ทรีนีตี้ มองหุ้นไทย มิ.ย.ผันผวน "การเมือง" จาก 3 เหตุการณ์กดดัน เฟ้น 8 หุ้นเด่น

04 มิ.ย. 2567 | 02:22 น.
อัปเดตล่าสุด :04 มิ.ย. 2567 | 05:11 น.

"ทรีนีตี้" มองหุ้นไทยเดือนมิ.ย.ผันผวน "การเมือง" ในประเทศกดดัน ประเมินแนวรับ คาดไม่หลุดบริเวณดัชนี 1300 จุด แนะสอยหุ้น กลุ่มโรงพยาบาลและส่งออก BDMS, BCH, CHG ,COCOCO, MALEE, PLUS,TU และกลุ่มหุ้นเข้าดัชนี SET50 " BJC"

นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทรีนีตี้ มองทิศทางตลาดหุ้นไทยเดือนมิถุนายน 2567 คาด SET Index จะแกว่งตัวผันผวนไปกับพัฒนาการของปัจจัยการเมืองภายในประเทศ ซึ่งในเดือนนี้จะมี 3 เหตุการณ์ที่สำคัญได้แก่

  • 1) การพิจารณายุบพรรคก้าวไกลของศาลรัฐธรรมนูญ (อยู่ระหว่างรอคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา) 
  • 2) การพิจารณาคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี"เศรษฐา ทวีสิน" โดยศาลรัฐธรรมนูญ (อยู่ระหว่างรอคําชี้แจงแกข้อกล่าวหา) 
  • 3) การที่สํานักงานอัยการสูงสุด มีคําสงฟ้องนายทักษิณ ชินวัตร ผิด ม.112 และมีการนัดสงฟ้องศาลในวันที่ 18 มิ.ย.นี้

 

อย่างไรก็ตามมองว่าหากตัดปัจจัยการเมืองออกไป จะพบว่าปัจจัยพื้นฐานล่าสุดของตลาดหุ้นไทยยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางไหนที่สําคัญ โดยประมาณการกําไรของบริษัทจดทะเบียน(บจ.) ในตลาดยังคงทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน เมื่อมาประกอบกับมาตรการ Uptick rule ที่คาดว่าจะถูกบังคับใช้ได้ในเดือนนี้ ทําให้ประเมิน Downside ของ SET Index ณ ปัจจุบันเริ่มอยู่ในกรอบจํากัด

Strategy : ในเชิงกลยุทธ์ แนะนํานักลงทุนที่ได้เพิ่มน้ำหนักหุ้นในกรอบ 1340-1350 จุด ในช่วงปลายเดือนก่อนตามที่ได้แนะนํา สามารถถือครองหุ้นในส่วนดังกล่าวไว้ได้ ส่วนถ้าหากเกิดความยุ่งเหยิงทางการเมืองในเดือนนี้ จนเกิดภาวะ Political discount ประเมินแนวรับสําคัญที่ไม่น่าหลุดในเดือนนี้ได้แก่บริเวณดัชนี 1300 จุด ซึ่งแนะนําใช้เป็นบริเวณแนวรับถัดไป 

Picks: ประเมินกลุ่มหุ้นที่น่าสนใจประจําเดือนนี้ สําหรับพอร์ตที่ต้องการ เพิ่มนํ้าหนักการลงทุนที่บริเวณแนวรับดัชนี ได้แก่

  • 1) กลุ่มหุ้นที่คาดว่าจะถูกนําเข้าสู่ดัชนี SET50/SET100 และ Valuation อยู่ในระดับน่าสนใจ เลือก BJC
  • 2) กลุ่ม Defensive เช่นโรงพยาบาล เพื่อป้องกันความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยการเมืองในประเทศ อาทิ  BDMS, BCH, CHG
  • 3) กลุ่มส่งออกที่ยังคงปรับตัว Laggard ได้แก่ COCOCO, MALEE, PLUS และ TU

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่น่าติดตามในเดือนมิถุนายน นอกเหนือจากปัจจัยการเมืองในประเทศ ได้แก่

1.ผลการประชุมกลุ่ม OPEC+ ในวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดทางกลุ่ม มีมติขยายเวลาลดกำลังการผลิตลง 3.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปจนถึงสิ้นปี 2568 และขยายเวลาลดการผลิตโดยสมัครใจอีก 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปจนถึงสิ้นไตรมาส 3 ปีนี้ และหลังจากนั้นจะให้ทยอยหมดอายุไปภายในหนึ่งปี ซึ่งถือว่า Bearish กว่าที่ตลาดคาดหวังไว้ ทำให้ ล่าสุดราคาน้ำมันดิบดิ่งลงอย่างรวดเร็วในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมามองเป็น Sentiment เชิงลบต่อกลุ่ม Oil & Gas ของไทยในช่วงต้นเดือนนี้

2) การประชุมธนาคารกลางยุโรปในวันที่ 6 มิ.ย. คาดว่าจะมีการลดดอกเบี้ย Deposit facility rate 0.25% สู่ระดับ 3.75%

3) การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯในวันที่ 11-12 มิ.ย. คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย แต่น่าจับตาไปยังประมาณการ Dot plots รอบใหม่

4) การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยในวันที่ 12 มิ.ย. คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายแต่อย่างใด

5) การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันที่ 13-14 มิ.ย. คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย แต่น่าจับตาว่าจะมีการส่งสัญญาณในเชิง Hawkish บ้างหรือไม่ หลังค่าเงินเยนมีความอ่อนแออย่างมากในช่วงที่ผ่านมา

6) รายงานตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯประจำเดือนพ.ค.ในวันที่ 12 มิ.ย. ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อไปยังคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ย Fed ในตลาด

7) ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจปะทุขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะระหว่างจีนกับไต้หวัน

8) การประกาศใช้มาตรการ Uptick rule ของทางตลท.

9 ติดตามรายละเอียดกองทุนลดหย่อนภาษีรูปแบบใหม่ ว่าจะมีการเปิดเผยออกมาภายในเดือนนี้หรือไม่ หากลักษณะเหมือนกับรูปแบบกองทุน LTF เดิม ทั้งในมิติวงเงินลดหย่อนภาษีสูงสุด และระยะเวลาถือครองที่สั้นลง เมื่อเทียบกับกองทุน SSF และ ThaiESG มองจะเป็น Sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทยขึ้นมาได้บ้าง