หลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2566 ขณะนั้นดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ที่ 1549.01 จุด จากนั้นในวันที่ 21 กันยายน 2566 ร่วงลงมาที่ 1514.26 จุด และร่วงต่ำสุดลงมาที่ 1371.22 จุด ในวันที่ 6 ตุลาคม 2566 ซึ่งครบ 45 วันหลังนายเศรษฐารับตำแหน่งพอดี
ทั้งนี้ จนถึง ปัจจุบัน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ยังวิ่งไม่เกินระดับ 1400 จุด ไม่มีท่าทีจะฟื้นกลับมาเท่ากับก่อนนายเศรษฐาเข้ารับตำแหน่ง โดยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มาร์เก็ตแคปติดลบลงไปกว่า 1.13 ล้านล้านบาท ท่ามกลางกระแสว่า รัฐบาลกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)มีข้อขัดแย้งกัน
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ตลท. ได้มีการแถลงข่าวหลังปิดตลาดถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกแถลงติดตามสภาวะตลาดทุนราวมกันกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ส่วนการแถลงครั้งที่ 2 พูดถึงภาวะตลาดหุ้นไทยหลังดัชนีร่วง 30.48 จุด
ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ต้องกังวลเรื่อง Naked short selling (การขายชอร์ตหุ้น ที่ยังไม่ได้มีการกู้ยืมมาก่อน) เพราะเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ผู้บริหาร ก.ล.ต.จะดูแลอย่างเข้มแข็ง แต่ปัจจุบันในโลกการลงทุนมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต.ยืนยันว่าไม่มี Naked Short Selling ขอให้นักลงทุนทุกคนเชื่อมั่น และจะมีการตั้งกองทุน ESG เข้ามาหนุนเม็ดเงินใหม่ในตลาดหุ้นไทย ขนาดกองทุนประมาณแสนล้านบาท จัดตั้งภายในปีนี้
นายชยนนท์ รักกาญจนันท์ CEO และผู้ก่อตั้ง บลน.ฟินโนมินา (Finnomena) ระบุว่า มี 4 ปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมากที่สุดในโลกรองจากตลาดหุ้นของจีน ได้แก่
ด้วยความกังวลนี้ จึงทำให้นักลงทุนต่างชาติมีการดึงเงินออกจากไทย ขายหุ้นออกแล้วกว่า 1.8 แสนล้านบาทในปีนี้ แค่เฉพาะเดือนนี้ (พ.ย. 66) ขายหุ้นออกแล้วกว่า 9,400 ล้านบาท และมีการขายออกแทบทุกวัน
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่ารัฐบาลชุดนี้ แม้จะมีการเดินทางไปเยือนหลายประเทศเพื่อดึงดูดการลงทุน แต่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศไม่ชัดเจน เพราะไม่จำกัดการสื่อสาร มีแหล่งข่าวหลายรายที่ให้ข่าวไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ปรับเปลี่ยนไปมาหลายครั้ง ดังนั้น รัฐบาลควรปรับการสื่อสารให้ดีกว่านี้ เพราะส่งผลต่อการเชื่อมั่นนักลงทุน
อีกส่วนหนึ่งคือการแถลงข่าวหลังจากตลาดหุ้นร่วงหนัก แต่ไม่มีการแจ้งสาเหตุที่ชัดเจน ไม่มีการจับผิดใครได้ แต่แถลงข่าวเพื่อสร้างความเชื่อมั่น กลายเป็นว่าดูเหมือนตระหนกตกใจ เหมือนมีอะไรปิดบังหรือไม่ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจมากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม การออก ESG บอนด์ เพื่อพยุ่งตลาดทุนไทยนั้น สามารถทำได้ แต่ต้องเป็นกองทุนที่สามารถซื้อแล้วนำมาลดหย่อนภาษีได้ เพราะจะจูงใจให้เกิดเม็ดเงินการลงทุน แต่ต้องไม่ตั้งวงเงินรวมเดียกวันกับ SSF และ RMF ให้แยกออกมาอีกกองหนึ่ง มิเช่นนั้นไม่มีประโยชน์
นอกจากนี้ กองทุน ESG อาจจะลงทุนในหุ้นและบอนด์ด้วย ซึ่งต้องดูว่ามีสัดส่วนอย่างไร ถ้าสัดส่วนของบอนด์เยอะมากกว่า ก็อาจจะไม่ใช่กองทุนที่ออกมาเพื่อพยุงตลาดหุ้น เพราะเงินจะไหลเข้าตลาดบอนด์มากกว่า