นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ อนุมัติหลักการมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศ (Depository Receipt: DR) เพื่อเพิ่มคุณภาพและความหลากหลายของสินค้าและบริการในตลาดทุนไทย และเพื่อให้ตลาดทุนไทยมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น
นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องของการเพิ่มโอกาสการลงทุนในตลาดทุนไทย จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนใน DR โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ดังนี้
1. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทผู้ออกและเสนอขาย DR สำหรับเงินได้ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ได้รับจากการถือหลักทรัพย์ต่างประเทศไว้เพื่อการออก DR โดยต้องไม่นำเงินได้ดังกล่าวที่ได้จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นผู้ถือ DR มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
2. ลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเหลือร้อยละ 10 ของเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมิน ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้ถือ DR แต่ไม่รวมถึงผู้มีเงินได้ที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลได้รับจากบริษัทผู้ออก DR ซึ่งเมื่อคำนวณตามประมวลรัษฎากรแล้ว ต้องเสียภาษีเกินร้อยละ 10 ของเงินได้ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมิน ดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ กรณีเงินได้พึงประเมินข้างต้น เมื่อคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรแล้ว ต้องเสียภาษีไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้ ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อได้ยอมให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้นั้น
ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้แล้วในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้พึงประเมินข้างต้นไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดย พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ส่วนเงินเทียบเท่าเงินปันผล หมายความว่า เงินที่บริษัทผู้ออก DR จ่ายให้แก่ผู้ถือ DR จากเงินดังต่อไปนี้
“มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนใน DR จะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีผลิตภัณฑ์การลงทุนมากขึ้น และสร้างโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าถึงการลงทุน ในหลักทรัพย์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น อันส่งผลให้นักลงทุนทั้งรายใหญ่และรายย่อยสามารถเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งยังทำให้ตลาดทุนไทยมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นและเป็นจุดเชื่อมโยงของภูมิภาคมากขึ้นอีกด้วย ”