ดร.เมธินี จงสฤษดิ์หวัง ถือเป็นผู้บริหารหญิงคนแรกจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ขึ้นเบอร์หนึ่งของดีลอยท์ ประเทศไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 4 บริษัทขนาดใหญ่ที่ให้บริการตรวจสอบบัญชี วางระบบบัญชี การชำระบัญชีและให้คำปรึกษาด้านการบริหารงาน หรือที่เรารู้กันว่า Big4 ควบคู่กับการเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการระบบการชำระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
ดร.เมธินี เคยดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจงานที่ปรึกษา(consulting business) ประจำประเทศไทยและเมียนมา อีกทั้งยังเป็นกรรมการในคณะกรรมการของ ดีลอยท์ เซาท์อีสท์ เอเชีย และ ดีลอยท์ เอเชียแปซิฟิกอีกด้วย
ดร.เมธินีเปิดเผยกับ“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า เริ่มงานจากการเป็นที่ปรึกษา แล้วมีโอกาสได้เข้าไปในธุรกิจกลุ่มธนาคาร ได้มีโอกาสทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ไม่ว่าจะเป็นการให้คำแนะนำทางธุรกิจหรือทางการเงิน แล้วช่วงที่อุตสากรรมมันเปลี่ยนแปลงมากๆ เลยรู้สึกว่า ถึงเวลาแล้วที่จะกลับมาสู่ business consulting เพราะมันจะเป็นโอกาสให้เราเข้าใจเรื่องแล้วเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงของภาคธุรกิจมากขึ้น จึงตัดสินใจเข้าร่วมงานกับ ดีลอยท์
“ในเชิงเส้นทางการมาสู่ตรงนี้ต้องบอกว่า ดีลอยท์ให้ความสำคัญเรื่องความหลากหลายเป็นอย่างมาก เรื่องผู้หญิง เรื่องความเท่าเทียมเรื่อง inclusion ตราบใดที่เรามีผลงาน ตราบใดที่เราโชว์ศักยภาพของเรา ไม่ว่าจะเพศอะไร ผู้ชาย ผู้หญิงหรือใดๆ เราให้โอกาสเท่าเท่ากัน”
"ด้วยระยะเวลาเพียง 3ปี ในดีลอยท์ของดร.เมธินีที่เริ่มจาก Country consulting leader ก็มีโอกาสได้รับโอกาสมาเป็น country managing partner หรือ CEO ของดีลอยท์ ประเทศไทย ดูแลตั้งแต่บริการด้านการสอบบัญชีและการให้ความเชื่อมั่น บริการด้านภาษีและกฎหมาย บริการด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยง และธุรกรรมรายการ และบริการด้านเทคโนโลยีและการปฏิรูป "
สำหรับความรับผิดชอบในแง่บริษัทที่ปรึกษา จะวัดที่รายได้เหมือนบริษัททั่วไป ซึ่งดีลอยท์ เป็นบริษัทในระดับโลก เป็นบริษัท Professional service firm ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไม่ว่าจะเทียบในมุมไหน
วิธีการที่เราทําได้เนี่ย เพราะเราดูที่ลูกค้าเป็นหลักว่า ลูกค้าต้องการอะไร แล้วเราให้คำแนะนําให้สอดรับกับเรื่องนั้น ทําให้เรามาสู่จุดนี้ได้ เราสามารถให้คําแนะนําภายใน ตั้งแต่เรื่องเรื่องบัญชี ภาษีหรือแม้กระทั่งโครงสร้าง
ดร.เมธินีพูดในฐานะที่เป็นหนึ่ง ใน Big4 ว่า ถ้ามองว่า เราเป็น Global คู่แข่งเรามีมากกว่า Big4 ด้วยซ้ำ เพราเราทำเรื่องเทคโนโลยีด้วย จุดเด่นของเราคือ ทำตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เราใหญ่มากพอที่จะดึงสินทรัพย์ต่างๆ มาผนวกกับความรู้ แล้วจัดให้เหมาะกับภูมิภาคหรือระดับโลกได้แล้วมาปรับให้เข้ากับประเทศไทย
สำหรับกลยุทธ์ในการทำงาน มี 3 กลยุทธ์หลักๆคือ
“การเป็น CEO ผู้หญิง มีข้อจำกัดหรือไม่คิดว่า ตอนนี้สังคมเปิดกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วน CEO ที่เป็นผู้หญิงถึง 12% สูงมากเมื่อเทียบกับเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ 5.5% และทั้งโลกเฉลี่ยแค่ 6% ถือว่าเราอยู่ในประเทศที่เปิดกว้างมากและด้วยความที่เป็นผู้หญิง เราก็จะมีมุมที่ประนีประนอมในการทำงานได้”
ส่วนปรัชญาในการทำงาน เราต้องเปิดกว้างยอมรับกับความเปลี่ยนแปลงและต้องพยายามที่จะปรับอยู่กับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงให้ได้
ประเทศเรามีทรัพยากรที่ดีมาก และอยู่ในภูมิประเทศที่ดี ถ้าเราสามารถร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐเนี่ยช่วยกันคิดแล้วปลดล็อกหรือว่าปลดเงื่อนไขบางประการ เพื่อให้ประเทศเราสามารถได้เดินต่อไปข้างหน้าได้ และสองคือ ปรับปรุงกฎหมายที่ล้าสมัย เพื่อเปิดโอกาสให้หลายหลายธุรกิจ หลายภาคส่วนให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น
อย่างที่พูดกันมากตอนนี้คือ หนี้ภาคครัวเรือน ยังมีปัญหาเรื่องการจัดเก็บหนี้ ทำอย่างไรที่จะจัดเก็บหนี้ให้ดีขึ้น ปัจจุบันต้องฟ้องร้องและต้องทําทีละราย แต่ในต่างประเทศสามารถทํารวมกัน คือบริษัทหนึ่งๆ สามารถส่งไปเรียกเก็บได้ทีละ 10 คน จะทําให้ทุกอย่างเร็วขึ้น
"หากทำให้เร็วขึ้น จะทำให้ต่างประเทศอยากจะเข้ามา นำเม็ดเงินเข้ามา เพื่อร่วมลงทุน ร่วมปล่อยเม็ดเงินให้กับคนไทย ทำให้มีเงินไปสร้างธุรกิจ เกิดรายได้ เกิดการหมุนของเงิน และทำให้หนี้ครัวเรือนลดลงได้ การแก้หนี้ให้ยั่งยืน ต้องไปแก้ที่ต้นเหตุ คือไม่มีรายได้มาใช้หนี้"
สุดท้ายถ้าจะให้นิยามความเป็นตัวตนของดร.เมธินีคือ เป็นคนอ่อนนอกแข็งใน สิ่งที่อยากจะบอกทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องการงาน เรารู้แล้วว่าต้องทําอะไร เพียงแต่การจะไปถึงเป้าหมาย เราต้องไปให้ถึงอย่างที่มั่นคงและยั่งยืน แทนที่จะไปถึงอย่างร้อนแรงแล้วต้องเสียเลือดเสียเนื้อกัน
หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,044 วันที่ 14 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567