กรณีเมื่อวันที่ 11 ต.ค.67 บริษัทหลักทรัพย์ จีเอ็มโอ-แซด คอม (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ออกประกาศขายทอดตลาดหุ้น "บริษัท ไพร์ม โรด เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)" หรือ PRIME หลังผู้ถือหุ้น 6 ราย ติดจำนำหุ้นกับทางบริษัท รวม 7 รายการ จำนวน 1,348,572,500 หุ้น คิดเป็น 31.70% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของ PRIME โดยจะขายทอดตลาดหุ้น ในวันที่ 4 ธ.ค.67
ทาง Z.com ระบุเอาไว้ชัดเจนว่า ราคาเริ่มต้นผู้ขายทอดตลาด (Z.com) จะกำหนดราคาเริ่มต้นการขายหุ้น PRIME ตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ราคาซื้อขายในท้องตลาด รวมถึงความเหมาะสมประการอื่นๆ
จากนั้น นายสมประสงค์ ปัญจะลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพร์ม โรด เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ PRIME ได้ออกมาชี้แจงประเด็นดังกล่าวว่า การขายทอดตลาดของหุ้นดังกล่าว เป็นเรื่องการบริหารจัดการทรัพย์สินและหนี้สินส่วนบุคคลของผู้ถือหุ้นบางราย
"ซึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคลของผู้ถือหุ้น และไม่เกี่ยวกับการดำเนินงาน หรือสถานะทางการเงินของบริษัทแต่อย่างใด โดยบริษัทยังคงดำเนินธุรกิจได้ตามปกติและมุ่งมั่นสู่การบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่วางไว้"
ดังนั้น ขอให้ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นกู้ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ให้ความเชื่อมั่นและไว้วางใจแก่บริษัทว่า บริษัทยังดำเนินธุรกิจตามแผนธุรกิจที่บริษัทได้วางไว้ เพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกราย และปฎิบัติตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียน
อย่างไรก็ตาม เรื่องที่น่ากังวลคือ ประเด็นที่เกิดขึ้นกับ PRIME อาจซ้ำรอย เพราะการ "บังคับ" ขายหุ้น ในจำนวนที่มากถึง 31.70% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของ PRIME ในครั้งนี้ จะมีผลกระทบต่อราคาในตลาดที่ปรับตัวลดลง ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเกิดความเสี่ยงต่อนักลงทุนรายย่อยที่ถือหุ้นอยู่
รวมถึงอาจกลายเป็นเรื่องบานปลายลุกลามไปถึงสภาพคล่องของธุรกิจ ตลอดจนความสามารถในการชำระคืนหุ้นกู้ที่กำลังจะครบกำหนด
ทั้งนี้จากการเทียบข้อมูลสถิติราคาหุ้น PRIME ย้อนหลัง ราคาหุ้นเคยดีดตัวขึ้นไปทำจุดสุดสุดที่ระดับ 2.96 บาท ในวันที่ 6 พ.ค.64 ต่อมาราคาหุ้นก็ไหลลงมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งร่วงลงไปทำจุดต่ำที่สุดที่ระดับ 0.19 บาท ในวันที่ 23 ส.ค.67
สำหรับราคาหุ้น PRIME ล่าสุด 16 ต.ค.67 ณ เวลา 12.54 น. อยู่ที่ระดับ 0.23 บาท มีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่เพียง 1.66 ล้านบาท ด้วยปริมาณการซื้อขายหุ้นจำนวน 7.40 ล้านหุ้น ปัจจุบันมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) อยู่ที่ ลดลงเหลือ 978.53 ล้านบาท มีจำนวนหุ้นจดทะเบียน 4,254.49 ล้านหุ้น
จากการย้อนดูผลการดำเนินงานในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2564-2566) พบว่า
ขณะที่กำไรสะสมอยู่ที่ 2,441.98 ล้านบาท, 2,579.05 ล้านบาท และ 1,931.09 ล้านบาท ด้านเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดอยู่ที่ 288.34 ล้านบาท, 1,087.00 ล้านบาท และ 285.52 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วนผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกปี 2567 บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 595.71 ล้านบาท เมื่อเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อนที่ทำได้ 904.34 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ -8.17 ล้านบาท เมื่อเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อนที่ทำได้ 81.48 ล้านบาท
ขณะที่กำไรสะสมอยู่ที่ 1,922.92 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อนที่ 2,660.53 ล้านบาท ส่วนเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดอยู่ที่ 189.08 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อนที่ 268.17 ล้านบาท
จากการตรวจสอบข้อมูลหุ้นกู้ PRIME ที่จะครบกำหนดชำระในปี 68 พบว่า มีทั้งหมด 4 รุ่น วงเงินรวม 2,049.5 ล้านบาท ประกอบด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า PRIME จะยังมีกำไรสะสมอยู่ในมือ 1,922.92 ล้านบาท รวมถึงยังมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดอีก 189.08 ล้านบาท อาจเพียงพอต่อการชำระคือหุ้นกู้ในปี 68 ที่กำลังจะทยอยครบกำหนดไถ่ถอน แต่อาจกระทบไปถึงสภาพคล่องของธุรกิจ
นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด (Liberator) ให้ความคิดเห็นว่า ประเด็นในเรื่องของความสามารถในการชำระคืนหุ้นกู้ที่กำลังจะครบกำหนดของ PRIME นั้น ก็อาจต้องไปดูว่าการดำเนินธุรกิจทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน เพราะหากว่าการสร้างรายได้ หรือกำไรที่ยังทำได้ไม่ดี อาจแสดงให้เห็นว่าบริษัทกำลังตกอยู่ในสภาวะเงินตึงมือ
เพราะหากว่างบดุล (Balance Sheet) หรือ รายการทางการเงินที่แสดงฐานะทางการเงินของบริษัทว่ามี “สินทรัพย์” หรือความมั่งคั่งเท่าไร และอยู่ในรูปสินทรัพย์ได้บ้าง จะเป็นตัวสะท้อนว่าบริษัทจดทะเบียนมีความแข็งแรงทางการเงินแค่ไหน
ด้วยสถานะทางการเงินของ PRIME ในขณะนี้ เท่าที่ประเมินคร่าวๆ ก็มองว่ามีความสุ่มเสี่ยงที่อาจจะมีการผิดนัดชำระ หรือเลื่อนกำหนดการจ่ายคืนหุ้นกู้ แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังคงมีวิธีการ และมีแหล่งเงินที่จะระดมทุนมาเพื่อชำระหุ้นกู้ได้ อีกหลายทาง ซึ่งก็คงต้องรอดูการแก้ไขปัญหาและสถานการณ์ของ PRIME ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลผู้ถือหุ้น PRIME จากการปิดสมุดบัญชีล่าสุด ณ วันที่ 26 มี.ค. 2567 พบว่า มีรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ 19 อันดับสูงสุด ได้แก่
"นายพิรุณ ชินวัตร เป็นบุตรชายนายพายัพ ชินวัตร อดีตส.ส.เชียงใหม่ พรรคไทยรักไทย น้องชายนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี"