KEY
POINTS
เมื่อวันที่ 12 กันยายน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภาถึง 10 นโยบายเร่งด่วนและ 3 นโยบายระยะกลางและระยะยาว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งเรื่องปัญหาหนี้สิน รายได้ ค่าครองชีพ รวมทั้งความมั่นคงและปลอดภัยในสังคม เพื่อนำความหวังของคนไทยกลับมาให้เร็วที่สุด โดยมีนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการทันที คือ
ส่วนนโยบายระยะกลางและระยะยาวประกอบด้วย
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า ขณะนี้ รัฐบาลน.ส.แพทองธาร ชินวัตร กำลังจัดเตรียมความพร้อมของแหล่งเงิน เพื่อนำมาใช้ขับเคลื่อนนโยบายทั้งหมดของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ทั้งระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว โดยมีแหล่งเงินสำคัญด้วยกัน 4 แห่ง ประกอบไปด้วย
นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดเปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า นโยบายที่รัฐบาลประกาศควรทำควบคู่กันเช่น ภาษี NIT (Negative Income Tax) หากดึงคนลงทะเบียนในระบบฐานภาษี รัฐจะเห็นข้อมูลสามารถแยกแยะระหว่างคนเสียภาษีและคนที่รายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องจ่ายภาษี ซึ่งจะมีข้อมูลว่า ใครควรได้รับความช่วยเหลือ และดึงดูดให้คนอยากจ่ายภาษี มีสิทธิประโยชน์ที่ดี เพราะปัจจุบันคนจ่ายภาษีไม่ได้สิทธิพิเศษกว่าคนไม่เสียภาษี และทำให้การใช้เงินรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ
“NIT จะทำให้เห็นข้อมูล หากใครยื่นตัวเองเงินเดือนน้อย หลอกเอาเงินช่วยเหลือโดยไม่จำเป็น ต้องมีบทลงโทษด้วย หากภาครัฐต้องจ่ายภาษีมากขึ้นต่อไป อาจจะต้องปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่อาจจะช่วยคนจนสำหรับปัจจัย4 อัตราภาษีเป็นศูนย์ นอกจากนี้ต้องจัดเก็บภาษีที่ดินและภาษีมรดก เพื่อนำเงินภาษีช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ให้คนจนเข้าถึงโอกาสเท่าเทียมกัน”
ขณะเดียวกันควรลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ทัดเทียมสิงคโปร์ ซึ่งสิงคโปร์คิดในอัตรา 22% แต่ยังลดภาษีได้ค่อนข้างมาก เพื่อเตรียมให้คนเข้าสู่วัยเกษียณ ทำให้อัตราภาษีของสิงคโปร์ต่ำกว่า 22% ด้วยซ้ำ ส่วนฮ่องกงอัตรา 15% หรือ 17% แต่ไทยยังอัตรา 35% ค่อนข้างสูง ท่ามกลางนานาประเทศดึงการลงทุนจากต่างประเทศ อย่างดูไบอัตราศูนย์ ถ้าไทยลดเหลือ 20%น่าจะดึงนักลงทุนและแรงงานเข้ามาได้มาก
สำหรับ “ดิจิทัล วอลเลต” หากเริ่มแจกเฟสแรก น่าจะมีส่วนผลักดันเศรษฐกิจ 0.1% ส่วนโอกาสที่จะผลัดดันจีดีพีให้เติบโตที่ระดับ 5%นั้นเป็นประเด็น เพราะถ้าอยากได้อีก 2.0% ต้องเพิ่มกลไกเข้ามาอีกมาก โดยเฉพาะอย่างน้อยต้องมีเงินเข้ามาประมาณ 360,000 ล้านบาท
แต่ปัจจุบันยังไม่มีธุรกิจชูโรง ยกเว้น ถ้าอนาคตสามารถผลักดัน “เอ็นเตอร์เทรนคอมเพล็กซ์” รวมเศรษฐกิจนอกระบบ ซึ่งจะเพิ่มรายได้ภาครัฐด้วย แต่ต้องกีดกันไม่ให้คนไทยกลุ่มเปราะบางหรือที่รายได้ความช่วยเหลือจากรัฐเข้าใช้บริการ
“สัญญาณเป็นบวกมากขึ้น แต่ในเชิงตัวเลขต่อเศรษฐกิจนั้น อาจจะมีโอกาสอัพไซด์ขึ้นกับการนำ 10 นโยบายไปปรับใช้ได้จริงและการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐกับเอกชนและเอื้อให้ธุรกิจเดินได้"
