ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมิน เศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้ดี แม้ว่าจะเป็นการฟื้นตัวที่ไม่ทั่วถึงและยังเผชิญความเสี่ยงที่สูงขึ้นจากปัจจัยภายนอกทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ตลอดจนประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ที่ตึงเครียดขึ้น ซึ่งอาจจะกระทบเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าได้ ดังนั้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะยังมีความจำเป็นในกรณีที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ไม่เป็นไปตามคาด
อย่างไรก็ตาม นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่แต่ละพรรคการเมืองประกาศออกมาเพื่อใช้หาเสียงในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 พ.ค. นี้ ได้ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นในการถกเถียงเป็นวงกว้างและในขณะเดียวกันก็สร้างความคาดหวังต่อประชาชนที่สนับสนุนพรรคการเมืองนั้นๆ เช่นกัน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวจะถูกนำไปดำเนินการหรือไม่ยังขึ้นอยู่กับผลการเลือกตั้ง การจัดตั้งรัฐบาล
ในขณะที่ผลต่อเศรษฐกิจของนโยบายทางเศรษฐกิจชุดใหม่ โดยเฉพาะมาตรการโอนเงินยังต้องพิจารณา จำนวนเงินโอนต่อหัว เงื่อนไขอื่นๆ ของมาตรการ แหล่งเงินที่จะนำมาใช้ดำเนินมาตรการดังกล่าว รวมถึงผลต่อฐานะการคลังของประเทศ
ทั้งนี้ศูนย์กสิกรวิจัยไทย ได้มัดรวมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านเงินโอน หรือเงินให้เปล่า ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการคลังที่ภาครัฐฯได้ใช้แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยมีรายละเอียดของโครงการ หรือ มาตรการต่างๆดังต่อไปนี้
เช็คช่วยชาติ
เยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วม 2554
เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้มีรายได้น้อย
กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
เพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ช่วยเหลือค่าครองชีพผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ชิมช้อปใช้
เราไม่ทิ้งกัน
เราชนะ
คนละครึ่ง
เราเที่ยวด้วยกัน
เยียวยาน้ำท่วม 2565