเชื่อสำหรับอาศัยในพื้นที่กทม.
ส่วนอีก 60% เป็นต่างจังหวัด เพราะค่าครองชีพถูก ไม่ต้องเผชิญกับฝุ่น PM 2.5 และการเดินทางสะดวก โดยเฉพาะมีรถไฟความเร็วสูง เช่น บ้านอยู่ปากช่อง เดินทางเข้ามากรุงเทพ ใช้เวลาเพียง 35 นาที เป็นต้น
"ฝากให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ดูดีมานด์ และซัพพลายด้วย รวมทั้งบ้านเก่าที่ถูกยึดช่วงโควิดยังตกค้างอยู่เยอะ และในส่วนของโรงแรมจะต้องมีการดูในส่วนนี้"