ทีมนักวิเคราะห์ของ ‘เจพีมอร์แกน’ ธนาคารใหญ่สุดของสหรัฐอเมริกา เผย ผลวิเคราะห์ตลาดหุ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งรวมถึง ตลาดหุ้นไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ในปี 2566 จะเผชิญกับ ความผันผวนแบบ ‘บันจี้จัมป์’ (bungee jump) คือคาดว่าจะดิ่งลงอย่างเร็ว ก่อนดีดกลับขึ้นมาในช่วงครึ่งหลังของปี แล้วดิ่งลงอีกจนถึงจุดต่ำสุด สภาวะดังกล่าวถือเป็นความผันผวนหนัก เรามาดูกันว่า สภาวะตลาดหุ้นผันผวนแบบบันจี้จั๊มป์นั้น เป็นอย่างไร
โดย นิยามของภาวะบันจี้จัมป์ นั้นหมายถึง การที่ตลาดจะทิ้งตัวดิ่งลงอย่างรวดเร็วก่อนที่จะดีดกลับสูงขึ้นมา แต่จากนั้นก็จะดิ่งลงอีกจนถึงระดับต่ำที่สุด ซึ่งภาวะดังกล่าวเกิดจากกำลังซื้อที่หดตัวลง ท่ามกลางบริบทที่นโยบายการเงินถูกรวบตึงอีกครั้งด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ต้นทุนกู้ยืมขยับสูงขึ้น ขณะที่การออมลดลง
ทีมนักวิเคราะห์ของเจพีมอร์แกน ซึ่งนำโดยนายนาจิฟ บาตรา เปิดเผยรายงานชิ้นล่าสุดระบุว่า ดัชนี MSCI ASEAN Index ของอาเซียนจะดิ่งลงทดสอบจุดต่ำสุดของปีนี้ และมีแนวโน้มที่จะร่วงต่อลงไปอีกในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 โดยมีหลายปัจจัยทำให้ถ่วงดิ่งลงมา ไม่ว่าจะเป็น
ส่วนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปีนี้ (2565) นั้น ในเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ดัชนี MSCI ASEAN Index ร่วงลง 22% แตะระดับต่ำสุดในปีนี้ ก่อนที่จะดีดตัวขึ้นราว 10% ในเวลาต่อมา อันเนื่องมาจากความหวังที่ว่าจีนจะเปิดประเทศ และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ย
ดัชนีดังกล่าว (MSCI ASEAN Index) วัดผลประกอบการของตลาดหุ้นที่มีขนาดมูลค่าตลาดในระดับใหญ่และกลางใน 4 ประเทศอาเซีย ประกอบด้วยอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม
นักวิเคราะห์ของเจพีมอร์แกนคาดว่า เศรษฐกิจของประเทศที่ต้องพึ่งพาการค้า เช่น ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม และมาเลเซีย จะได้รับผลกระทบ “มากเป็นพิเศษ” จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความต้องการสินค้าคงทน (durable goods) ที่ชะลอตัวลง
หันมองประเทศไทย ปัจจัยลบ-บวก
ในส่วนของประเทศไทย เจพีมอร์แกนคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของ...
ทำให้คาดการณ์ว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทยในปี 2566 จะลดลงมาอยู่ที่ 2.7% จากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 3.3%
อ่านเพิ่มเติม: เจพี มอร์แกน มอง "ไทย-ญี่ปุ่น" คือจุดอ่อนในเอเชีย
เทียบกับกรณีของสิงคโปร์ รายงานของเจพีมอร์แกนคาดว่า เศรษฐกิจมหภาคของสิงคโปร์จะเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น ซึ่งรวมถึงความอ่อนแอของอุปสงค์ในต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้การผลิตสินค้าของสิงคโปร์อ่อนแรงลงด้วย นอกจากนี้ คาดว่าการที่รัฐบาลสิงคโปร์ปรับขึ้นภาษีสินค้าและการบริการจากระดับ 7% เป็น 8% จะยิ่งส่งผลกระทบต่อแนวโน้มอุปสงค์และการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ
อย่างไรก็ดี เจพีมอร์แกนคาดว่า หากจีนเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งรวมถึงการเปิดต้อนรับเที่ยวบินต่างประเทศ ก็จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยและสิงคโปร์ด้วย
แต่ทั้งนี้ สิ่งที่อาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับการเด้งขึ้นหรือดีดตัวกลับทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในวงจรบันจี้จัมป์ คือ ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นทั่วโลกในปีหน้า ทำให้เกิดข้อจำกัดและส่งผลต่อการกระเตื้องขึ้นของอุปสงค์จากภายนอกที่จะพลอยแผ่วลงไปด้วย