Thailand ESG Fund (ThaiESG ) หรือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน เป็นอีกทางเลือกของการลงทุนสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนระยะยาวในกิจการที่เน้นความยั่งยืนและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ปัจจุบันมี 22 กองทุนThaiESG จาก 16 บริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) ที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงาน ก.ล.ต.พร้อมเสนอขายตั้งแต่วันนี้ (8 ธ.ค.66 ) เป็นต้นไป และถือเป็นโค้งสุดท้ายสำหรับมนุษย์เงินเดือน ในช่วงเวลาที่เหลือเดือนธันวาคมนี้ เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีปี 2566 ที่ยื่นภาษีภายในสิ้นเดือนมีนาคม 2567
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของ ThaiESG
โดยที่กองทุนและประกันรองรับการเกษียณ มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังนี้
วงเงินลดหย่อนภาษี รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท / ปี
- PVD/ กองทุนสงเคราะห์ครู ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง
- กบข. ไม่เกิน 30% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
วงเงินลดหย่อนภาษีไม่เกิน 100,000 บาท / ปี
เงื่อนไขการถือครองหน่วยลงทุน ThaiESG เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี
นโยบายการลงทุนของ ThaiESG
กองทุน ThaiESG มีนโยบายการลงทุนในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ที่ผู้ออกเป็นกิจการ หรือภาครัฐไทยที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีตั้งแต่ 80% ของ NAV ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ดังนี้
1.หุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน SET บนกระดานหลัก หรือกระดาน mai ที่ได้รับการคัดเลือกจาก SET หรือองค์กรหรือสถาบันอื่นที่สำนักงาน ก.ล.ต. ยอมรับว่ามีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) หรือด้านความยั่งยืน (Environmental, Social and Governance: ESG) ซึ่งปัจจุบัน 200 บริษัท
2. หุ้นที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน SET บนกระดานหลัก หรือกระดาน mai ที่มีการเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แผนการจัดการ และการตั้งเป้าหมายเพื่อให้ บรรลุเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย รวมทั้งจัดให้ มีการทวนสอบการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์โดยผู้ทวนสอบที่สำนักงาน ก.ล.ต. ยอมรับ
3. ตราสารเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green bond) ตราสารเพื่อความยั่งยืน (sustainability bond) หรือตราสารส่งเสริมความยั่งยืน (sustainability – linked bond)
4. พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือหุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย แต่ไม่รวมถึงหุ้นกู้แปลงสภาพ ซึ่งเป็นพันธบัตรหรือหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green bond) พันธบัตรหรือหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน (sustainability bond) หรือพันธบัตรหรือหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืน (sustainability – linked bond)
*5. โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (investment token) ที่ออกตามพระราชกำหนดว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ที่เป็นโทเคนดิจิทัลสำหรับโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (green-project token) หรือ โทเคนดิจิทัลสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องด้านความยั่งยืน (sustainability-project token) หรือ โทเคนดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน (sustainability-linked token) โดยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะของโทเคนดิจิทัล จะเป็นไปตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน
หมายเหตุ : กองทุนThaiESG เบื้องต้นในช่วงแรกจะลงทุนตาม ข้อ 1- 4 ส่วนกรณี " * โทเคนดิจิทัล (investment token)" เป็นการลงทุนในอนาคต
ข้อแตกต่างระหว่างกองทุน ThaiESG กับ SSF และ RMF สรุปได้ดังนี้
ทางเลือกในการลงทุน
กรณีมีเงินไม่จำกัด
เงินพร้อม เตรียมซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีเต็มสิทธิ 600,000 บาท
กรณีมีเงินจำกัด
อยากได้เงินคืนเร็ว
แนะนำซื้อทั้งหมด เริ่มที่ TESG ส่วนเงินที่เหลือ
(หากซื้อ RMF ครบ 5 แสนบาทแล้ว จะไม่สามารถซื้อ SSF เพิ่มเติมได้)
เน้นมีเงินใช้หลังเกษียณ
อยากได้เงินปันผลคืนระหว่างการถือครอง
ที่มา : www.ThailandESG.com , บล.กสิกรไทย