ส่วนการแก้หนี้นั้น ปฎิบัติได้ยาก นอกจากมีความท้าทายในการลงรายละเอียด ยังต้องคำถึงถึงความเป็นธรรมด้วย สิ่งที่ต้องระวังคือ ระวังเรื่องก่อหนี้และหางานพิเศษให้คนมีรายได้เพิ่ม
ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทยกล่าวว่า ขอดูไทม์ไลน์และความเป็นไปของแต่ละนโยบายให้มีความชัดเจนก่อน แต่เฉพาะมาตรการ “ดิจิทัล วอลเลต” หากประเมินจากเม็ดเงิน 100,000 ล้านบาท น่าจะเป็นจุดเพิ่มเติมของงบประมาณที่จะเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ
"มองว่า จะมีส่วนกระตุ้นจีดีพีได้ 0.2-0.3% ซึ่ง Krungthai Compass ยังคงประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ที่ 2.3% บนสมมติฐานที่ไม่ได้รวมการแจกเงินดิจิทัล วอลเลต และเมื่อรวมเม็ดเงินจากมาตรการดิจิทัลวอลเลต ก็น่าจะมีส่วนเพิ่มเติมจีดีพีขึ้นมาประมาณ 0.2-0.3%"
อย่างไรก็ตาม ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ที่การเบิกจ่ายภาครัฐกลับมา จะส่งผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจะค่อยๆดีขึ้นจากการเบิกจ่ายภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงบประมาณการลงทุนของภาครัฐที่เริ่มกลับเข้ามาปลายเดือนเม.ย.-ต้นพ.ค.ซึ่งเป็นจุดแตกต่างจากครึ่งปีแรกที่ผ่านมา
ทั้งนี้เชื่อว่า หากงบประมาณปี2568 สามารถเบิกใช้ของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง จะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัสดุก่อสร้างสามารถเดินหน้าโดยไม่ติดข้อจำกัดเช่นที่ผ่านมา
“ส่วนตัวยังให้น้ำหนักกับปัจจัยการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐยังเป็นตัวแปรสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ในส่วนของการส่งออกในช่วง 1-2เดือนที่ผ่านมาตัวเลขค่อนข้างดีขึ้น ส่วนใหญ่มาจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ส่วนสินค้าอาหาร หรือสินค้าเกษตรก็ยังประคองตัวไปได้”
ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า นอกจากปัญหาหนี้ครัวเรือนแล้ว ไทยยังประสบปัญหาเชิงโครงสร้างอีกหลายประการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ฉุดรั้งอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจให้ต่ำกว่าระดับศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกที่ลดลง ตลอดจนปัญหาสังคมสูงอายุ
ดังนั้นวิจัยกรุงศรี จึงอยากเห็นรัฐบาลแก้ปัญหาเร่งด่วน ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งเป็นปัญหาระยะยาวอีกด้วย โดยในระยะสั้น หากรัฐบาลสามารถเร่งเบิกจ่ายงบลงทุน ทั้งงบลงทุนตามกรอบงบประมาณปี 2567 ต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ 2568
"ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั้งในเขตพื้นที่ EEC และในพื้นที่อื่นๆ ก็จะทำให้กลไกการใช้จ่ายภาครัฐกลับมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อีกครั้ง และช่วยเรียกความมั่นใจของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างชาติกลับมา หนุนสร้างรายได้ภาคเกษตร-อุตสาหกรรม-บริการ "
ส่วนในระยะปานกลางถึงยาวนั้น ควรเร่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศ ได้แก่
หน้า 13 หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,027 วันที่ 15 - 18 กันยายน พ.ศ. 2567