ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส และหัวหน้าทีม SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า SCB CIO ประเมินภาพเศรษฐกิจโลกในปี 2566 มีความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยสูงขึ้น จากปัจจัยดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่สูงขึ้นออกฤทธิ์ โดยมี 6 ประเด็น ดังนี้
สำหรับในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย ในปี 2566 เราคาดว่าจะมีการขยับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้อีก 50 bps. เป็น 1.75% ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดก่อนเกิด COVID-19 โดยสาเหตุที่ขยับขึ้นดอกเบี้ยได้ไม่มากนักเนื่องจาก ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในปี 2566 เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ภาวะการเงินตึงตัวขึ้น (โดยจากค่าเงิน US Dollar index ที่เริ่มชะลอการแข็งค่า ร่วมกับแนวโน้มการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวและการกลับมาเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย
SCB CIO ปรับประมาณการค่าเงินบาทปลายปีนี้ ที่ 35-36 และปลายปี 2566 ที่ 34-35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) และ การเริ่มกลับมาเก็บเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ในอัตราเดิม 0.46% จากที่เคยปรับลดลงเหลือ 0.23% ในช่วงวิกฤต COVID-19 ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องส่งผ่านต้นทุนส่วนหนึ่งไปยังภาคธุรกิจและครัวเรือนผ่านดอกเบี้ยที่สูงขึ้นด้วย
ดร.กำพล กล่าวต่อไปว่า สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในปี 2566 เน้นการลงทุนแบบระมัดระวังและ กระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีคุณภาพสูง เราจึงยังคงแนะนำถือเงินสดหรือลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ 5-15% ของพอร์ตโฟลิโอ แนะสะสมพันธบัตร/หุ้นกู้ โดยทยอยเพิ่ม Duration แต่เน้นที่มีคุณภาพสูง SCB CIO เชื่อว่าในภาวะเศรษฐกิจดังกล่าวนักลงทุนควรเน้นลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนจากกระแสเงิน (Yield) มากกว่าผลตอบแทนจากส่วนต่างราคา (capital gain)
ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นยังต้องระวังกับดักด้านมูลค่า (Valuation trap: P/E ) ต่ำจากราคาที่ปรับลง แต่กำไรในอนาคตมีความเสี่ยงที่จะถูกปรับลงเช่นกัน สำหรับนักลงทุนที่รับความผันผวนได้ แนะนำทยอยสะสมหุ้นไทยและอินโดนีเซีย ที่มีแนวโน้มการฟื้นตัวของรายได้และกำไรต่อเนื่องจากอานิสงค์การฟื้นตัวของกำลังซื้อภายในประเทศ
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงถดถอย แต่การเปิดเมืองของจีนและการลดกำลังการผลิตของOPEC ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมันโลก การปรับขึ้นดอกเบี้ยแบบช้าลงของเฟด ส่งผลให้แรงกดดันค่าเงินของกลุ่มประเทศ Emerging Markets เริ่มชะลอลง โดยเฉพาะในประเทศที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มกลับมาเกินดุล เช่น ไทย ทำให้การป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนมีความจำเป็นมากขึ้น