กรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการเก็บ "ภาษีขายหุ้น" ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอในอัตรา 0.10% จากธุรกรรมการขายหุ้น (Transaction Tax) แต่ในปีแรกจะมีการเก็บภาษีก่อนในอัตรา 0.055% เมื่อรวมภาษีท้องถิ่น
อ่านข่าวประกอบ
นายเอกพิทยา เอี่ยมคงเอก กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เอกการลงทุน จำกัด เปิดเผยในรายการ “Market Price ส่องหุ้น” เมื่อวันที่ 29 พฤศิกายน 2565 ว่า แปลกใจมาก ที่มีการออก การเก็บภาษีหุ้นในช่วงนี้
ประเด็นแรกในเนื้อหาข่าวบอกว่า การทำธุรกรรมในตลาดหลักทรัพย์ของไทยสูงขึ้นจาก 0.17% เป็น 0.22% แต่ยังอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ โดยต่ำกว่าของมาเลเซียและฮ่องกง ซึ่งจะที่สูงกว่าของสิงคโปร์และถ้าเทียบกับตลาดในฝรั่งเศสและอิตาลี คาดว่าจะมีผลแค่สภาพคล่องลดลงในระยะสั้นเท่านั้น
“ตีความอย่างนี้ว่า การออกมาแบบนี้ ผมไม่ได้มองว่า จะส่งผลบวกอะไรเลย คือ ตอนนี้มีแค่เสมอตัวกับเสียหายในตลาดทุน เพราะอะไร? เพราะตลาดหุ้น โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยเติบโตมาจากนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันในประเทศ มีเฉพาะ 2 ปีนี้เท่านั้น ที่นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อ”นายเอกพิทยา กล่าว
นายเอกพิทยา กล่าวต่อไปว่า ถ้าดูสถิติ 40 ปี ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คนเล่นรายใหญ่ ก็คือ นักลงทุนรายย่อยและตามมาด้วยนักลงทุนสถาบันในประเทศ การเพิ่มต้นทุนที่ประมาณ 0.5% หรือพูดง่ายๆว่า ล้านละ 500 ไม่รวม VAT ไม่รวมภาษีธุรกิจเฉพาะ เราอาจจะดูว่าไม่มาก แต่ถ้าเทียบกับต้นทุนนักลงทุนรายย่อยหรือรายบุคคลหรือนักลงทุนสถาบันในประเทศเพิ่มขึ้นมาก
“ตอนนี้เป็นที่รู้กันอยู่ว่า นักลงทุนรายย่อยหรือรายบุคคลเทรดอยู่ล้านละหนึ่งพัน ถ้ารายใหญ่จะเทรดกว่านี้เยอะ แต่โดยเฉลี่ย ล้านละหนึ่งพัน ถ้าเพิ่มไปอีก ห้าร้อย ต้นทุนจะเพิ่มขึ้น 50% นักลงทุนสถาบันในประเทศ ที่เราเชื่อว่าเป็น Investment เป็น Smart Money ลองไปดูไม่มีใครเสียล้านละห้าพัน เพราะ เสียเฉลี่ย 0.10% บางสถาบันส่งต่ำกว่านั้นเยอะ โดยเฉพาะ Order Big Lot ไปดูได้เลย
นี่คือสิ่งที่แท้จริงในธุรกิจหลักทรัพย์แเพราะฉะนั้นไม่เห็นผลบวกอะไรเลย ยกเว้นยอมรับว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้น จะไม่กระทบต่อนักลงทุนต่างชาติ เพราะอะไร? นักลงทุนต่างชาติเสียค่าคอมมิชชั่นเยอะอยู่แล้ว ถ้าสังเกตวันนี้นักลงทุนต่างชาติก็ยังซื้อสุทธิอยู่ ไม่ได้บอกว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นผลบวกต่อนักลงทุนต่างชาติแต่ไม่เห็นผลดีอย่างไรเลย”
นายเอกพิทยา กล่าวอีกว่า จากข่าวที่อ่านมา ผลดีข้อแรกที่เกิดขึ้น คือ จะทำให้รายได้ภาษีธุรกิจเฉพาะเพิ่มขึ้นในปีแรกของการจัดเก็บประมาณ 8,000 ล้านบาท และในปีต่อๆไปของการจัดเก็บประมาณปีละ 16,000 ล้านบาท
“สมมุติตัวเลขปริมาณการซื้อขายทุกวันนี้ ห้าหมื่นล้านต่อวัน เพิ่มขึ้น ล้านละห้าร้อย ไม่รวม VAT ไม่รวมภาษีธุรกิจเฉพาะ จะได้เพิ่มขึ้น 25 บาท เอา ห้าหมื่นคูณห้าร้อยแบบง่ายๆ เพราะว่าตัวเลขปริมาณการซื้อขายทุกวันนี้ ไม่แน่นอนและในช่วงเวลาเดียวกันในปัจจัยเดียวกัน อย่าไปเปรียบเทียบตอนที่ตลาดหุ้นมีปัจจัยบวกและบอกว่า ตัวเลขปริมาณการซื้อขายไม่ลดลง แต่ในสถานการณ์เดียวกันปริมาณการซื้อขายจะลดลงแน่นอน สมมุติไม่ลดลง ห้าหมื่นล้านคูณห้าร้อย ได้ประมาณ 25 หมื่นล้านต่อวัน เดือนนึงมี 20 วัน ก็ได้ประมาณเดือนละ 500 ล้านบาท สำหรับการเก็บภาษี”
นายเอกพิทยา ตั้งคำถามว่า คิดว่า คุ้มไหม? ตนคิดว่าไปขยายฐานภาษีหรือจะไปทำอะไรก็แล้วแต่ ไปดูประชาชนบ้านเรา 70 กว่าล้านคน เสียภาษีแค่ 10 กว่าล้านคน ไปเพิ่มฐานภาษีตรงนั้นไม่ดีกว่าหรือ?
“ผมไม่ได้เห็นแก่ตัวต่อต้านว่า ยังไงก็ไม่ยอมเสีย ผมเข้าใจ กำลังจะบอกว่า สิ่งที่จะกระทบ คือ นักลงทุนรายบุคคลหรือนักลงทุนสถาบัน แต่แน่นอนที่สุดเลย คือ นักลงทุนรายบุคคลจะลดลงไปเรื่อยๆ” นายเอกพิทยา กล่าว