สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ระบุว่า ก.ล.ต.ได้กล่าวโทษกรรมการและอดีตกรรมการบริษัท เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ จำกัด(มหาชน)หรือ EARTH รวม 7 รายต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ในความผิดรวม 2 กรณี ได้แก่
ทั้งนี้ก.ล.ต.ได้รับเรื่องร้องเรียนและตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า กรรมการ EARTH ในขณะเกิดเหตุ 4 รายคือ
กรรมการทั้ง 4 รายได้ลงมติอนุมัติในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 ให้จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นวาระการออกหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement) หรือ PP ให้แก่กลุ่มผู้บริหาร EARTH เดิมเป็นจำนวน 973,241,553 หุ้น ในราคาหุ้นละ 0.0001 บาท คิดเป็นเงินจำนวน 97,324 บาท ซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น EARTH อย่างมาก
ทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่า กรรมการทั้ง 4 รายดังกล่าวได้ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทในการให้ความเห็นของคณะกรรมการในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลและผลกระทบของการเสนอวาระออกหุ้นดังกล่าว ทั้งที่เป็นการเสนอขายหุ้น PP ในราคาที่ต่ำมาก และมีสัดส่วนของหุ้นที่เสนอขายคิดเป็นจำนวนที่มีนัยสำคัญถึงร้อยละ 27.52 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
การกระทำของกรรมการ EARTH ทั้ง 4 รายที่เข้าประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งดังกล่าว เป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริต ตามมาตรา 89/7 จนเป็นเหตุให้ EARTH ได้รับความเสียหายหรือทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์
อันเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 281/2 ประกอบมาตรา 89/7 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
เมื่อก.ล.ต.ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 58(2) แห่งพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2559 มีหนังสือให้กรรมการของ EARTH ในขณะเกิดเหตุ ชี้แจงข้อมูลความเห็นของกรรมการเกี่ยวกับ
กรรมการและอดีตกรรมการ EARTH 6 ราย กลับไม่ชี้แจงให้ตรงตามประเด็นคำถามที่ระบุในหนังสือของ ก.ล.ต. ถือได้ว่าเป็นการไม่ชี้แจง อันเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 274 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ก.ล.ต.จึงกล่าวโทษบุคคลดังกล่าว ต่อ DSI เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ได้แก่
ทั้งนี้การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ภายใต้กระบวนการนี้ การพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเป็นขั้นตอนในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ตลอดจนดุลพินิจของศาลยุติธรรมตามลำดับ